การสึกกร่อนของฟันคือการสูญเสียเคลือบฟันถาวรโดยมีสาเหตุมาจากกรดในช่องปาก ซึ่งเกิดกับประชากรทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย พฤติกรรมการกิน ปัญหา เช่น บูลิเมีย และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดฟันสึกกร่อน
การสึกกร่อนที่เกิดจากอาหารมักปรากฏเป็นโพรงบนผิวด้านบดเคี้ยวของฟัน การดื่มน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มชูกำลังจะเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ฟันสึกกร่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกลั้วน้ำเหล่านั้นก่อนกลืน ซึ่งทำให้กรดชะล้างผิวฟันและเคลือบฟันสึกกร่อน แม้ว่าการบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้จะไม่ได้ทำให้เกิดการสึกกร่อนเสมอไป แต่จะส่งผลต่อค่าพีเอชภายในช่องปาก และก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดได้
ดังนั้นควรดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารเนื่องจากอาจช่วยให้ปริมาณกรดในปากสมดุลได้ นอกจากนี้ การบริโภคเครื่องดื่มในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเทียบกับการจิบ ก็สามารถลดระดับความเป็นกรดได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยคืนความสมดุลของค่าพีเอชปกติให้กับช่องปากได้
ตามรายงานของ ADA ผู้ที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีระดับความเป็นกรดสูงกว่าเป็นประจำ เช่น พนักงานโรงงาน หรือนักว่ายน้ำ อาจมีการสึกกร่อนของฟันเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นบูลิเมีย กรดไหลย้อน หรือมีปัญหาระบบทางเดินอาหาร อาจสังเกตเห็นการสึกกร่อนของฟันในด้านที่ติดกับลิ้น และเพดานปากด้านใน ซึ่งตรงข้ามกับฝั่งที่ติดกับแก้มและริมฝีปาก
การสึกกร่อนของฟันจะเกิดขึ้นเมื่อกรดสัมผัสกับฟัน ฟันสึกอื่นๆ อีก 3 ประเภท รวมถึงฟันสึกจากการบดเคี้ยว การบดเคี้ยวที่ผิดปกติ และการขัดถู
ผู้ที่มีฟันสึกจากการบดเคี้ยวที่ผิดปกติหรือจากการขัดถู สามารถอุดด้านข้างฟันเหนือผิวฟันที่เสียหายเพื่อช่วยป้องกันการสึกกร่อนอย่างต่อเนื่องได้ แม้ว่าอาจไม่จำเป็นทางการแพทย์ก็ตาม อีกทางหนึ่งคือผู้ป่วยอาจเลือกใช้ฟลูออไรด์ในการนัดหมายดูแลป้องกันเป็นเวลา 6 เดือน หรือใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เพื่อช่วยในเรื่องอาการเสียวฟัน ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมอาจเฝ้าสังเกตบริเวณที่ฟันสึกต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าอาการจะไม่แย่ลง
ถึงเคลือบฟันของคุณจะไม่กลับมาเหมือนเดิม แต่ก็ไม่ได้สูญหายไปทั้งหมด! คุณสามารถใช้มาตรการเพื่อป้องกันการกัดกร่อนเพิ่มเติม และรักษารอยยิ้มของคุณเอาไว้ การรู้วิธีดูแลฟันของคุณ และการฝึกการฝึกอุปนิสัยที่ดีที่ทันตแพทย์แนะนำ จะช่วยรักษารอยยิ้มของคุณให้คงอยู่ไปตลอดชีวิต!
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด