รักษาปริทันต์อักเสบ
Badge field

การรักษาโรคปริทันต์อักเสบ

Published date field
Published date field อัพเดทล่าสุด
Published date field

ตรวจสอบทางการแพทย์โดย Colgate Global Scientific Communication

โรคเหงือกขั้นรุนแรงขึ้นหรือที่เรียกว่าปริทันต์อักเสบ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเกือบครึ่งที่มีอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป จากข้อมูลการศึกษาล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(CDC) ส่วนใหญ่แล้ว การสูญเสียฟันเป็นผลลัพธ์มาจากการปล่อยปัญหาทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีตัวเลือกสำหรับการรักษาปริทันต์ขั้นรุนแรงที่ประสบความสำเร็จมากมาย จึงพอมีความหวังที่ไม่ต้องสูญเสียฟัน แม้ว่าสุขภาพเหงือกไม่ค่อยดีเท่าที่ควร

เหงือกอักเสบไปจนถึงปริทันต์อักเสบ

ปัญหาเหงือกอักเสบสามารถพัฒนาไปเป็นระดับที่รุนแรงขึ้นได้ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้: ขั้นแรก เหงือกอักเสบเกิดขึ้นจากคราบแบคทีเรียสะสมและไม่ถูกกำจัดออกจากฟันของคุณอย่างทั่วถึง เหงือกสีแดงบวมและมีเลือดออกเป็นสัญญาณบอกเหตุของการติดเชื้อ แต่ สถาบันวิจัยทางทันตกรรมและกะโหลกศีรษะและใบหน้าแห่งชาติ (NIDCR) รับรองว่าอาการนี้สามารถรักษาให้หายได้ง่ายด้วยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง การใช้ไหมขัดฟันทุกวันก่อนนอน และการทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญที่คลินิคทันตกรรม

แต่หากปล่อยปัญหาทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ภาวะเหงือกอักเสบจะรุนแรงขึ้นจนถึงโรคปริทันต์อักเสบได้ สารพิษจากการสะสมของคราบแบคทีเรียนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อเหงือกเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อกระดูกและเอ็นที่รองรับฟันของคุณด้วย เพราะการติดเชื้อทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่พยุงฟันอักเสบบวมแดงจากเชื้อโรคสะสม ต้องรักษาโดยการผ่าตัดหรือแย่ที่สุดคือต้องถอนฟันซี่นั้น ๆ ออก ปัจจุบันนี้ มีวิธีรักษาปริทันต์ขั้นรุนแรงหลายแบบ ดังนี้

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาปริทันต์อักเสบวิธีแรก คือ การรักษาแบบดั้งเดิมโดยไม่ต้องรับการผ่าตัด หรือที่เรียกว่าการขูดหินปูนและการเกลารากฟัน (SRP) ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจะขจัดคราบจุลินทรีย์รวมถึงขูดหินปูนออกจากฟันและรากฟัน จากนั้นทำให้รากฟันเรียบเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียมารวมตัวกันอีก ตามที่ทันตแพทย์ในเนวาดา ดร. มาเรีย เพอร์โรน กล่าวไว้ว่า SRP อาจต้องเข้ารับการตรวจมากกว่าหนึ่งครั้งและสามารถใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อป้องกันความรู้สึกระคายเคืองต่างๆ ได้ หลังจากขั้นตอนนี้ เหงือกจะได้รับการสมานและติดกลับเข้ากับพื้นผิวฟันที่สะอาดและแข็งแรงได้ ภายใน 2-3 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะประเมินผลการรักษาเพื่อดูว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมหรือไม่

หากต้องรักษาเพิ่มเติม สมาคมปริทันตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (AAP) ได้อธิบายถึงการผ่าตัดปริทันต์ต่างๆ ที่ช่วยหยุดการลุกลามของปัญหาปริทันต์ได้ดังต่อไปนี้:

ขั้นตอนการลดร่องลึกปริทันต์

หลังจากการขูดหินปูนและการเกลารากฟันแล้ว แต่เนื้อเยื่อเหงือกไม่กระชับรอบๆ ตัวฟัน และคุณไม่สามารถรักษาความสะอาดบริเวณร่องลึกปริทันต์ได้ ให้ลองพิจารณาการผ่าตัดลดร่องลึกปริทันต์หรือการผ่าตัดเหงือก การผ่าตัดเหงือกช่วยให้ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านปริทันต์สามารถกำจัดแบคทีเรียที่ติดเชื้อและเกลารากฟันที่เสียหายให้เรียบ เพื่อช่วยให้เหงือกกลับมาติดผิวฟันได้ดีขึ้น

การปลูกถ่ายเหงือก

รากฟันที่ถูกเผยออกเนื่องจากเหงือกร่นสามารถแก้ไขได้ด้วยการปลูกถ่ายเหงือก โดยการนำเนื้อเยื่อจากเพดานปากหรือจากแหล่งอื่นเพื่อปิดรากของฟันหนึ่งซี่หรือมากกว่านั้นก็ได้ การปกปิดรากฟัน ช่วยลดอาการเสียวฟันและปกป้องรากฟันจากการผุ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาเหงือกร่นตลอดถึงการสูญเสียฟันที่อาจเกิดขึ้นได้

ขั้นตอนการปฏิรูป

การปลูกถ่ายกระดูกเป็นวิธีการผ่าตัดที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกในบริเวณที่กระดูกถูกทำลายจากปัญหาปริทันต์ การรักษาประเภทนี้ ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านปริทันต์จะเริ่มกำจัดแบคทีเรีย แล้วค่อยทำการวางกระดูกธรรมชาติหรือกระดูกสังเคราะห์ในบริเวณที่สูญเสียกระดูกพร้อมกับโปรตีนกระตุ้นเนื้อเยื่อเพื่อช่วยให้ร่างกายสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาปริทันต์

ใครที่เคยได้รับการรักษาภาวะปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรงจะรู้ดีว่าการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี คือกุญแจสำคัญ เพราะการดูแลช่องปากเป็นส่วนสำคัญของแผนการรักษาปริทันต์ ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจะใช้เวลาอธิบายเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจเรื่องการแปรงฟัน รวมถึงการใช้ไหมขัดฟันอย่างเหมาะสมที่บ้านเองได้ ทันตแพทย์อาจแนะนำน้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์เพื่อช่วยลดแบคทีเรียในบริเวณที่เข้าถึงยาก

นอกจากทันตแพทย์จะแจ้งให้งดสูบบุหรี่เพราะมีผลต่อการรักษาแล้ว ทันตแพทย์ก็จะนัดตรวจบ่อยครั้งกว่าปรกติอีกด้วย เมื่อต้องรับมือกับปริทันต์ "เรียกได้ว่าการป้องกันนั้นคุ้มค่ากว่าการรักษามากมาย"