Badge field

เคลือบฟันเทียมคืออะไรและคุณควรจะดูแลรักษาอย่างไร

Published date field

การใส่เคลือบฟันเทียมอย่างเหมาะสมคือวิธีลัดในการสร้างรอยยิ้มสวย แถมยังเหมาะกับคนที่มีปัญหาฟันเป็นคราบ ฟันบิ่น หรือฟันห่างด้วย แต่เมื่อใส่เคลือบฟันเทียมแล้ว คุณจะทำให้ฟันกลับมาเป็นเหมือนเดิมไม่ได้ ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะใส่เคลือบฟันหรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เลย ก่อนที่คุณและทันตแพทย์จะตัดสินใจว่าการรักษาฟันด้วยวิธีนี้เหมาะกับคุณหรือไม่ คุณควรทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเคลือบฟันเทียม รวมทั้งค่าใช้จ่าย และวิธีที่ดีที่สุดดูแลรักษาเคลือบฟันเทียม

เคลือบฟันเทียมคืออะไร

สถาบันทันตกรรมเพื่อความสวยงามแห่งสหรัฐอเมริกา (AACD) ระบุว่าเคลือบฟันเทียมคือ "แผ่นกระเบื้องบาง ๆ ที่ช่วยให้ฟันดูสวยงามเป็นธรรมชาติ และมอบความแข็งแรงและทนทานเหมือนกับเคลือบฟันธรรมชาติ" เคลือบฟันเทียมจะผลิตมาให้เข้ากับฟันของผู้ป่วยแต่ละคน และจะต้องติดเข้ากับเคลือบฟันเดิม โดยจะต้องทำในคลินิกทันตแพทย์

เพราะเหตุใดจึงใช้เคลือบฟันเทียมเพื่อการรักษาทันตกรรม

ถ้าเปรียบเทียบกับครอบฟันหรือเหล็กจัดฟัน เคลือบฟันเทียมจะระคายเคืองช่องปากน้อยกว่า มูลนิธิสุขภาพฟันแห่งอังกฤษระบุว่า เคลือบฟันเทียมสามารถใช้ปิดช่องว่างระหว่างฟันหรือแก้ไขการเรียงตัวผิดปกติเล็กน้อยได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถเลือกใช้เคลือบฟันเทียมเพื่อความสวยงาม เช่น สร้างความสดใสให้กับฟันและเพิ่มความสวยงามให้กับรอยยิ้ม รวมถึงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างฟันเปลี่ยนสี ฟันแตก หรือบิ่นได้

เคลือบฟันกระเบื้อง

วัสดุที่นิยมนำมาทำเคลือบฟันเทียมมากที่สุดคือเคลือบฟันกระเบื้องธรรมดา, เคลือบฟัน Lumineers และเคลือบฟันเรซิน โดย AACD ระบุว่า เคลือบฟันกระเบื้องแบบเดิมนิยมใช้แก้ไขปัญหารูปร่างหรือสีฟันผิดปกติ และสามารถอยู่ได้นานถึง 10-20 ปี มีราคาตั้งแต่ 800-2,000 เหรียญต่อซี่ ขึ้นอยู่กับว่าคุณอาศัยอยู่ในรัฐใดของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นเงินก้อนใหญ่สำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่ ดังนั้น พวกเขาจึงต้องได้รับข้อมูลว่าเคลือบฟันเทียมจะต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อใช้ไปนาน ๆ

การใส่เคลือบฟันเทียม

ตามปกติแล้วในการใส่เคลือบฟันเทียมนั้น คุณจะต้องมาหาทันตแพทย์หนึ่งหรือสองครั้ง ถ้าใช้เคลือบฟันเทียมสำเร็จรูป คุณมักจะต้องไปพบทันตแพทย์แค่ครั้งเดียว แต่ถ้าต้องประดิษฐ์เคลือบฟันในห้องปฏิบัติการทดลอง คุณก็อาจจะต้องไปพบทันตแพทย์สองครั้ง ในบทความนี้ เราจะพูดถึงการใส่เคลือบฟันแบบที่ต้องประดิษฐ์ในห้องปฏิบัติการทดลอง

  1. โดยปกติแล้ว การใส่เคลือบฟันเทียมไม่ต้องใช้ยาชา แต่ว่าในบางกรณีอาจต้องใช้ ขึ้นอยู่กับความไวต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วย ทันตแพทย์จะทำความสะอาดฟันและเลือกสีเคลือบฟันเทียมที่เหมาะกับฟันของคุณ จากนั้นจึงกัดเคลือบฟันของคุณออกเล็กน้อยเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับติดเคลือบฟันเทียม

  2. ทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันส่งไปที่ห้องปฏิบัติการทดลองและติดเคลือบฟันเทียมชั่วคราวไว้บนฟันที่ผ่านการกัดกรดบริเวณกลางฟัน ห่างจากขอบฟัน

  3. หลังจากที่ห้องปฏิบัติการทดลองส่งเคลือบฟันกระเบื้องมาให้แล้ว ทันตแพทย์ก็จะถอดเคลือบฟันชั่วคราวออก แล้วทำความสะอาดฟันด้วยพัมมิซและน้ำ เคลือบฟันเทียมจะถูกนำมากัดกรด ล้างด้วยน้ำ และเป่าแห้ง หลังจากนั้น ทันตแพทย์จะทาสารยึดติดลงบนเคลือบฟัน ตามด้วยซีเมนต์ ติดเคลือบฟันลงไปบนฟันให้พอดี แล้วจึงแต่งให้สวยงาม

  4. จากนั้น ทันตแพทย์ฉายแสงบนผิวเคลือบฟันเทียมเป็นเวลา 60 วินาทีเพื่อให้ยึดติดกับโครงสร้างฟันอย่างแน่นหนา

  5. ทันตแพทย์จะกำจัดเศษวัสดุส่วนเกินออกและขัดขอบของเคลือบฟันเทียมจนมันเงา

ทันตแพทย์หลายคนจะนัดติดตามผลเพื่อตรวจสอบว่าคุณใส่เคลือบฟันเทียมแล้วรู้สึกสบายหรือไม่ เพราะเคลือบฟันเทียมที่ใส่สบายจะอยู่กับคุณได้นาน

การดูแลรักษาเคลือบฟันเทียม

AACD แนะนำให้แปรงฟันและขัดฟันเหมือนกับฟันปกติ คุณควรแปรงฟันอย่างถูกวิธีเป็นประจำทุกวันและใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ ลดปริมาณกาแฟ และอาหารอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดคราบ

จำไว้ว่า คุณจะต้องเปลี่ยนเคลือบฟันเทียมในอนาคตไม่ว่าคุณจะดูแลรักษามันดีแค่ไหนก็ตาม อย่างไรก็ตาม การรักษาสุขอนามัยในช่องปากจะช่วยให้เคลือบฟันเทียมอยู่กับคุณได้นานที่สุด

หากคุณตัดสินใจว่าจะใส่เคลือบฟันเทียม ให้คุณปรึกษาทันตแพทย์และทำความเข้าใจขั้นตอนการใส่เคลือบฟันเทียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รอยยิ้มสวยจะทำให้คุณรู้สึกดี แถมยังเส ริมสร้างความมั่นใจและสุขภาพความเป็นอยู่ได้ด้วย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม