การใส่ฟันปลอมสำหรับฟันหัก
Badge field

คุณจะทำอย่างไรถ้าฟันหัก

Published date field

หากคุณมีฟันแท้ไม่ครบทุกซี่ คุณอาจจะแปลกใจหากได้ทราบว่าคนจำนวนมากก็เป็นเหมือนกันกับคุณ ความจริงแล้ว ข้อมูลจากสมาคมทันตกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) ระบุว่า ผู้ใหญ่วัย 20-60 ปี โดยเฉลี่ยจะมีฟันผุหรือฟันหัก อย่างน้อยสาม ซี่

ไม่ว่าคุณจะฟันหัก เพราะอุบัติเหตุหรือถอนฟัน การทดแทนฟันไม่เพียงช่วยให้คุณดูดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการการเคี้ยวอาหารและการพูดด้วย ดังนั้น ให้คุณลองพิจารณาการทดแทนฟันแบบต่าง ๆ ที่ทันตแพทย์แนะนำ

รากฟันเทียม
รากเทียมจะต้องติดตั้งด้วยการผ่าตัดและฝังอุปกรณ์ลงไปในกระดูก จึงเป็นการทดแทนฟันระยะยาวที่มีความแข็งแรงและทนทาน การใส่รากเทียมประกอบด้วยสามขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือน แต่แม้ว่าจะใช้เวลานาน หลายคนก็เลือกใส่รากฟันเทียมเพราะผลลัพธ์ที่ได้คือฟันที่เหมือนกับฟันจริงที่สุด และสามารถอยู่ได้นานหลายปีหรือหลายสิบปี

สะพานฟัน
สะพานฟันคืออุปกรณ์สำหรับปิดช่องว่างบริเวณที่ฟันหักหรือเคยเป็นฟันมาก่อน และมีหลายประเภทให้เลือก สะพานฟันแตกต่างจากรากเทียมตรงที่รากเทียมติดตั้งโดยไม่ต้องทำสิ่งใดกับฟันใกล้เคียง แต่ในการติดตั้งสะพานฟันนั้นจำเป็นต้องใช้ฟันใกล้เคียง เป็นหลักยึด

หากคุณสูญเสียฟันมากกว่าสองหรือสามซี่ ทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใส่ฟันปลอม ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบถอดได้ที่ประกอบด้วยฟันปลอมหลายซี่ ฟันปลอมแบบทั้งปากมีลักษณะคล้ายกับฟันจริงทั้งชุดในช่องปาก แต่ฟันปลอมแบบยึดบนฟันธรรมชาติหรือรากฟันเทียมจะต้องสวมครอบไปบนฟันซี่ที่เหลืออยู่ คุณอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะชินกับการใส่ฟันปลอม แต่พอพ้นระยะปรับตัวไปแล้ว คุณจะรู้สึกสบายเหมือนไม่ได้ใส่อะไรแปลกปลอมในปากเลย

ฟันปลอม
หากคุณสูญเสียฟันมากกว่าสองหรือสามซี่ ทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใส่ฟันปลอม ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบถอดได้ที่ประกอบด้วยฟันปลอมหลายซี่ ฟันปลอมแบบทั้งปากมีลักษณะคล้ายกับฟันจริงทั้งชุดในช่องปาก แต่ฟันปลอมแบบยึดบนฟันธรรมชาติหรือรากฟันเทียมจะต้องสวมครอบไปบนฟันซี่ที่เหลืออยู่ คุณอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะชินกับการใส่ฟันปลอม แต่พอพ้นระยะปรับตัวไปแล้ว คุณจะรู้สึกสบายเหมือนไม่ได้ใส่อะไรแปลกปลอมในปากเลย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม