การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแล
ผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
- ผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแลเป็นครั้งคราว (Dependent Seniors) คือผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ที่รับการฉายรังสี หรือ ทำคีโมบำบัด แต่ยังสามารถช่วนเหลือตัวเองได้บ้าง
- ผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด (Dependent Seniors PLUS) คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวจนต้องนอนรักษาอยู่บนเตียง ไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง จึงต้องการผู้ดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ
ข้อควรจำ
การรู้เท่าทันปัญหาของสุขภาพช่องปากในแต่ละช่วงอายุ พร้อมการดูแลที่ถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณตลอดไป
ช่องปากสะอาดช่วยลดปัญหาสุขภาพให้น้อยลง
คุณคือผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่หรือไม่
- มีอาการปวดฟัน
- เหงือกบวม หรือ มีเลือดออก
- ฟันโยก
- ฟันบิ่น คม หรือ ยาวขึ้น
- ฟันปลอมไม่กระชับ
- เคี้ยวอาหารไม่ค่อยถนัด
- มีอาการเจ็บหรือปวดฟันขณะรับประทานอาหาร
- เสียวฟันเมื่อดื่มน้ำร้อนหรือเย็น
- มีกลิ่นปาก
- ปากแห้ง
- มีแผลในปาก
- มีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน ไขข้ออักเสบ
- ต้องมีผู้ช่วยคอยดูแลเวลาทำความสะอาดฟัน
คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแลเป็นครั้งคราว
- แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงขนนุ่ม อาจใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น
- ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้นที่ 5,000 พีพีเอ็ม ( ควรปรึกษาทันตแพทย์ )
- ใช้น้ำยาบ้วนปากสูตรไม่มีแอลกอฮอล์ ที่มีฟลูออไรด์ 900 พีพีเอ็ม ทุกวัน
- พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน (ปีละ 2 ครั้ง) เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
- สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาฟันผุ ทันตแพทย์อาจทำการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์วานิช หรือ ให้การรักษาทางทันตกรรมที่จำเป็น
คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด
- แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงขนนุ่ม (หรือทำความสะอาดอย่างน้อยวันละครั้ง)
- แนะนำให้เช็ดช่องปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมคลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) หากไม่สามารถแปรงฟันได้ ให้ขอคำแนะนำจากทันตแพทย์
- ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้นสูงที่ 5,000 พีพีเอ็ม ( ควรปรึกษาทันตแพทย์ )
- พบทันตแพทย์อย่างน้อย ปีละครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
- สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาฟันผุ ทันตแพทย์อาจทำการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์วานิช หรือ ให้การรักษาทางทันตกรรมที่จำเป็น
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล
สัญญาณต่อไปนี้ แสดงถึงปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่ท่านดูแลอยู่
- เหงือกบวม แดง มีเลือดออก
- ฟันโยก หัก บิ่น คม หรือ ยาวขึ้น
- มีรอยแผลในช่องปาก
- ลิ้นแห้งแตก และมีฝ้าขาว
- ปวดฟันหรือเจ็บเหงือกขณะรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือแปรงฟัน
อย่าลืมพาผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปาก อย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง
แจ้งทันตแพทย์ให้ทราบทันที ถึงโรคประจำตัว หรือ ยาที่ผู้สูงอายุของท่านใช้อยู่เป็นประจำทุกครั้ง
วิธีแปรงฟันให้กับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้
- หากผู้สูงอายุใช้รถเข็น ให้ยืนข้างหลังท่านขณะช่วยแปรงฟัน
- หากผู้สูงอายุนั่งแปรงฟันบนเก้าอี้ หรือ เตียง ให้ผู้ดูแลนั่งหันหน้าเข้าหาผู้สูงอายุ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถมองเห็นภายในช่องปากของผู้สูงอายุได้ดีขึ้น
- สำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยนอนอยู่บนเตียง ให้ผู้ดูแล ยกศีรษะของผู้สูงอายุขึ้น 45 องศา ขณะทำความสะอาดช่องปาก เพื่อป้องกันอาการสำลัก
บันทึกของทันตแพทย์
ข้อสรุป เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
- การดูสุขภาพช่องปากให้ดี ส่งผลโดยตรงกับสุขภาพร่างกายโดยรวม
- ดื่มน้ำให้มากเพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนเหมาะสม
- แจ้งให้ผู้ดูแล ทันตแพทย์ และทีมแพทย์ทราบว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้าง และรับประทานยาชนิดใดเป็นประจำทุกครั้ง
- ในกรณีที่จำเป็น ทันตแพทย์อาจใช้ฟลูออไรด์วานิช ที่มีความเข้มข้นสูง เคลือบฟันให้ผู้สูงอายุเพื่อป้องกันฟันผุ
- สอบถามทันตแพทย์เรื่องการดูแลฟันแท้ และ ฟันปลอมอย่างถูกวิธี
- ควรงดสูบบุหรี่
*ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคเอเชีย (Asia regional expert workshop) ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ.2558