Toothache
Badge field

ฟันยางคืออะไร

Published date field

ฟันยางคืออะไร 
ฟันยาง หรือ ยางกันฟัน คืออุปกรณ์ที่สวมเพื่อปกป้องฟัน ฟันยางเป็นอุปกรณ์กีฬาที่สำคัญสำหรับทุกคนที่เล่นกีฬาที่มีการตก กระทบ กระแทก หรือมีวัตถุที่ลอย อาทิเช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เบสบอล ฮอคกี้ สเกตบอร์ด ยิมนาสติก จักรยานภูเขา และกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดความบาดเจ็บกับปาก 

ฟันยางมักจะใช้ครอบคลุมที่ฟันบนและป้องกันการแตกหักของฟัน การกัดริมฝีปาก และความบาดเจ็บอื่น ๆ ต่อปากและฟัน ถ้าคุณกำลังใส่เครื่องจัดฟันหรือเครื่องทันตกรรมอื่นๆ (เช่น ที่ยึดฟันปลอมหรือบริดจ์) ที่ฟันล่าง ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใส่อุปกรณ์อื่นเพื่อปกป้องฟันเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

ประเภทของฟันยางมีอะไรบ้าง
ไม่ว่าคุณจะเลือกฟันยางชนิดใดก็ตาม ควรเป็นชนิดที่มีความยืดหยุ่น คงทนต่อการฉีกขาด และมีความสะดวกสบาย นอกจากนี้ ฟันยางควรจะมีขนาดพอดีปาก และไม่รบกวนการพูดหรือการหายใจ ฟันยางมี 3 ชนิดดังนี้

  • ฟันยางแบบสั่งทำขึ้นเฉพาะ — ฟันยางชนิดนี้จะทำขึ้นทีละชิ้นโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งไม่เป็นการแปลกที่ฟันยางชนิดนี้จะให้ความสบายในการสวมใส่ที่สุด และปกป้องได้ดีที่สุด ทันตแพทย์จะต้องทำการพิมพ์ฟันของคุณเพื่อสร้างฟันยาง เนื่องจากเป็นชนิดที่ใส่พอดีและสบายกว่า นักกีฬามักจะเลือกใช้ อย่างไรก็ตามฟันยางชนิดนี้จะมีราคาแพง
  • ฟันยางกึ่งสำเร็จรูป — ฟันยางชนิดนี้จะเป็นแบบที่ขึ้นรูปมาก่อนซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ด้วยการต้มในน้ำและกัดเพื่อให้พอดีกับปากของเรา ฟันยางชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาทั่วไป และจะให้ความพอดีกว่าฟันยางแบบทั่วไป ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ฟันยางที่มีขนาดพอดีกับปากที่สุด
  • ฟันยางสำเร็จรูป — ฟันยางชนิดนี้ราคาไม่แพงและมาในรูปแบบฟันยางที่สามารถสวมใส่ได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม ฟันยางชนิดนี้จะไม่พอดีกับปากมากนัก และอาจดูเทอะทะ ทำให้การพูดหรือหายใจลำบาก

ฟันยางสามารถอยู่ได้นานเท่าใด 
ฟันยางควรจะต้องมีการเปลี่ยนหลังจากการใช้ทุกครั้งเพราะว่าจะมีการเสื่อมไปทุกครั้งที่ใส่และทำให้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การเปลี่ยนฟันยางมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะในวัยรุ่น เนื่องจากปากและฟันมีการเติบโตตลอดเวลา นักกีฬาหลายคนมักจะสั่งทำฟันยางทุกๆ 6 เดือนที่ไปทำการตรวจฟัน

*The Complete Guide to Better Dental Care, Jeffrey F. Taintor, DDS, MS and Mary Jane Taintor, 1997.

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม