รู้จักไหมขัดฟันให้มากขึ้น
Badge field
Published date field

การใช้ไหมขัดฟันอย่าง
มีประสิทธิภาพ

การใช้ไหมขัดฟันเพียงวันละครั้ง จะช่วยให้การทำความสะอาดซอกฟันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ทำไมต้องใช้ไหมขัดฟัน
การใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี จะช่วยขจัดคราบแบคทีเรียและเศษอาหารในที่ที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง เช่นบริเวณขอบเหงือก หรือระหว่างซอกฟัน ควรทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำทุกวันเพื่อลดปัญหากลิ่นปาก โรคเหงือก โรคปริทันต์ และโรคฟันผุ

ไหมขัดฟันมีชนิดใดบ้าง

ไหมขัดฟันมี 2 ชนิด:

  • ไหมขัดฟันชนิดไนล่อน (มัลติฟิลาเมนท์)
  • ไหมขัดฟันชนิดPTFE (โมโนฟิลาเมนท์)

ไหมขัดฟันชนิดไนล่อนแบ่งแยกออกเป็น 2 แบบ คือ เป็นแบบเคลือบแวกซ์และไม่เคลือบแวกซ์ ไหมชนิดนี้จะประกอบด้วยเส้นใยไนลอนบาง ๆ หลายเส้นรวมกัน ถ้าใช้ในบริเวณฟันที่เบียดกันแน่นมาก ๆ เส้นไหมอาจขาดได้

ส่วนไหมขัดฟันชนิด PTFE ที่มีราคาแพงกว่า แต่ก็มีคุณสมบัติทนทานมากกว่า สามารถเลื่อนเข้าสู่ซอกฟันที่เบียดชิดกันได้ง่าย

ไหมขัดฟันชนิดพิเศษอื่นๆ

ไหมขัดฟันชนิดพิเศษ เช่นไหมสำหรับผู้จัดฟัน หรือผู้ที่ใส่สะพานฟัน แนะนำให้รับคำปรึกษากับทันตแพทย์ของท่าน เพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีของคุณ

การใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี

  1. ดึงไหมขัดฟันความยาวประมาณ 18 นิ้ว พันอย่างหลวมๆ รอบนิ้วกลางทั้งสองข้าง โดยให้เหลือเส้นไหมที่ใช้ขัดฟันประมาณ 2 นิ้ว
  2. ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จับเส้นไหมแล้วค่อย ๆ เลื่อนไหมลงระหว่างซอกฟันเบา ๆ ระวังอย่าให้บาดเหงือก
  3. โค้งไหมโอบรอบฟันแต่ละซี่เป็นรูปตัวซี “C”  เลื่อนไหมขัดฟันขึ้นลงเบาๆ ระหว่างซอกฟัน และขอบเหงือก

 

จากนั้นเลื่อนเส้นไหมจากนิ้วกลางหนึ่งไปยังอีกนิ้วกลางด้านหนึ่งเพื่อจะได้ใช้ไหมที่สะอาดสำหรับขัดซอกฟันซี่ถัดไป

 

รู้จักไหมขัดฟันให้มากขึ้น

 

ต้องใช้ไหมขัดฟันนานเท่าไรจึงจะเห็นผล

เพียงครั้งแรกที่เริ่มใช้ ก็จะรู้สึกดีได้ทันทีว่าสุขภาพเหงือกดีขึ้น ช่วงแรก ๆที่ใช้อาจรู้สึกยาก ไม่ถนัด   พยายามใช้ต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดความเคยชิน 

อาการเลือดออกขณะใช้ไหมขัดฟัน

อาการเลือดออกอาจเป็นสัญญาณของโรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์อักเสบ หากอาการอักเสบนั้นไม่รุนแรง การใช้ไหมขัดฟันไปสักระยะหนึ่ง จะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ แต่หากอาการเลือดออกยังไม่ทุเลาหรือดีขึ้น ควรไปพบทันตแพทย์ทันที

ผู้ที่มีฟันห่างควรใช้ไหมขัดฟันได้หรือไม่

ยังคงแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟันแม้จะมีฟันที่ห่าง เพราะคราบแบคทีเรียสามารถก่อตัวที่บริเวณขอบเหงือกและรอบ ๆ ตัวฟันได้เช่นกัน   

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม