หญิงสาวถือชามผลไม้
Badge field
Published date field

ต่อมทอนซิลและต่อม

อดีนอยด์ต่างกันอย่างไร

เมื่อเรามีไข้จากหวัด เรามักคิดถึงระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่ช่วยเราต่อสู้เชื้อปัญหาที่ทำให้เราเจ็บป่วย หลังจากนั้นจะมีคำแนะนำต่างๆคนรอบข้าง เช่น ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนมาก ๆ หรืออย่าลืมทานวิตามินซีเพื่อช่วยระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณอีกทางหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วคุณรู้จักวิธีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมากแค่ไหน? เมื่อเชื้อปัญหาเข้าสู่ร่างกายเราทางปาก ด่านแรกที่จะคอยสกัดกั้นสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้คือ ต่อมทอนซิล (Tonsil) และต่อมอดีนอยด์ (Adenoid)


ตำแหน่งและหน้าที่ของต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์
ตามข้อมูลของสถาบันโสตศอนาสิกวิทยาของอเมริกาที่ศึกษาเรื่องปัญหา คอ หู จมูกได้กล่าวไว้ว่า ต่อมทอนซิลนั้นสามารถมองเห็นได้และเป็นปุ่มกลม ๆ สองปุ่ม (นอกจากนี้ยังเรียกว่า ต่อมน้ำเหลือง) จะอยู่ตรงบริเวณด้านหลังของคอ ส่วนต่อมอดีนอยด์หรือบางทีเรียกว่า "ต่อมทอนซิลคอหอย" นั้น จะเป็นต่อมที่พบบริเวณส่วนที่สูงขึ้นมาของคอ โดยอยู่ที่ด้านหลังจมูกและเพดานอ่อน ต่อมอดีนอยด์นี้จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเมื่อมองผ่านปากหรือจมูก ต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำเหลืองอื่น ๆ ที่พบที่คอ รักแร้ และขาหนีบ

แบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายของเราผ่านทางปากและจมูกจะพบกับต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์ซึ่งเป็นปราการด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเราก่อน และเนื่องจากต่อมทั้งสองทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ ตัวมันเองอาจเกิดการติดเชื้อได้และขยายตัวใหญ่ขึ้นที่เราเรียกว่า "ต่อมทอนซิลอักเสบ" และ "ต่อมอดีนอยด์โต" นั่นเอง

ทอนซิลอักเสบ

Mayo Clinic ระบุว่าทอนซิลอักเสบหมายถึงการที่ต่อมทอนซิลเกิดการติดเชื้อและอักเสบขึ้นมา ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากไวรัส แต่ในบางกรณีอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน ปัญหานี้มักเกิดกับเด็กในวัยก่อนเข้าอนุบาลไปจนถึงวัยรุ่นระยะกลาง ผู้ใหญ่เป็นปัญหาทอนซิลอักเสบได้น้อยเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลงในวัยหลังเจริญพันธุ์ ปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบนี้มาพร้อมกับหลากหลายอาการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น อาการบวมแดงที่คอ เกิดรอยสีขาวหรือสีเหลืองที่ต่อมทอนซิล มีไข้ เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก และต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม โต และนิ่ม

การตัดต่อมทอนซิลออก
ตามข้อมูลของ Cleveland Clinic หากคุณพบว่าตัวเองหรือลูกของคุณหายใจลำบากขณะหลับเนื่องจากต่อมทอนซิลโตหรือจากการติดเชื้อที่คอเรื้อรัง การตัดต่อมทอนซิลออกอาจช่วยได้ การตัดต่อมทอนซิลนั้นทำได้โดยการใช้ยาชาแบบทั่วร่างกาย โดยทั่วไปหัตถการนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 – 30 นาที หลังผ่าตัดต่อมทอนซิล ในผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์กว่าที่อาการปวดและการอักเสบจะหายไป

ต่อมอดีนอยด์โต
ต่อมอดีนอยด์จะทำหน้าที่ดักจับเชื้อปัญหาที่เข้าสู่ร่างกาย บางครั้งต่อมเหล่านี้จะบวมขึ้นเมื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ และหลังจากนั้นต่อมจะค่อย ๆ ลดขนาดลงไปเอง แม้ว่าต่อมอดีนอยด์จะทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อปัญหา แต่บางครั้งต่อมอดีนอยด์กลับติดเชื้อเสียเอง และหากการติดเชื้อนั้นเรื้อรัง แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดศัลยกรรมเอาต่อมอดีนอยด์ออก

ต่อมอดีนอยด์สามารถช่วยต่อสู้การติดเชื้อได้ดีในเด็กอ่อนและเด็กเล็ก เมื่อเด็กโตขึ้น ร่างกายจะมีวิธีอื่นในการต่อสู้กับเชื้อปัญหาและต่อมอดีนอยด์จะค่อย ๆ ลดความสำคัญลง ต่อมอดีนอยด์อาจหดตัวเล็กลงเมื่อเด็กอายุได้ 5 ขวบ และเมื่อเด็กโตจนถึงวัยรุ่น ต่อมอดีนอยด์นี้จะหายไปในที่สุด
เด็กที่มีต่อมอดีนอยด์โตควรเข้ารับการรักษา อาการของต่อมอดีนอยด์คือ หายใจผ่านจมูกลำบาก หรือมักหายใจผ่านทางปากอย่างต่อเนื่อง นอนกรน ติดเชื้อในช่องหูส่วนกลาง ในเด็กวัยเรียนอาจมีของเหลวไหลออกจากหูด้วย หรือบ่อยครั้งอาจมีอาการของไซนัสร่วมด้วย

การผ่าตัดต่อมอดีนอยด์
ภาควิชาโสต นาสิก ลา ริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การที่ต่อมอดีนอยด์โตนั้นเกิดจากการที่เซลล์ในต่อมถูกกระตุ้นให้เพิ่มจำนวนขึ้น เมื่อต่อมอดีนอยด์โต แพทย์อาจแนะนำให้มีการตัดเอาต่อมอดีนอยด์ออก (Adenoidectomy) เพื่อแก้ปัญหาการหายใจลำบากเนื่องจากทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วน แก้ไขปัญหาการติดเชื้อที่หู รวมถึงอาการหยุดหายใจขณะหลับ
การผ่าตัดเอาต่อมอดีนอยด์ออกผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล วิธีการผ่าตัดนั้นแพทย์จะใช้ยาชาแบบทั่วร่างกายกับเด็ก หลังผ่าตัดแล้วอาจมีอาการข้างเคียงเนื่องจากการผ่าตัดได้ เช่น เจ็บคอชั่วคราว มีกลิ่นปาก หรือปวดหู

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูกคุณ คุณควรปรึกษาทันตแพทย์ให้ช่วยตรวจวินิจฉัย และหากพบว่าลูกของคุณมีปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบหรือต่อมอดีนอยด์อักเสบ ทันตแพทย์จะส่งตัวให้ไปรักษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านหู คอ และจมูกต่อไป

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม