• ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด — ยากว่า 400 ประเภทสามารถทำให้เกิดอาการปากแห้ง อาทิเช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ และยาลดความดันโลหิต
  • โรคบางชนิด — โรคที่มีผลกระทบต่อต่อมน้ำลาย อาทิ โรคเบาหวาน โรคฮอดจ์กิน โรคพาร์กินสัน โรค HIV/AIDS และโรคตาแห้ง (Sjogren's syndrome) สามารถนำไปสู่อาการปากแห้งได้
  • การฉายรังสี — ต่อมน้ำลายอาจถูกทำลายได้ถ้าส่วนศรีษะและคอสัมผัสถูกรังสีระหว่างการรักษามะเร็ง การสูญเสียน้ำลายอาจจะเป็นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดช่องปาก และอาจเป็นอาการชั่วคราวหรือถาวรได้
  • เคมีบำบัด — ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งสามารถทำให้น้ำลายมีความเหนียงขึ้น ทำให้คุณรู้สึกปากแห้ง
  • การหมดประจำเดือน — ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อต่อมน้ำลาย ทำให้ผู้หญิงมีอาการปากแห้งในช่วงหลังจากมีประจำเดือนและในวัยหมดประจำเดือน
  • การสูบบุหรี่ — ผู้สูบไปป์ ซิการ์ และบุหรี่จัด อาจมีอาการปากแห้ง

เราจะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการปากแห้ง

ปากของทุกคนสามารถมีอาการแห้งได้เป็นครั้งคราว แต่จะเป็นปัญหาเมื่อคุณรู้สึกว่าอาการปากแห้งไม่หายไป อาการบางอย่างของอาการปากแห้งมีดังนี้:

  • ความรู้สึกเหนียวหรือแห้งในปาก
  • มีปัญหาในการกลืน
  • มีอาการปากร้อน
  • คอแห้ง
  • ริมฝีปากแตกแห้ง
  • ความสามารถในการรับรสชาติน้อยลง และความรู้สึกถึงรสชาติคล้ายโลหะในปาก
  • อาการเจ็บปาก
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
  • ปัญหาในการเคี้ยวอาหารและการพูด

อาการปากแห้งสามารถรักษาได้อย่างไร

การรักษาแบบถาวรทางเดียวคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ถ้าอาการปากแห้งของคุณเกิดจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์อาจเปลี่ยนการสั่งยาหรือปรับปริมาณยาให้ ถ้าต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติ แต่ยังสามารถผลิตน้ำลายได้ แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยให้ต่อมน้ำลายทำงานดีขึ้น 

ถ้าอาการปากแห้งไม่สามารถรักษาได้ หรือระหว่างรอการรักษา คุณสามารถรักษาความชุ่มชื้นในปากได้หลายวิธี ทันตแพทย์อาจแนะนำสิ่งที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในปาก อาทิ น้ำลายเทียม การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากสูตรพิเศษเฉพาะสำหรับอาการปากแห้งอาจช่วยได้เช่นกัน นอกจากนี้ คุณอาจจะ:

  • จิบน้ำเปล่า หรือเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลมบางชนิด ที่ทำให้ปากแห้ง
  • เคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล หรือลูกอมปราศจากน้ำตาลที่กระตุ้นการผลิตน้ำลาย (ถ้าต่อมน้ำลายยังคงทำงานได้อยู่)
  • ไม่ใช้ยาสูบหรือแอลกอฮอล์ที่ทำให้ปากแห้ง
  • ระวังอาหารรสเผ็ดหรือเค็มซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บในปาก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มส่งผลต่อฟันผุในผู้ใหญ่อย่างไร

ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟลูออไรด์ในน้ำดื่มกัน อ่านข้อมูลจากคอลเกต ได้ที่นี่

ฟลูออไรด์

อะไรคือยาสีฟันผสมสแตนนัสฟลูออไรด์

ยาสีฟันผสมสแตนนัสฟลูออไรด์ช่วยดูแลช่องปากที่ดีเมื่อใช้เป็นประจำทุกวันเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี คอลเกตให้ข้อมุลเพิ่มขึ้นได้ที่นี่

ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ทำอะไรได้บ้าง?

ฟลูออไรด์สามารถปกป้องรอยยิ้มของคุณให้แข็งแรง สวยสดใสไปนาน ๆ ได้ หากคุณสงสัยว่าฟลูออไรด์ช่วยปกป้องสุขภาพในช่องปากได้อย่างไร พบคำตอบได้ที่นี่