ผู้หญิงที่ใส่แว่นตาเฉดสีเหลืองที่กำลังชี้ไปที่รอยยิ้มที่มั่นใจ
Badge field

สาเหตุของฟันเหลืองเกิดจากอะไร มีวิธีการแก้คราบเหลืองที่ฟันอย่างไรบ้าง

Published date field

แม้ว่า ฟันเหลือง อาจดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เรื่องเล็ก ๆ ก็อาจทำให้หลายคนสูญเสียความมั่นใจในทุกครั้งที่ยิ้มได้เช่นกัน ‘ฟันเหลือง’ (Tooth Discoloration) คือสภาวะที่ฟันมีสีเหลืองกว่าปกติ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย หลายคนอาจจะสงสัยว่า ฟันเหลืองเกิดจากอะไร? ฟันเหลืองแก้ยังไง? และมีวิธี แก้ฟันเหลืองเร่งด่วนหรือไม่? เรารวบรวม 10 สาเหตุที่ทำให้ฟันเหลือง พร้อมเคล็ดลับป้องกันฟันเหลืองอย่างถูกวิธี แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือการฟอกสีฟัน (Tooth Whitening) โดยทันตแพทย์ก็ช่วยได้ 

10 สาเหตุที่ทำให้ฟันเหลือง ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

ฟันเหลือง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร การสูบบุหรี่ พันธุกรรม อายุที่เพิ่มขึ้น หรือชั้นเคลือบฟัน (Enamel Surface) ที่บางลง ฯลฯ ถึงอย่างนั้น หลายคนก็อาจจะไม่แน่ใจว่า ทำไมอยู่ดี ๆ ฟันของเราถึงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เราชวนคุณมาสำรวจปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ฟันเหลืองกันดีกว่า

  1. พันธุกรรม: หากคุณพ่อ คุณแม่ หรือครอบครัวมีฟันเหลือง ก็มีโอกาสที่ลูกจะมีสีของฟันที่ใกล้เคียงกัน

  2. เคลือบฟันบาง: เมื่อเคลือบฟันบางลงจะเผยให้เห็นเนื้อฟันที่มีสีเหลืองเข้ม หรือสีน้ำตาล โดยปกติแล้วเคลือบฟันจะคลุมอยู่บนเนื้อฟันและช่วยพรางสีของเนื้อฟันที่อยู่ข้างใต้ได้ อย่างไรก็ตาม สีเคลือบฟันก็อาจจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจากคราบต่าง ๆ ที่สะสมตัวบนผิวเคลือบฟันนานเกินไป

  3. อายุมากขึ้น: เมื่ออายุมากขึ้นเคลือบฟันจะสึกกร่อนจากการเคี้ยว รวมถึงสัมผัสกับกรดจากอาหารและเครื่องดื่มเป็นระยะเวลานาน 

  4. การสูบบุหรี่: นิโคตินจากบุหรี่จะทิ้งคราบสีเหลือง หรือสีน้ำตาลไว้บนผิวฟัน ทำให้ฟันเหลืองได้

  5. อาหาร: อาหารหลายชนิดอาจมีเม็ดสีเข้มข้นที่เกาะตัดกับเคลือบฟัน เช่น ซอสมะเขือเทศ เครื่องเทศ ผงกะหรี่ น้ำสลัดบัลซามิก รวมถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ จึงทำให้เกิดคราบเหลืองบนฟันได้ 

  6. เครื่องดื่ม: ชา กาแฟ ไวน์ โซดา หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ต่าง ๆ อาจเป็นสาเหตุของฟันเหลืองได้เช่นกัน

  7. ยาปฏิชีวนะ: ยาปฏิชีวนะ เช่น เตตระไซคลีน (Tetracyclines) ที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจทำให้ฟันมีคราบเหลืองได้ อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) รวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ที่รับประทานยาปฏิชีวนะ หรือเด็กที่รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนอายุ 8 ขวบ อาจส่งผลให้สีฟันผิดปกติถาวร จนต้องเข้ารับการรักษาด้วยการฟอกสีฟัน

  8. ฟันตกกระ: การได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปอาจทำให้เกิดจุดสีเหลืองและสีน้ำตาลบนฟัน ที่เรียกว่า ‘ฟันตกกระ’ (Dental Fluorosis) นั่นเอง 

  9. อุบัติเหตุ: อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บทางร่างกาย ก็อาจทำให้เคลือบฟันแตกและเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างของฟัน จึงส่งผลให้สีของฟันเปลี่ยนแปลงไป 

  10. การกัดฟัน: การนอนกัดฟันถือเป็นอันตรายต่อเคลือบฟัน อาจทำให้ฟันแตกและฟันเหลืองได้

เคล็ดลับป้องกันฟันเหลือง และวิธีแก้ฟันเหลืองเร่งด่วน

แน่นอนว่า การป้องกันการเกิดคราบต่าง ๆ บนเคลือบฟันย่อมดีกว่าการรักษาฟันเหลือง ทันตแพทย์จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มบางอย่างที่ทำให้ฟันเหลือง รวมถึงเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถป้องกันฟันเหลือง และแก้ฟันเหลืองด้วยตัวเอง

  • แปรงฟันอย่างถูกวิธี: การแปรงฟันทุกเช้าและก่อนนอนจะช่วยขจัดเศษอาหาร และแบคทีเรียภายในช่องปากได้อย่างดี ที่สำคัญควรเลือกยาสีฟันที่ช่วยให้ฟันดูขาวสว่างขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคอลเกต อ๊อพติค ไวท์ เพอร์เพิล ยาสีฟันม่วง ช่วยปรับโทนสีเหลืองบนผิวฟันทันทีหลังการแปรงฟัน ด้วยส่วนผสมของ Micro Polishing Crystals ช่วยขจัดคราบฟันเพื่อฟันขาวขึ้นใน 7 วัน

  • ใช้ไหมขัดฟัน: การใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำจะช่วยขจัดเศษอาหารระหว่างซี่ฟันและร่องเหงือก ซึ่งการแปรงฟันไม่สามารถเข้าถึงได้ ควรใช้ไหมขัดฟันหลังมื้ออาหาร หรือหลังแปรงฟันทุกเช้าและก่อนนอน 

  • การขูดหินปูน: เพื่อขจัดคราบฝังลึกต่าง ๆ ที่เกาะติดแน่น ตัวการสำคัญที่ทำให้ฟันเหลืองและมีกลิ่นปาก ควรขูดหินปูนทุก ๆ 6 เดือน หรือทำ ‘Airflow’ เทคโนโลยีในการขจัดคราบบนผิวฟันด้วยแรงดันน้ำ

  • บ้วนปากด้วยน้ำเปล่า: การบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ชา กาแฟ ไวน์ ฯลฯ จะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดสีเกาะติดบนผิวฟัน แล้วยังช่วยป้องกันฟันผุได้อีกด้วย

  • การฟอกสีฟัน และการเคลือบฟันเทียม: การฟอกสีฟัน (Teeth Whitening) โดยทันตแพทย์จะช่วยปรับระดับเฉดสีฟันให้ขาวขึ้นอย่างเห็นผลภายในเวลารวดเร็ว

ด้วยเคล็ดลับดี ๆ ที่เรานำมาฝากกัน จะช่วยให้คุณป้องกันฟันเหลืองและแก้ปัญหาฟันเหลืองได้ด้วยตัวเอง แต่หากฟันเหลืองทำลายความมั่นใจอย่างมาก และต้องการให้ฟันขาวขึ้นอย่างเร่งด่วน คุณสามารถเข้ารับการฟอกสีฟัน หรือเทคโนโลยีเพื่อฟันขาวอย่างปลอดภัยและถูกสุขอนามัย ภายใต้การดูแลโดยทันตแพทย์จะดีที่สุด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม