ช่องฟันห่างกับทางเลือกในการรักษา
Badge field

ช่องฟันห่าง (Diastemas) กับทางเลือกในการรักษา

Published date field

ช่องฟันห่าง (Diastemas) คืออะไรและมีวิธีการรักษาอย่างไร?
"ช่องฟันห่าง (Diastemas)" คือ บริเวณช่องว่างที่กว้างเป็นพิเศษอยู่ระหว่างฟันตั้งแต่สองซี่ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่มักจะพบช่องฟันห่างอยู่ที่ฟันสองซี่ด้านหน้าในบริเวณขากรรไกรบน เด็ก ๆ หลายคนมีปัญหาช่องฟันห่างเนื่องจากฟันชุดแรกที่หลุดร่วง ไป แต่ส่วนใหญ่ช่องว่างเหล่านี้จะปิดสนิทเมื่อฟันถาวรโผล่ขึ้นมา

ช่องฟันห่างยังอาจมีสาเหตุจากขนาดของซี่ฟันที่ไม่เท่ากัน ฟันหาย หรือเนื้อยึดริมฝีปากที่ใหญ่กว่าปกติ เนื้อเยื่อดังกล่าวขยายเริ่มจากด้านในของริมฝีปากไปจนถึง เนื้อเยื่อเหงือกซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของฟันบนสองซี่หน้า สาเหตุที่รองลงมาได้แก่ปัญหาการจัดตำแหน่งในช่องปาก เช่น ขากรรไกรบนยื่น (Overjet) หรือการยื่นออกมาของฟัน1

ทางเลือกในการรักษามีอะไรบ้าง?
เมื่อทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมได้พิจารณา เหตุผลของช่องฟันห่างของคุณแล้วก็จะพูดคุยเพื่อวางแผน การรักษาต่อไป ทาเลือกต่างๆ อาจได้แก่

  • เก็บช่องฟันห่างเอาไว้
  • การรักษาด้วยการจัดฟันเพื่อย้ายฟันและปิดช่องฟันห่างให้สนิท
  • ใช้การเคลือบผิวด้วยพอร์ซเลน โดยให้พอร์ซเลนชิ้นบางมากผูกติดกับฟันด้านนอก
  • ครอบฟันและสะพานฟันหรือการแทนที่ฟันด้วยราก ฟันเทียม (ใช้ในผู้ใหญ่เท่านั้น)

ถ้ามีเนื้อยึดริมฝีปากใหญ่กว่าปกติ คุณอาจต้องรับคำปรึกษาเรื่องช่องปากกับทันตแพทย์สาขา ทันตกรรมปริทันต์และรับการผ่าตัดทำศัลยกรรมที่เรียกว่า การตัดเนื้อยึด (Frenectomy) โดยขั้นตอนการผ่าตัดนี้จะเกี่ยวข้องกับการตัดเนื้อยึดแล้วจึง จัดตำแหน่งใหม่เพื่อช่วยให้ความยืดหยุ่นมากขึ้น ถ้าทำการผ่าตัดเนื้อยึดในเด็ก ช่องว่างนั้นก็สามารถปิดสนิทเองได้ ถ้าในวัยรุ่นหรือในผู้ใหญ่ ช่องว่างดังกล่าวก็อาจถูกปิดได้ด้วยการจัดฟัน การขอคำปรึกษากับทันตแพทย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อพิจารณาว่าทางเลือกใดที่เหมาะกับการรักษาสำหรับคุณ


© ลิขสิทธิ์ 2011 Colgate-Palmolive

1 Frazier-Bowers, S., Maxbauer, E. Orthodontics Dental Hygiene Concepts, Cases, and Competencies Mosby, 2008, 699-706

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม