เหงือกบวม เหงือกอักเสบ

เหงือกบวมเกิดจากอะไรได้บ้าง? รวมสาเหตุการเกิดเหงือกบวม

คุณรู้ไหมว่า ปัจจุบันคนไทยจำนวน 35% มีปัญหาเรื่องเหงือก ไม่ว่าจะเป็นเหงือกเลือดออก เหงือกบวม หรือเหงือกอักเสบ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ โดยเหงือกบวมเกิดจากสาเหตุหลายประการ มาดูกันว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เหงือกบวม

สาเหตุเหงือกบวมเกิดจากอะไร

อาการเหงือกบวมเกิดจากคราบหินปูนและจุลินทรีย์สะสมรอบๆ เหงือก เนื่องจากการดูแลสุขภาพอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีพอ รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ได้แก่

  • ฟันคุด

เหงือกบวมเกิดจากฟันคุด เมื่อฟันกรามซี่ในสุดกำลังขึ้น แต่งอกออกมาไม่ได้เพราะติดอยู่ใต้เหงือก ทำให้บริเวณนั้นเกิดการอักเสบขึ้น

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

วัยรุ่น สตรีมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงมีประจำเดือน มีโอกาสเกิดเหงือกบวมมากกว่าปกติ เพราะเป็นไปได้ว่าเหงือกบวมเกิดจากระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น ส่งผลต่อร่างกายตอบสนองต่อเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ง่ายขึ้น

  • โภชนาการไม่ดี 

การรับประทานอาหารไม่สมดุล ดื่มน้ำน้อย รับประทานน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป จะส่งเสริมการเติบโตของแบคทีเรีย จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก

  • การขาดวิตามิน C 

เหงือกบวมเกิดจากการขาดวิตามิน C ได้เช่นกัน โดยปกติแล้วหากร่างกายขาดวิตามิน C จะทำให้เกิดอาการเลือดออกตามไรฟัน และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เพิ่มโอกาสการเกิดเหงือกบวมได้

  • การเลือกใช้แปรงสีฟัน

ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่า เหงือกบวมเกิดจากการสะสมของแบคทีเรียเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งเกิดจากการเลือกใช้แปรงสีฟันไม่ได้คุณภาพ เช่น ขนแปรงแข็งเกินไป แปรงสีฟันไม่พอดีกับช่องปาก ทำให้ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดช่องปากลดลง จนทำให้เกิดแบคทีเรียสะสมขึ้น

  • โรคเบาหวาน

เหงือกบวมเกิดจากปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงได้เช่นกัน โดยที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลต่อการอักเสบของเซลล์ในร่างกายได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการปากแห้งเนื่องจากผลิตน้ำลายได้น้อย จึงทำให้เกิดคราบอาหารสะสมจนเกิดแบคทีเรียในช่องปากได้ง่ายขึ้นด้วย

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต 

ไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ก็เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มโอกาสให้เกิดเหงือกบวมขึ้นได้ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ มีความเครียดสะสม เป็นต้น

วิธีรักษาเหงือกบวมเบื้องต้นด้วยตัวเอง

เมื่อทราบสาเหตุแล้วว่าเหงือกบวมเกิดจากอะไรบ้างคุณก็สามารถหาวิธีป้องกันได้อย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการดูแลเบื้องต้น ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ ควรพบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปาก ขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน

  • ใช้น้ำยาบ้วนปาก การใช้น้ำยาบ้วนปากทุกครั้งหลังการแปรงฟัน จะช่วยทำความสะอาดในส่วนที่แปรงเข้าไม่ถึง และช่วยขจัดเชื้อแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในช่องปากได้ดีขึ้น

  • ใช้ไหมขัดฟัน การใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารตกค้าง และช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียได้

  • แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังมื้ออาหาร ควรแปรงให้ทั่วถึงฟันทุกซี่ในปาก และควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 นาที 

  • ใช้แปรงสีฟันดูแลเหงือกโดยเฉพาะ เลือกแปรงที่พัฒนาขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพเหงือกให้แข็งแรงอยู่เสมอ และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3 เดือน เพื่อสุขอนามัยที่ดีของช่องปาก 

คอลเกตแนะนำ Colgate® Gentle Gum Expert ที่ออกแบบขนแปรงขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพเหงือกโดยเฉพาะ ด้วยคุณสมบัติ

  • ขนแปรงนุ่ม อ่อนโยนต่อเหงือก ช่วยนวดเหงือก

  • ขนแปรงจำนวน 6,700 เส้น ช่วยลดปัญหาสุขภาพเหงือกได้มากถึง 200%

  • ขนแปรงต่างระดับ ขนแปรงด้านรอบนอกยาวกว่าด้านรอบใน เพื่อให้โดนทั้งเหงือกและฟันในการวางแปรงแต่ละครั้ง

  • ปลายขนเเปรงเรียวเเหลม 0.01 มม. ซอกซอนร่องเหงือกได้ดีขึ้น 6 เท่า

อาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

หากว่าอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบยังไม่ทุเลาลงและมีอาการมากขึ้น หรือหากอาการเหงือกบวมเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์โดยด่วน

  • เหงือกบวมอักเสบรุนแรงจากโรคปริทันต์ จนมีฟันโยก ฟันห่าง มีหนองไหล เคี้ยวอาหารลำบาก

  • เหงือกบวมจากการระคายเคือง มีความแหลมคมกระทบเหงือกเป็นประจำ

  • เหงือกบวม ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา

  • เหงือกบวมจากอุบัติเหตุกระแทก ฟันผุลึก จนฟันตาย มีหนองไหล

  • เหงือกบวมที่มีลักษณะผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ บวมโตเร็ว

เมื่อเรารู้ว่าอาการเหงือกบวมเกิดจากอะไร จะได้ดูแลสุขภาพเหงือกอย่างถูกต้อง ป้องกันการเกิดปัญหาเหงือกบวม เหงือกอักเสบ ตั้งแต่ต้นเหตุ เพื่อการมีสุขภาพปากและฟันที่ดีอย่างยั่งยืน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม