531864535
Badge field
Published date field

อาการเสียวฟันระหว่าง

ตั้งครรภ์: สิ่งที่อาจเกิดขึ้น

และวิธีรับมือ

เมื่อคุณตั้งครรภ์ คุณจะต้องเผชิญกับความไม่สบายตัวหลายอย่าง ร่างกายของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น คุณจะรู้สึกปวดหลังหรือไม่สบายตัวตามมา แต่ระหว่างที่คุณพยายามหนุนหมอนสูง ๆ เพื่อให้หลับสบายขึ้นนั้น คุณอาจจะสังเกตเห็นว่า ต้นเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวระหว่างตั้งครรภ์ก็คือฟัน ว่าที่คุณแม่อาจมีอาการเสียวฟันระหว่างตั้งครรภ์ แต่หากได้ทราบว่าผู้หญิงตั้งครรภ์คนอื่นก็มีอาการแบบนี้เหมือนกัน คุณอาจจะสบายใจขึ้น

เมื่อคุณตั้งครรภ์ คุณจะต้องเผชิญกับความไม่สบายตัวหลายอย่าง ร่างกายของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น คุณจะรู้สึกปวดหลังหรือไม่สบายตัวตามมา แต่ระหว่างที่คุณพยายามหนุนหมอนสูง ๆ เพื่อให้หลับสบายขึ้นนั้น คุณอาจจะสังเกตเห็นว่า ต้นเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวระหว่างตั้งครรภ์ก็คือฟัน ว่าที่คุณแม่อาจมีอาการเสียวฟันระหว่างตั้งครรภ์ แต่หากได้ทราบว่าผู้หญิงตั้งครรภ์คนอื่นก็มีอาการแบบนี้เหมือนกัน คุณอาจจะสบายใจขึ้น อไปนี้คือสาเหตุที่อาจทำให้คุณเสียวฟันและเจ็บเหงือก และวิธีจัดการกับอาการเหล่านี้อย่างปลอดภัย

การเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุหลักของอาการปวดฟันและปวดเหงือกระหว่างตั้งครรภ์คือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแต่ละตัวในร่างกาย การตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรหลาย ๆ อย่างในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเลือดไหลเวียนมากขึ้น หรือฮอร์โมนทำงานมากเกินไป สาเหตุของอาการเสียวฟันที่พบบ่อยที่สุดระหว่างการตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ฮอร์โมน ข้อมูลของสมาคมทันตกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (APA) ระบุว่า ฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์จะส่งผลการตอบสนองต่อแบคทีเรียของร่างกาย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การติดเชื้อทางปริทันต์ ซึ่งก็คืออาการปวดฟันหรือปวดเหงือกนั่นเอง
  • เลือดไหลเวียนมากขึ้น ระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณจะทำงานหนักขึ้น ทั้งเพื่อตัวคุณเองและลูกน้อยในครรภ์ ส่งผลให้กระแสเลือดในร่างกายหมุนเวียนมากขึ้น กระแสเลือดที่หมุนเวียนมากขึ้นนี้ทำให้เหงือกของคุณนิ่ม บวม และเจ็บ ดังนั้น เมื่อคุณรับประทานอาหารร้อนและเย็น ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟันตามมา ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เคยเสียวฟันมาก่อนก็ตาม
  • โรคเหงือก โครงการศึกษาวิจัยในปี 2010 ซึ่งตีพิมพ์ผลการศึกษาใน Journal of Natural Science, Biology and Medicine ระบุว่า สตรีตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือกมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นตัวเร่งให้คลอดก่อนกำหนดได้ และแน่นอน เหงือกติดเชื้อ มีเลือดออก และเจ็บปวดก็จะส่งผลให้คุณเจ็บปากและเกิดความรู้สึกไม่สบายตัวหลาย ๆ อย่างตามมาด้วย

วิธีรับมือ

ระหว่างตั้งครรภ์ การรักษาอาการปวดฟันหรือเจ็บเหงือกอาจทำได้ไม่เต็มที่ แต่หากคุณใส่ใจและดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ คุณก็จะสามารถยิ้มอย่างสดใสและมีสุขภาพดีไปตลอดเก้าเดือน การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยในช่องปากเป็นอย่างดีเหมือนที่เคยทำมาตลอดจะทำให้ฟันของคุณแข็งแรงและไม่รู้สึกปวดได้ก็จริง แต่อย่าลืมเพิ่มความเอาใจใส่อีกเล็กน้อย ต่อไปนี้คือเคล็ดลับสี่ข้อสำหรับรับมือกับอาการเสียวฟันระหว่างตั้งครรภ์

  1. เลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงนิ่ม March of Dimes แนะนำว่า หากคุณมีอาการเสียวฟัน จะต้องดูแลรักษาฟันด้วยความระมัดระวัง แปรงขนนิ่ม

  2. คุณทราบไหมว่า อาหารก็ทำให้เสียวฟันได้เช่นกัน คุณเคยปวดฟันขณะดื่มชาหรือเปล่า คุณเคยมองว่าไอศกรีมเป็นสาเหตุของอาการปวดฟันหรือไม่ การหลีกเลี่ยงอาหารที่ "เป็นสาเหตุของอาการเสียวฟัน" เป็นวิธีที่ดีที่สุด จากข้อมูลของ APA ส่วนใหญ่แล้วอาการเสียวฟันจะหายไปเองหลังคลอด ดังนั้น คุณจึงสามารถรับประทานอาหารร้อนและเย็นได้อีกครั้งในอนาคนอันใกล้

  3. ลดของหวาน น้ำตาลเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุ าเป็นไปได้ คุณควรลดของหวานลง แต่หากคุณอดของหวานไม่ได้ คุณจะต้องแปรงฟันทันทีหลังรับประทานของหวานเพื่อกำจัดเศษอาหารใหม่ ๆ ออกจากช่องปาก

  4. ไปพบทันตแพทย์ อย่าใช้การตั้งครรภ์เป็นข้ออ้างในการไม่ไปพบทันตแพทย์ตามนัด เพราะการไปพบทันตแพทย์จะช่วยให้รอยยิ้มของคุณสดใสแข็งแรงอยู่เสมอแม้ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ตาม แต่คุณจะต้องแจ้งทันตแพทย์ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ เพื่อให้แพทย์ใช้ความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (เช่น การสั่งให้เอ็กซ์เรย์)

ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์จะหมายถึงช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะร่างกายของคุณแม่ แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องทน หากรู้สึกไม่สบายในช่องปาก ให้คุณสอบถามสูติ-นรีแพทย์ว่ายาแก้ปวดชนิดใดบ้างที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและอย่าปล่อยให้อาการเสียวฟันอยู่กับคุณไปตลอดเก้าเดือน เมื่อได้รับคำแนะนำจากแพทย์และดูแลรักษาช่องปากอย่างเหมาะสม คุณจะสามารถสนุกกับการตั้งครรภ์โดยไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อช่องปาก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม