ทำไมลูกน้อยของคุณจึง ต้องใช้เครื่องมือกันช่องว่างที่ฟัน
Badge field

ทำไมลูกน้อยของคุณจึง ต้องใช้เครื่องมือกันช่องว่างที่ฟัน

Published date field

เด็ก ๆ อาจต้องใช้เครื่องมือกันช่องว่างที่ฟันหากสูญเสียฟันตั้งแต่ยังเล็กๆ หรือมีฟันน้ำนม (ชุดแรก) หลุดเนื่องจากฟันผุ หากเกิดกรณีดังกล่าวกรณีใดกรณีหนึ่ง เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบประโยชน์ของการใช้เครื่องมือกันช่องว่างที่ฟันและวิธีใช้เพื่อช่วยเสริมสร้าง สุขภาพฟันของลูกน้อย ของคุณอย่างไร

เครื่องมือกันช่องว่างที่ฟันเป็นเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุอะคริลิคหรือโลหะซึ่งทางทันตแพทย์หรือทันแพทย์จัดฟันเป็นผู้ทำขึ้นเอง โดยสามารถถอดออกได้หรือยึดในปากของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อปล่อยให้มีที่ว่างช่วยให้ฟันแท้โผล่และงอกออกมาเข้าที่ ฟันน้ำนมสำคัญต่อการพัฒนาของฟัน กระดูกขากรรไกรและกล้ามเนื้อต่าง ๆ และช่วยให้ฟันแท้งอกในตำแหน่งที่ดีเมื่อฟันน้ำนม หลุดร่วง หากไม่มีที่ว่างเตรียมไว้แล้วฟันจะเบียดเข้า ไปในที่ว่างที่เปิดอยู่และอาจจะต้องได้รับการรักษา จากทันตแพทย์จัดฟัน เด็กทุกคนที่สูญเสียฟันน้ำนมหรือมีฟันฟันผุตั้งแต่ยัง เล็ก ไม่จำเป็นจะต้องใช้เครื่องกันช่องว่างที่ฟันเสมอไป อย่างไรก็ตาม ควรขอคำปรึกษาทันตแพทย์หรือทันตแพทย์จัดฟัน เพื่อพิจารณาในกรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องกันช่องว่างที่ฟัน

ประเภทของเครื่องกันช่องว่างที่ฟัน
เครื่องกันช่องว่างที่ฟันสำหรับเด็กมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท แบบถอดได้และแบบติดแน่น

  1. แบบถอดได้ – เครื่องกันที่ฟันแบบถอดได้ จะคล้ายคลึงกับเครื่องใช้ของทันตแพทย์จัดฟันและมักจะทำจากวัสดุอะคริลิค ในบางกรณี อาจใช้ฟันเทียมเติมช่องว่างให้เต็มโดยที่จำ เป็นจะต้องเปิดที่ว่างเอาไว้สำหรับให้ฟันที่ ยังไม่โผล่ออกมา
  2. แบบติดแน่น – เครื่องกันที่ฟันแบบติดแน่นมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ แบบเข้าด้านเดียว (unlitateral) ครอบฟัน (crown) และห่วง (loop) ปลอกที่ปลายฟัน (distal shoe) และลิ้น (lingual)

เครื่องกันที่ฟันชนิด unilateral and crown and loop space maintainers are placed on one side of the mouth to hold space open for one tooth. The unilateral space maintainer wraps around the outside of the tooth and is connected to a metal loop that holds the space intact. The crown and loop is an actual crown that covers the tooth and is attached to the loop to ensure there is space for the erupting tooth.

The เข้าข้างเดียว และ ชนิดครอบฟัน และ ห่วง จะวางอยู่บนด้านใดด้านหนึ่งของปากเพื่อยึดช่องว่าง ให้เปิดไว้สำหรับฟันหนึ่งซี่ เครื่องกันที่ฟันชนิดเข้าข้างเดียวจะพับโดยรอบ ภายนอกซี่ฟันและจะเชื่อมกับห่วงโลหะที่ยึดพื้นที่ไว้ เหมือนเดิม ส่วนชนิดครอบฟัน และห่วงเป็นครอบฟันจริง ที่ใช้ครอบฟัน และยึดติดกับห่วง เพื่อให้แน่ใจว่ามีช่องว่าง สำหรับให้ฟันโผล่ออกมาได้

Theเครื่องกันที่ฟันชนิด ปลอกที่ปลายฟัน มักจะใช้สำหรับฟันกรามถาวรซี่แรกที่ยังไม่โผล่ออก มา การใช้เครื่องกันที่ฟันมีความซับซ้อนมากกว่าเนื่อง จากปลายของโลหะมักจะสอดเข้าไปเส้นขอบเหงือก เพื่อรักษาไม่ให้ช่องว่างที่เปิดไว้ปิดลง ทันตแพทย์จำเป็นต้องคอยดูแลการ งอกของฟันกรามถาวรอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าฟันจะงอกมาในตำแหน่งที่เหมาะสมเข้ากับเครื่องกันที่ฟันนี้หรือไม่

เครื่องกันที่ฟันชนิดลิ้น มักจะใช้ในลักษณะยึดติดกับฟันกรามทั้งสองข้างและเชื่อมด้วยลวดเข้าด้านในของฟันล่างด้านหน้า โดยปกติจะใช้สำหรับฟันที่หายไปมากกว่าหนึ่งซี่

บางครั้งฟันในเด็กอาจขาดหายไปเนื่องจากโรคความพิการมาตั้งแต่กำเนิดและอาจต้องใช้ฟันปลอมบางส่วนควบคู่ไปกับเครื่องกันที่ฟัน เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเพื่อพิจารณาหากจะต้องใช้ตัวเลือกนี้

การใส่เครื่องกันที่ฟัน
เมื่อทันตแพทย์จัดฟันประดิษฐ์เครื่องกันช่องว่างที่ฟันขึ้นมาแล้ว อาจจะต้องใช้เวลาสองสามวัน กว่าที่เด็กจะคุ้นเคยกับการใส่เครื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบถอดได้หรือแบบติดแน่นก็ตาม ทันตแพทย์ควรตรวจสอบกับเด็กและผู้ปกครองถึงวิธีการที่เหมาะสมในการล้างทำความสะอาดเครื่องกันช่องที่ฟันอย่างละเอียด เพื่อรักษาเนื้อเยื่อเหงือกให้แข็งแรงและปลอดจากคราบฟัน ควรทำตามคำแนะนำในการแปรงฟันและการใช้ไหม ขัดฟันที่ถูกต้องเพื่อสุขอนามัยที่ดีขึ้นของช่องปาก

กรณีที่ใช้เครื่องกันที่ฟันแบบติดแน่น เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องหลีกเลี่ยงของขบเคี้ยวและ อาหารที่มีน้ำตาล และหมากฝรั่งหรือลูกอม ซึ่งอาจทำให้เครื่องใช้หลวมหรือติดเข้ากับเครื่องกันช่องที่ฟันได้ นอกจากนี้ ไม่ควรกดหรือดันเครื่องกันที่ฟันด้วยลิ้นหรือนิ้วมือ เพราะอาจทำให้เครื่องใช้หลวมหรือคดงอได้

ควรนำเด็กมาพบทันตแพทย์หรือทันตแพทย์จัดฟัน อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของการ รักษาด้วยเครื่องกันที่ฟันและรับการนัดตรวจจากผู้ เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมของคุณเพื่อทำความสะอาดจากผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำทุก 6 เดือน

© ลิขสิทธิ์ 2009 Colgate-Palmolive Company

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม