เหงือกบวมเกิดจากอะไร
Badge field

เหงือกบวมเกิดจากอะไร

Published date field

เวลาแปรงฟันหน้ากระจกจู่ๆ ก็เจอสิ่งที่ไม่เคยสังเกตมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น เหงือกบวมรอบๆ ฟันซี่เดียว ทำอย่างไรต่อไปดี สาเหตุที่ทำให้เหงือกบวมที่บริเวณเดียว ได้แก่ ฟันเป็นฝี ปัญหาเหงือกและการแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันที่ไม่เหมาะสม สาเหตุที่พบได้บ่อยพร้อมคำแนะนำว่าควรรับมือกับปัญหานี้อย่างไร

1. ด้านสุขอนามัยช่องปาก

อาการบวมรอบๆ ฟันเพียงซี่เดียวเป็นเพราะการแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกต้อง ทำให้มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่ ก่อให้เกิดการผุและอักเสบในบริเวณที่ถูกละเลยนั้น เมื่อเวลาผ่านไป การดูแลสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีจะทำให้เกิดปัญหาเหงือกได้เช่นกัน หากสังเกตเห็นว่าเหงือกซีด แดง บวม หรือมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีหนองไหล ฟันโยกหรือมีกลิ่นปาก รวมถึงมีรสชาติแปลกๆ หรือไม่

2. ปัญหาเหงือก

อีกสาเหตุที่พบควบคู่กับอาการเหงือกบวม คือปัญหาเหงือกอักเสบ ตามข้อมูล ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่า เกือบครึ่งของประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปในสหรัฐอเมริกามีปัญหาเหงือก อาการเหงือกอักเสบระยะเริ่มแรก จะมีลักษณะเหงือกแดง บวม มีเลือดออกได้ หากปล่อยไปโดยไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลถึงขั้นฟันโยกและสูญเสียฟันในที่สุด

3. ฟันเป็นฝี

ฟันเป็นฝีเป็นสาเหตุที่พบได้ค่อนข้างบ่อยของอาการเหงือกบวม ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อที่ฟัน ส่วนใหญ่เกิดจากฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา ทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายไปทั่วบริเวณฟัน ทำให้ฟันเสียหาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาการปวดตุบๆ เหงือกมีสีแดงหรือบวม กรามหรือใบหน้าบวม ฟันระบมหรือมีอาการปวด มีไข้หรือแม้แต่รสเค็มในปาก ฟันเป็นฝีต้องได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์​ อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ ทำการตัดส่วนที่ติดเชื้อออก หรือต้องถอนฟันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง

วิธีป้องกันเหงือกบวม

การแปรงฟันวันละ 2 ครั้งอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ควรใช้ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ต้องให้แน่ใจว่าคุณแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟันและบ้วนปากอย่างถูกวิธี เช่น ถ้าฟันมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างฟันสองซี่ แปรงซอกฟันจะช่วยทำความสะอาดได้ดียิ่งขึ้น ควรตรวจฟันปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพฟันโดยรวม แต่รวมถึงการตรวจเช็คว่าเหงือกร่นหรือเริ่มบวมหรือไม่

สุขภาพช่องปากที่ดีและรอยยิ้มที่สวยงามขึ้นอยู่กับการใส่ใจมีมากแค่ไหน เริ่มต้นด้วยการดูแลช่องปากที่บ้านและติดตามผลด้วยการไปพบทันตแพทย์ทุกครึ่งปี เพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพช่องปากจะดีตลอดไป

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม