ผลกระทบของการนอนกัดฟันและวิธีแก้นอนกัดฟัน
Badge field

คุณกำลังประสบปัญหาเรื่องการนอนกัดฟันอยู่หรือไม่?

Published date field

คำว่า"นอนกัดฟัน (Bruxism)" หมายถึง การบดฟัน (Tooth Grinding) และการขบฟัน (Tooth Clenching) ที่เด็กและผู้ใหญ่หลายคนอาจเคยประสบกับอาการเหล่านี้มาก่อน ในชีวิตทั้งนั้น การนอนกัดฟัน (Bruxism) เกิดขึ้นเมื่อฟันกระทบกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กำลังหลับ ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงหรือไม่มีเสียงออกมาก็ได้

ทำไมจึงเกิดขึ้นได้?
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และทันตกรรมหลายท่านอาจไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงเสมอไป อย่างไรก็ตาม การนอนกัดฟันก็อาจเกิดจากความเครียดทางด้านจิตใจที่เราต้องรับมือระหว่างการทำงานก็เป็นได้ อาจแบ่งประเภทความเครียดอาจออกได้เป็นสองประเภท คือ ความเครียดที่เกิดจากปัจจัยภายในและความเครียดที่เกิดจากปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายในอาจหมายถึงอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป ระดับความแข็งแรงของร่างกาย ความมั่นคงทางอารมณ์ สุขภาพองค์รวมและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และจำนวนชั่วโมงการนอนหลับที่ได้รับในแต่ละคืน ปัจจัยภายนอกของความเครียดทางจิตใจ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมที่คุณอยู่ในแต่ละวัน ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เมื่ออยู่ที่บ้าน และวิธีที่เราใช้รับมือกับเรื่องท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ผลกระทบของการนอนกัดฟันที่ส่งผลต่อช่องปาก
มีปัจจัยสำคัญต่าง ๆ อยู่มากมายที่อาจเกิดขึ้นในช่องปากได้ เมื่อประสบปัญหาจากการนอนกัดฟัน เช่น

  • สารเคลือบฟันผุหรือแม้แต่เนื้อฟันอาจผุกร่อนได้
  • ฟันแตกหรือฟันร้าว การทำสะพานฟันหรือการใส่รากฟัน
  • อาจเกิดอาการเสียวฟัน
  • อาจเกิดอาการปวดฟันหรือฟันโยกได้
  • การปวดบริเวณใบหน้าอันเกิดจากกล้ามเนื้อขากรรไกรที่ ขบเข้าหากัน
  • อาการปวดศีรษะ
  • มีอาการเมื่อยล้าทั่วทั้งใบหน้า
  • มีอาการเจ็บที่ข้อต่อขากรรไกร (ที่กระดูกขากรรไกรทั้งสองข้างตรงบริเวณปาก)

การรักษา
ผู้ที่ประสบปัญหาจากอาการนอนกัดฟันควรพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมเพื่อทำการตรวจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมอาจแนะนำให้สวมเครื่องป้องกันฟัน หรือการใส่เฝือกสบฟันเอาไว้รองรับการบดหรือขบฟันในระหว่าง นอนหลับ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมอาจเสนอแนะวิธีการต่าง ๆ ในการลดความเครียด ดังนั้น เราจึงสามารถลดระดับของการนอนกัดฟันลงได้ สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ การหลีกเลี่ยงอาหาร เช่น ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวอย่างหนัก นอกจากนี้ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากอาจแนะนำการออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อขากรรไกรในระหว่างวัน ในกรณีที่การนอนกัดฟันมีความรุนแรง ข้อแนะนำ คือ การเข้าเฝือกฟัน ตลอดจน การรักษาด้วยยาตามที่แพทย์สั่งเพื่อช่วยผ่อนคลายหรือทำให้นอนหลับได้อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมสามารถทำการรักษาด้วยความร่วม มือของคุณเพื่อช่วยกันค้นหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในการทำให้ปัญ หานี้บรรเทาลงได้

© ลิขสิทธิ์ 2011 Colgate-Palmolive Company

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม