สุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงช่วงหัดเดิน
Badge field

สุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงช่วงหัดเดิน

Published date field

สุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงช่วงหัดเดิน
การดูแลสุขภาพช่องปากของมารดานั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่การดูแลสุขภาพฟันของลูกก็เป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในความเป็นจริงมารดาควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกก่อนที่เด็กจะคลอดด้วยซ้ำ คู่มือนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญในการดูแลรักษาช่องปากของลูกตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงช่วงหัดเดิน

  • ตรวจสุขภาพฟัน: รักษาฟันให้สะอาดและหมั่นตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ หากฟันมีปัญหาควรรักษาให้หาย เพราะเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการฟันผุสามารถส่งผ่านไปถึงทารกในครรภ์ได้
  • แปรงฟัน 2 ครั้งต่อวัน: แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ควรแปรงฟันให้สะอาด โดยเฉพาะบริเวณซอกฟัน ควรแปรงให้ขนแปรงซอกซอนเข้าไปให้ถึง เพราะบริเวณซอกฟันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของโรคเหงือก
  • ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ: ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำเพื่อทำความสะอาดในส่วนที่แปรงสีฟันเข้าไปไม่ถึง
  • จำกัดจำนวนครั้งในการทานของหวานและขนมจำพวกแป้งในแต่ละวัน: ขนมหวานและอาหารจำพวกแป้งจะทำให้เกิดกรดที่ทำลายฟันได้ ควรดื่มน้ำที่มีรสหวานและทานขนมหวานให้น้อยลง น้ำอัดลมและขนมหวานสามารถทำให้เกิดฟันผุได้ ควรเปลี่ยนมาทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นจะดีกว่า
  • ศึกษาการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีในขณะตั้งครรภ์: ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัดเพราะมันเป็นสิ่งสำคัญทั้งต่อตัวคุณและลูกในครรภ์ของคุณ
  • ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม: คุณต้องการแคลเซียมเพื่อไปใช้ในการสร้างฟันและกระดูกของลูกในครรภ์ แคลเซียมพบมากในนม ชีส ถั่วอบแห้ง และผักใบเขียว

0-6 เดือน
เด็กแรกเกิดต้องการสุขภาพฟันที่สมบูรณ์แข็งแรงเพื่อกิน พูด และยิ้ม ข้อปฏิบัติต่อไปนี้คือข้อปฏิบัติเพื่อปกป้องรอยยิ้มของลูกน้อยของคุณ

  • ตรวจดูฟลูออไรด์: ฟลูออไรด์เป็นสารป้องกันการเกิดฟันผุและทำให้ฟันแข็งแรง ควรสอบถามทันตแพทย์ถึงเรื่องน้ำที่คุณบริโภคว่ามีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอที่จะป้องกัน ฟันผุได้หรือไม่ ถ้าในน้ำนั้นไม่มีฟลูออไรด์ หรือคุณใช้น้ำขวดในการดื่มหรือปรุงอาหาร ทันตแพทย์อาจสั่งจ่ายฟลูออไรด์เสริมสำหรับลูกของคุณ
  • ไม่ควรให้ลูกเข้านอนพร้อมขวดนม: การทิ้งขวดนมไว้ในเตียงนอนลูกสามารถทำให้ลูกเกิดอาการฟันผุได้ หากคุณให้นมลูกด้วยน้ำนมตามธรรมชาติ ก็ควรไม่ต้องให้พยาบาลเด็กมาดูแลอย่างต่อเนื่อง ของเหลวทุกชนิดที่ไม่ใช่น้ำเปล่า รวมถึงนมและน้ำผลไม้สามารถทำให้เกิดอาการฟันผุได้ทั้งสิ้น หากคุณคิดว่าลูกของคุณต้องดูดอะไรบางอย่างระหว่างหลับ คุณควรใช้จุกนมปลอมหรือขวดนมใส่น้ำ
  • ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของคุณแม่เองด้วย: การวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าคุณแม่สามารถส่งต่ออาการฟันผุไปสู่ลูกได้ เมื่อลูกเริ่มมีฟัน การร่วมทานอาหารหรือชิมอาหารของลูก หรือการให้ลูกเอานิ้วจิ้มเข้ามาในปากของคุณสามารถทำให้ลูกเกิดอาการฟันผุได้ทั้งสิ้น หากมีการอุดฟันที่ไม่เต็มหลุมยิ่งมีโอกาสส่งต่อเชื้อโรคให้ลูกได้มากขึ้น ดังนั้นหากมีอาการฟันผุ คุณแม่ควรรีบไปทำการรักษาอุดฟันให้เร็วที่สุด

การป้องกันอาการฟันผุในระยะแรกเริ่มในวัยเด็ก 
อาการฟันผุในระยะแรกเริ่มในวัยเด็กเป็นโรคทางทันตกรรมที่มีความร้ายแรง ผลของโรคนี้คือการเกิดฟันผุ การปวดฟัน การอักเสบ การสูญเสียฟันตั้งแต่ยังเด็ก ปัญหาในการพูดออกเสียง และการสูญเสียความเชื่อมันในตนเอง อาการฟันผุในระยะแรกเริ่มในวัยเด็กสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกเข้านอนพร้อมขวดนม หรือการให้นมเด็กอย่างต่อเนื่อง
  • ของเหลวชนิดเดียวที่ไม่ทำร้ายสุขภาพฟันของลูกคือน้ำเปล่า
  • กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า เด็กทารกควรหย่านมแม่ในช่วงอายุ 12-14 เดือน

6-18 เดือน
4 วิธีในการปกป้องรอยยิ้มของลูกน้อย

  • เมื่อลูกอายุได้ 6-12 เดือน ให้เปลี่ยนมาใช้แก้วแบบดูด: เมื่อใดก็ตามที่ลูกของคุณเริ่มเล่นกับเครื่องประดับของคุณ หรือเริ่มถือของเล่นได้ ก็ถึงเวลาแล้วที่จะให้เขาได้รู้จักกับถ้วยแบบดูด มันอาจจะเลอะเทอะไปบ้างในตอนแรก แต่ขอให้อดทนไว้ก่อน ลูกน้อยเป็นวัยที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  • ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกเดินไปมาพร้อมขวดนม: การยืดระยะเวลาในการใช้ขวดนมสามารถนำไปสู้ปัญหาทางช่องปากที่รุนแรงที่เรียกว่า "อาการฟันผุในระยะแรกเริ่มในวัยเด็ก"
  • ทำความสะอาดฟันของลูกเป็นประจำทุกวัน: เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน ฟันจะเริ่มขึ้น คุณแม่ควรทำความสะอาดฟันของลูกเป็นประจำทุกวันด้วยแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มและชุบน้ำให้ชุ่ม ท่าที่ดีที่สุดคือท่านั่งแล้วอุ้มลูกไว้ในแขนของคุณ คุณามารถที่จะนั่งบนพื้นและวางหัวลูกไว้บนตักของคุณ หมั่นตรวจดูฟันผุของลูก เปิดริมฝีปากของลูกขึ้นเพื่อดูฟันของลูก ถ้าคุณเห็นจุดสีดำหรือจุดสีขาว รีบติดต่อทันตแพทย์ทันที
  • ไปหาทันตแพทย์: เมื่อลูกฉลองวันเกิดครบขวบปีแรก ก็เป็นเวลาที่เขาควรได้ไปรู้จักกับทันตแพทย์

18-24 เดือน
2 วิธีในการปกป้องรอยยิ้มของลูกน้อย

  1. จำกัดจำนวนครั้งที่ลูกทานขนมขบเคี้ยวในแต่ละวัน: หลีกเลี่ยงการให้ลูกทานน้ำอัดลม ขนมหวานและอาหารจำพวกแป้งเช่น มันฝรั่ง และขนมปังกรอบ เพราะขนมขบเคี้ยวเหล่านี้ทำให้เกิดอาการฟันผุได้ 
    ไม่ควรให้ขนมขบเคี้ยวลูกเป็นประจำ ทุกๆครั้งที่ลูกทานขนมหวานหรืออาหารจำพวกแป้ง จะมีการสร้างกรดที่กัดกร่อนฟันเสมอ ยิ่งมีกรดมากเท่าไหรยิ่งมีโอกาสเกิดฟันผุมากเท่านั้น หากคุณอยากจะให้ลูกทานขนมขบเคี้ยว ควรให้ร่วมกับมื้ออาหาร 

    ข้อควรระวัง: ข้อมูลจากสมาคมกุมารศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า ในช่วงอายุนี้ ลูกควรหยุดใช้ขวดนม
    การเลี้ยงลูกด้วยขวดนม หรือการให้ดูดขวดนมขณะนอนหลับจะทำให้เกิดอาการฟันผุได้ ฟันผุนี้จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด การติดเชื้อ และลดความงามของรอยยิ้มของลูกคุณ 

    รายการขนมขบเคี้ยวที่ทำให้ฟันมีสุขภาพแข็งแรง: 
    แสดงความรักต่อลูกด้วยการให้ขนมขบเคี้ยวที่ทำให้ฟันมีสุขภาพแข็งแรง

      • ผลไม้

      • ผัก

      • แซนวิช

      • คาราเมลกับนม

      • เนย

      • โยเกิร์ต

      • นม

      • น้ำผลไม้ที่ไม่ผสมน้ำตาล


    จำกัดจำนวนของขบเคี้ยวที่ให้ในแต่ละวันไว้ที่ 2-3 ครั้งต่อวัน

  2. แปรงฟันสองครั้งต่อวัน:แปรงฟันลูกวันละสองครั้งหลังอาหารเช้าและก่อนนอน ใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มในการทำความสะอาดเหงือกและฟัน หากเด็กสามารถที่จะบ้วนน้ำได้หลังจากแปรงฟัน 

    คุณควรบีบยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ขนาดเท่าเม็ดถั่วลงบนแปรงสีฟัน ลูกคุณควรเริ่มที่จะหัดแปรงฟันด้วยตัวเองแต่คุณยังต้องคอยช่วยเขาอยู่ คุณจะเสร็จงานก็ต่อเมื่อลูกคุณแปรงฟันเสร็จ เด็กส่วนใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 6 ปีจะยังแปรงฟันได้ไม่ถูกต้องถูกวิธีนัก

  3. จำไว้เสมอว่า ทันตแพทย์คือมิตรของคุณ:หลังจากการตรวจฟันครั้งแรกตอนอยุ 1 ปี คุณควรพาลูกไปตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ ก่อนที่คุณจะพาลูกไปตรวจ 

    คุณอาจจะต้องเล่นบทหมอฟันกับลูกของคุณ ใช้ไฟฉายและกระจก แล้วผลัดกันนับจำนวนฟัน รวมถึงอ่านหนังสือเกี่ยวกับทันตแพทย์ให้ลูกฟัง 

    บอกลูกของคุณเสมอให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไปหาทันตแพทย์ คุณอาจจะบอกลูกว่า "คุณลุงหมอฟันอยากจะเจอลูกอีก แล้วเขาก็อยากถ่ายรูปฟันของลูกด้วย" พยายามทำให้ข้อความที่ลูกได้รับเป็นบวกอยู่เสมอ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม