155149975
Badge field
Published date field

ยาตามใบสั่งแพทย์กับ

อาการปากแห้ง

20 ปีที่ผ่านมา ชาวอเมริกันส่วนใหญ่รู้สึกว่ายาตามใบสั่งแพทย์ ช่วยปรัปปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนในสหรัฐฯ (ร้อยละ 73) รวมทั้งชีวิตและครอบครัวของพวกเขาด้วย (ร้อยละ 63) ในปัจจุบัน ผู้ใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์ และหนึ่งในห้ารับประทานยาตามใบสั่งแพทย์อย่าง น้อยสี่ชนิดต่อตัว (1) อาการปากแห้ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำลายไม่ทำงานตาม ปกติ ส่งผลให้มีน้ำลายไม่เพียงพอเพื่อให้ปากชุ่มชื้น ต่อมน้ำลายในปากมีสามประเภทและยาตามใบสั่ง แพทย์มีผลต่อการทำงานของแต่ละต่อม หากคุณรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์ โปรดแจ้งให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และทาง ทันตกรรมของคุณทราบชนิดของยาที่คุณรับประทาน

ยาอะไรที่ทำให้เกิดอาการปากแห้ง 
ยากว่า 500 ประเภทสามารถทำให้เกิดอาการปากแห้ง และเมื่อมีการรับประทานอย่างหลายประเภทพร้อมกัน อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งรุนแรงได้ (2, 3) กลุ่มยาตามใบสั่งแพทย์ที่ส่งผลต่อการทำงานของ ต่อมน้ำลายมีดังนี้: 
ยาแก้แพ้: ยาตามใบสั่งแพทย์ในกลุ่มนี้จะส่งผลต่อการผลิตน้ำลาย ซึ่งรวมถึง Benadryl, Claritin, Zyrtec ฯลฯ
ยาต้านอาการซึมเศร้า: คนที่รับประทานยาต้านอาการซึมเศร้าจะมีอาการปากแห้ง ยากลุ่มนี้จะส่งผลต่อปริมาณการผลิตน้ำลาย ซึ่งรวมถึง Zoloft, Flexaryl และ Elavil
ยาแก้อาเจียน: ยาเหล่านี้ใช้เพื่อป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดและการฉายแสงและยังใช้ใน การรักษาอาหารเมารถอีกด้วย (เช่น Anzemet, Domperidone)
ยาลดความดันโลหิต : ยาลดความดันโลหิต (เช่น Albuterol aerosol, Norvasc, Prinivil) ใช้ในการควบคุมความดันโลหิต
ยาต้านพาร์กินสัน: ยาประเภทนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน (เช่น Levodopa, Artane)
ยาแก้เกร็ง: ยากลุ่มนี้ใช้ในการรักษาอาการเกร็งในกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่และลำไส้เล้ก และกระเพาะปัสสาวะ (เช่น Dicyclomine)
ยารักษาโรคจิต: ยาที่จ่ายสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจ วิตกกังวล และซึมเศร้า (เช่น Zoloft, Lexapro)
ยาระงับประสาท: เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้สงบลงโดยการลด ความตื่นเต้นหรือความรำคาญและลดความวิตกกังวล (เช่น Amytal, Valium, Lunesta) หากคุณกำลังรับประทานยาเหล่านี้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์ของคุณเพื่อหาวิธีการควบคุมอาการปากแห้ง 
มียาที่สามารถช่วยบรรเทาอาหารปากแห้งได้ เพียงขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ทางการแพทย์หรือด้านทันตกรรมของคุณ

เอกสารอ้างอิง: 
1 USA Today/Kaiser Family Foundation/Harvard School of Public Health, The Public on Prescription Drugs and Pharmaceutical Companies, January 3-23,2008. 
2 Porter SR, Scully C, Hegarty AM: An Update of the etiology and management of xerostomia, Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 97:28-46, 2004. 
3 Sreebny LM, Schwartz SS: A reference guide to

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม