แม่กับลูกหัวเราะ
Badge field

แพ้ยาสีฟัน แสบปาก จะทำอย่างไรดี?

Published date field

 

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณเกิดทำงานมากกว่าปกติ หรือมีปฏิกิริยากับสารบางชนิด เช่น อาหาร ยา กลิ่นหอมต่าง ๆ สันนิฐานได้ว่าคุณอาจกำลังเป็นภูมิแพ้ จากข้อมูลของสมาคมปัญหาหืดและภูมิแพ้แห่งสหรัฐอเมริกา ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นมากที่สุด พบมากว่ามีผู้แพ้อาหาร แพ้เกสรดอกไม้ หรือแพ้ยา แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งแพ้ยาสีฟัน ถึงแม้จะเกิดขึ้นน้อยมากแต่เราควรให้ความสำคัญกับอาการนี้เมื่อเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวของเรา โดยอาการดังกล่าวอาจขึ้นได้กับบางคนในบางโอกาส


สัญญาณบ่งบอกอาการแพ้ยาสีฟัน


อาการแพ้ยาสีฟันนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่มีผลมาจากส่วนผสมในยาสีฟันร่วมกับอาการภูมิแพ้ที่คุณเป็น อาการที่รุนแรงของการแพ้ยาสีฟันคือ ริมฝีปากมีรอยแตก หรือที่เรียกว่า "ริมฝีปากอักเสบ" โดยมีอาการบวมแดงรอบ ๆ ปาก หรือแสบปาก หรือรู้สึกถูกส่วนผสมกัดปาก ย ส่วนอาการแพ้ที่เกิดขึ้นภายในปากจะพบได้น้อยกว่า
มีงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Contact Dermatitis, Environmental and Occupational Dermatitis ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส พบว่า หญิงวัย 35 ปีมีอาการริมฝีปากแตกและอักเสบขั้นรุนแรงเป็นเวลานานถึง 9 เดือน หายได้เมื่อเปลี่ยนยาสีฟัน


สารในยาสีฟันที่อาจก่อภูมิแพ้ได้


ยาสีฟันอาจมีสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้กับผู้ที่มีปัญหาแพ้ยาสีฟันได้หลายชนิด เช่น โปรตีนกลูเต็น ฟลูออไรด์ น้ำหอม และสารแต่งกลิ่นรส แพทย์ปัญหาผิวหนังพบว่าในอดีตนั้น สารที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ในยาสีฟันคือสารอนุพันธ์จากอบเชย อีกงานวิจัยหนึ่งในวารสารของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาตรวจพบว่า สารซินนามิก อัลดีไฮด์ที่ได้จากอบเชยนั้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการผื่นแพ้จากการสัมผัสในปากได้
ในกรณีของผู้ป่วยหญิงในวารสารตีพิมพ์ Contact Dermatitis นั้น ได้ทำการทดสอบแปะติดยาสีฟันที่ริมฝีปากพบว่า ผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาสีฟันที่แปะ รวมถึงแพ้ Olaflur ซึ่งเป็นฟลูออไรด์ประเภทหนึ่งที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของยาสีฟันที่ผู้ป่วยดังกล่าวใช้


จะทำอย่างไรหากคุณคิดว่าคุณแพ้ยาสีฟัน?


หากคุณมีอาการริมฝีปากแตกและระคายเคืองอย่างมาก หรือมีอาการบวมแดงรอบ ๆ ปาก หรือรู้สึกแสบปาก และคิดว่าอาจมีสาเหตุจากยาสีฟันที่ใช้ ก็ให้หยุดใช้ยาสีฟันดังกล่าว แล้วเปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันแบบอื่นหรือยี่ห้ออื่น จากนั้นให้คอยสังเกตว่าอาการหายไปหรือไม่


หลังจากนั้นควรไปพบทันตแพทย์หรือแพทย์ทั่วไปเพื่อตรวจดูว่าคุณแพ้สารอะไร และเมื่อแพทย์ตรวจยืนยันสารที่คุณแพ้ว่าอยู่ในยาสีฟันที่คุณใช้ ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลการตรวจครั้งแรก ซึ่งให้ทราบว่าคุณแพ้สารใดอย่างแน่ชัดและเพื่อหลีกเลี่ยงสารดังกล่าวได้ในอนาคต

อย่างไรก็ดี การแพ้ยาสีฟันไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แก้ไขได้ง่ายแค่เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม เช่น ถ้าแพ้ฟลูออไรด์ ก็มียาสีฟันหลายประเภทที่ปราศจากส่วนผสมของฟลูออไรด์ หากคุณแพ้สารแต่งกลิ่น ก็เปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันที่มีสารแต่งกลิ่นแบบอื่นที่มีให้เลือกมายมายในท้องตลาด เป็นต้น
ดั้งนั้น อย่าปล่อยให้อาการแพ้ยาสีฟันเป็นอุปสรรคในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีของคุณ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม