155149975
Badge field

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการปากแห้ง

Published date field

อาการปากแห้งเกิดขึ้นจากการที่ไม่มีน้ำลายที่เพียง พอเพื่อให้ปากชุ่มชื้นและจำเป็นต้องได้รับการดูแล เพื่อมิให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงขึ้นในช่องปาก อาการปากแห้งเป็นอาการปกติที่พบในผู้สูงอายุและ มักเกี่ยวข้องกับโรคเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆ ของผู้สูงวัย หรือยาที่รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเหล่านั้น 1 ) ยากว่า 500 ประเภทสามารถทำให้เกิดอาการปากแห้งและเมื่อ ผู้สูงอายุรับประทานอย่างหลายประเภทพร้อมกัน อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งมากขึ้นได้ 2

สาเหตุของอาการปากแห้งคืออะไร 
ยาตามใบสั่งแพทย์หลายตัวอาจทำให้เกิดอาการปากแห้ง รวมถึง ยาแก้แพ้ ยากันชัก ยาบำบัดอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคหัวใจ ยาแก้อาเจียน ยารักษาโรคจิต ยาระงับประสาท และยาลดน้ำมูก การใช้ยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน การผ่าตัด การฉายแสง และเคมีบำบัดยังอาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ การฉายแสงที่บริเวณศีรษะและลำคอเป็นสาเหตุ สำคัญของอาการปากแห้งเมื่อเทียบกับการผ่าตัดและเคมีบำบัด หลังการฉายแสงบริเวณศีรษะและลำคอ ต่อมน้ำลายที่ได้รับรังสีจะผลิตน้ำลายน้อยมากหรือไม่ผลิตน้ำลายเลยและอาจก่อให้เกิดความไม่สบายในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในช่องปากและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคต่างๆ เช่น Sjogren's Syndrome และโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (โรคไขข้ออักเสบ โรคเอสแอลอีหรือโรคลูปัส โรคหนังแข็ง โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว หรือโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผสม) และอาการต่างๆ เช่นเบาหวานชนิดที่ 1 โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคหนังแข็ง โรคสะเก็ดเงิน โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคซีสติกไฟโบรซีส และโรคซาร์คอยด์อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการปากแห้งได้ 
อาการปากแห้งยังอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร หลายชนิด เช่น วิตามินเอ และวิตามินบี

อาการของโรคปากแห้ง 
เมื่อเป็นโรคปากแห้ง จะมีอาการต่างๆ ดังนี้:

  • ปากและคอแห้ง
  • น้ำลายเหนียว
  • เจ็บคอ
  • มีการสะสมของคราบแบคทีเรียมากขึ้น
  • กลิ่นปากไม่ดี
  • เจ็บปาก
  • การรับรสเปลี่ยนไป
  • ฟันผุ
  • มีโรคเหงือกและ/หรือเป็นโรคปริทันต์
  • พูดและกลืนลำบาก

การรักษาโรคปากแห้ง 
หากคุณมีอาการปากแห้งซึ่งเกิดจากยาตามใบสั่ง แพทย์ แพทย์ของคุณอาจประเมินชนิดของยาอีกครั้งและ ยกเลิกหรือปรับขนาดยาให้คุณ อาจซื้อสเปรย์น้ำลายปลอมมาใช้เพื่อช่วยให้ปาก ชุ่มชื่นและเพิ่มน้ำลายในปาก แพทย์ของคุณยังอาจสั่งยา Pilocarpine ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้ การดื่มน้ำมากขึ้นก็สามารถช่วยได้ การรักษาที่บ้านอาจรวมถึงการแปรงฟันอย่างน้อยวัน ละสองครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน การดื่มน้ำหรือดื่มเครื่องดื่มที่ไม่ใส่น้ำตาลพร้อม อาหาร การอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลเพื่อกระตุ้นการเกิดการผลิตน้ำลายและพยายามอย่า หายใจทางปาก ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือด้านทันตกรรมของคุณหากคุณมีอาการเหล่านี้และแจ้งรายชื่อยา ทั้งหมดที่คุณรับประทานพร้อมทั้งอาหารและเครื่อง ดื่มที่คุณรับประทานให้พวกเขาทราบเพื่อช่วยในการ วินิจฉัยของพวกเขา

© 2011 Colgate-Palmolive Company

เอกสารอ้างอิง:

1 Ettinger RL:  Review: Xerostomia – A Symptom which acts like a disease.  Age Ageing 25:409-412, 1996.
2 Porter SR, Scully C, Hegarty AM:  An update of the etiology and management of xerostomia.  Oral Surg Oral med Oral Pathol oral Radiol Endod 97:28-46, 2004.

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม