รู้หรือไม่ว่า เหงือกสุขภาพดีจะมีลักษณะแน่น มีสีชมพูโทนเดียวกับเยื่อบุในปาก แต่เมื่อใดก็ตามที่เหงือกได้รับการระคายเคือง การสะสมของคราบพลัค จุลินทรีย์ ทำให้เหงือกติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบ บวมแดง และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาช่องปากอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาเหงือกบวมที่เกิดขึ้นได้ทั่วทั้งช่องปาก ไม่เว้นแม้แต่บริเวณฟันกรามที่อยู่ซี่ในสุด ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้วิธีรักษาเหงือกบวมบริเวณฟันกราม เพื่อการป้องกันและดูแลเบื้องต้นจะดีกว่า
วิธีรักษาเหงือกบวมตรงฟันกราม ยุ่งยากไหม?
เหงือกบวมบริเวณฟันกราม เกิดจากอะไร?
เหงือกบวมบริเวณฟันกรามเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางคนอาจรู้สึกเจ็บเหงือกด้านในสุด หรือปวดฟันกรามซี่ในสุดแล้วคิดว่า ปัญหาเกิดจากฟันผุเพียงอย่างเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วอาการนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพปากและฟันของคุณอีกด้วย เรารวมสาเหตุการเกิดเหงือกบวมบริเวณฟันกรามมาให้คุณ ได้แก่
ฟันกรามขึ้นไม่เต็มซี่ เหงือกบวมจากฟันคุด อาการปวดเหงือกด้านในสุด หรือเหงือกบวมจากฟันกรามซี่ในสุด มักเกิดจากฟันกรามซี่ในสุดเริ่มขึ้น และเกิดขึ้นได้จากบริเวณนั้นมีพื้นที่ให้ฟันขึ้นไม่เพียงพอ หรือฟันกรามขึ้นผิดปกติ เอียงชนฟันซี่อื่นๆ ลักษณะนี้เรียกว่า “ฟันคุด” ทำให้เกิดปัญหาช่องปากอื่นๆ ตามมา เช่น เหงือกบวม ฟันผุ กลิ่นปาก ฟันเก ฯลฯ รวมไปถึงอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะและเจ็บคอร่วมด้วย
เหงือกบวมจากการทำความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ หากฟันกรามของคุณขึ้นไม่เต็มที่และมีเศษอาหารเข้าไปตกค้างบริเวณใต้เหงือก และไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดีพอ จะทำให้เกิดการสะสมของคราบพลัคและแบคทีเรียนำไปสู่การติดเชื้อได้ บางรายอาจเกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณฟันกราม โดยเฉพาะบริเวณที่เกิดการกระทบกับฟันซี่ที่สบลงมาพอดี
เหงือกบวมเพราะฟันปลอม เนื่องจากเหงือกเป็นบริเวณที่บอบบาง การใส่ฟันปลอมที่มีขนาดไม่เหมาะสมอาจสร้างการระคายเคือง รู้สึกถูกกดทับ เจ็บปวดบริเวณเหงือก รวมไปถึงการทำความสะอาดฟันปลอมที่ไม่ดีพอ ทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียต่างๆ จนเกิดอาการเหงือกอักเสบตามมานั่นเอง
H3 อาการปวดฟันกรามจากเหงือกบวม มีลักษณะอย่างไร?
ปวดฟันกรามจากเหงือกบวม เป็นสภาวะที่เหงือกอักเสบและบวมแดง ส่งผลให้มีกลิ่นปาก มีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือมีหนองไหลออกจากเหงือก อาจทำให้คุณรู้สึกปวดฟันกรามอย่างมาก หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้ฟันหลุดได้เช่นกัน
มีวิธีรักษาเหงือกบวมได้อย่างไร?
วิธีการรักษาเหงือกบวมอย่างถูกต้องเหมาะสม หรือรักษาอาการปวดเหงือกด้านในสุด วิธีแก้อย่างเหมาะสมน้้น ในเบื้องต้นคุณควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากทันตแพทย์เสียก่อน เพื่อให้แน่ใจถึงสาเหตุของการเกิดเหงือกบวมและนำไปสู่แนวทางการรักษาที่เหมาะสม ได้แก่
วิธีรักษาเหงือกบวมเพราะฟันคุด: กรณีที่ทันตแพทย์ตรวจพบฟันกรามคุด มักจะแนะนำให้ถอน หรือผ่าทันที เพราะตามหลักการแล้วฟันคุดเป็นฟันที่ควรจะต้องได้รับการเอาออกให้เร็วที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ฟันผุ ฟันเก เหงือกอักเสบ เหงือกบวม ฯล
วิธีรักษาเหงือกบวมเพราะฟันปลอม: ควรทำความสะอาดฟันปลอมอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ หากคุณรู้สึกระคายเคืองเวลาใส่ฟันปลอม ควรนำฟันปลอมไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสรีระในช่องปากของคุณ
เหงือกบวม ฟันกราม กินยาอะไร?
หากคุณมีอาการเหงือกบวม ปวดฟันกราม แต่ยังไม่มีเวลาไปพบทันตแพทย์ เรามีคำแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้คุณบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้อย่างดี และปลอดภัยต่อสุขภาพ อย่างไรก็ดี ควรรีบนัดพบทันตแพทย์ของคุณเพื่อการรักษาอย่างรวดเร็ว และป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพเหงือกและฟันของคุณได้
ยาพาราเซตามอล ใช้บรรเทาอาการปวดทั่วไปในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดหัว ปวดฟัน ปวดเมื่อยตัวจากไข้หวัด ผู้ใหญ่สามารถรับประทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1 – 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานยาเกิน 8 เม็ดต่อวัน และไม่ควรรับประทานยาต่อเนื่องเกิน 5 วัน
ยาลดการอักเสบ เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร เช่น ไอบูโพรเฟน ช่วยลดอาการเหงือกบวม บรรเทาอาการปวด และเจ็บเหงือกได้
ยาเบนโซเคน (Benzocaine) หรือยาชาเฉพาะที่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว ก่อนเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
เคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกันอาการเหงือกบวม
รู้หรือไม่ว่า เหงือกสุขภาพดีจะมีลักษณะแน่น มีสีชมพูโทนเดียวกับเยื่อบุในปาก แต่เมื่อใดก็ตามที่เหงือกได้รับการระคายเคือง การสะสมของคราบพลัค จุลินทรีย์ ทำให้เหงือกติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบ บวมแดง และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาช่องปากอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาเหงือกบวมที่เกิดขึ้นได้ทั่วทั้งช่องปาก ไม่เว้นแม้แต่บริเวณฟันกรามที่อยู่ซี่ในสุด ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้วิธีรักษาเหงือกบวมบริเวณฟันกราม เพื่อการป้องกันและดูแลเบื้องต้นจะดีกว่า
ส่วนใหญ่การเกิดเหงือกบวม มักจะมีสาเหตุหลักจากการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ดีพอ ดังนั้น นอกจากจะต้องเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลและทำความสะอาดช่องปากก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะฟันกรามซี่ในสุด ซึ่งทำความสะอาดได้ยากจึงทำให้หลายคนละเลยการทำความสะอาดอย่างพิถีพิถัน หากคุณรู้วิธีป้องกันและวิธีรักษาเหงือกบวมบริเวณฟันกราม ก็จะช่วยให้คุณมีสุขภาพฟันและเหงือกที่ดีขึ้นได้ ดังนี้
ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน เพื่อขจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน และคราบจุลินทรีย์ที่ติดอยู่ที่ผิวฟัน โดยเฉพาะฟันกรามที่ยากต่อการทำความสะอาด คุณสามารถใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร หรือก่อนนอนเพื่อทำความสะอาดซอกฟันได้หมดจรด
บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก และบรรเทาอาการเหงือกบวม นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากสูตรเกลือที่อ่อนโยนต่อช่องปากได้ด้วย
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงสีฟันที่อ่อนโยนต่อเหงือก มีขนแปรงเล็ก นุ่ม สามารถซอกซอนตามร่องเหงือกและซอกฟันได้
** ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ: แปรงสีฟัน Colgate Gentle Gum Expert นวัตกรรมแปรงสีฟันจากคอลเกต ที่ช่วยนวดเหงือกอย่างอ่อนโยน ด้วยขนแปรงต่างระดับ ปลายเรียวแหลม 0.01 มม. ด้านรอบนอกยาวกว่าด้านรอบใน เพื่อให้โดนทั้งฟันและเหงือกในการวางแปรงแต่ละครั้ง มีขนแปรงเยอะพิเศษมากถึง 6,700 เส้น ทำให้สามารถโอบกระชับเหงือก ซอกซอนร่องเหงือกได้ดีขึ้นถึง 6 เท่า* (*เมื่อเปรียบเทียบกับแปรงสีฟันปลายมนกลมทั่วไป) ทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาสุขภาพเหงือกได้มากขึ้นถึง 200% 3 เท่า พร้อมด้วยหัวแปรงเรียวบาง 0.5 มม. ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าแปรงทั่วไป ทำให้สามารถซอกซอนได้ลึกถึงฟันกรามซี่ในสุด
แนะนำให้ใช้คู่กับ น้ำยาบ้วนปากคอลเกต พลักซ์ เกลือสมุนไพร ทำความสะอาดเหงือกและฟันได้ล้ำลึก พร้อมมอบความรู้สึกสดชื่นสบายปาก ไม่แสบและอ่อนโยนต่อกระพุ้งแก้ม พร้อมช่วยทำความสะอาดช่องปากในส่วนที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง จึงลดการสะสมของแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น
อาการเหงือกบวมบริเวณฟันกราม หากไม่มีวิธีรักษาเหงือกบวมอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบที่อันตรายต่อสุขภาพช่องปาก และอาจส่งผลต่อเนื่องถึงสุขภาพกาย ดังนั้น เมื่อสังเกตเห็นถึงความผิดปกติของเหงือกไม่ว่าจะบริเวณฟันกราม หรือบริเวณไหน ควรรีบดูแลและหาวิธีรักษาเหงือกบวมตั้งแต่เนิ่นๆ เริ่มจากการปรับพฤติกรรมและเปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟันที่อ่อนโยนสำหรับเหงือก หรือขอคำปรึกษาจากทันตแพทย์ เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีในอนาคต
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม