เสียวฟัน
Badge field

สาเหตุและการรักษาอาการเสียวฟัน

Published date field

เป็นเรื่องปกติที่อาหารร้อนและเย็นจะทำให้เกิดอาการเสียวฟัน แต่ถ้ามีอาการปวดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ฟันโยก เหงือกบวมหรือปวดขณะเคี้ยว ซึ่งอาจเป็นอาหารเสียวฟันที่เกิดจากปัญหาทางทันตกรรมด้านอื่นๆ ทันตแพทย์สามารถระบุปัญหาและการรักษาที่เหมาะสมได้ แต่การเข้าใจถึงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดปัญหาในช่องปากนี้นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ

อาการเสียวฟันคืออะไร?

ตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกจะมีชั้นผิวเคลือบฟันปกป้องอยู่ ในขณะที่รากฟันที่อยู่ใต้ขอบเหงือกก็ได้รับการปกป้องด้วยเคลือบรากฟัน ภายใต้เคลือบฟันและเคลือบรากฟันก็คือเนื้อฟันซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่า เนื้อฟันมีท่อขนาดเล็กด้านในที่เรียกว่าท่อเนื้อฟัน และเมื่อเคลือบฟันหรือเคลือบรากฟันเสื่อมสภาพหรือเสียหาย ท่อเนื้อฟันก็จะถูกเปิดออก เพราะไม่มีสิ่งใดปกคลุม

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ Mouth Healthy ของสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) เมื่อเหงือกร่นและเผยให้เห็นเนื้อฟัน ของเหลวในท่อเนื้อฟันจะมีการเคลื่อนไหวโดยได้รับผลกระทบจากภายนอก เช่น ความร้อนและความเย็น แล้วส่งสัญญาณไปที่โพรงประสาทจนเกิดเป็นความรู้สึกเสียวฟันหรืปวด

เสียวฟันเกิดจากอะไร?

ทำไมเคลือบฟันหรือเคลือบรากฟันจึงเสื่อมสภาพ? เพราะการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรดมากเกินไป แปรงฟันรุนแรงเกินไป หรือใช้ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันบางชนิดมากเกินไป ในกรณีที่มีอาการเสียวฟันมาก อาจเกิดจาก ฟันผุ วัสดุอุดฟันเสื่อมสภาพหรือฟันร้าว จนเผยให้เห็นถึงเนื้อฟันมากขึ้น

การรักษาในคลินิค

เนื่องจากอาการเสียวฟันอย่างรุนแรงมักเกิดจากปัญหาทางทันตกรรมที่ซับซ้อน จึงควรไปพบทันตแพทย์และรับการรักษาโดยตรง อากการรุนแรงนี้อาจเกี่ยวข้องกับครอบฟัน การอุดฟันแบบอินเลย์หรือการยึดติดทางทันตกรรมต่าง ๆ หากคุณมีปัญหาเหงือกที่อยู่ในขั้นเรื้อรังหรือระยะลุกลาม ก็ควรต้องเข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน

ถ้ามีการสูญเสียเนื้อเยื่อเหงือกที่รากฟัน ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ทำการปลูกถ่ายเหงือกเพื่อครอบคลุมรากฟัน เพื่อห้ฟันได้รับการป้องกันอีกครั้ง อาการเสียวฟันที่มีอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ควรเข้ารับการเอ็กซเรย์เพื่อตรวจว่ารากฟันมีปัญหาหรือไม่

การรักษาเองที่บ้าน

นอกจากนี้ คุณยังสามารถบรรเทาอาการเสียวฟันได้จากยาสีฟันที่ช่วยลดการเสียวฟัน เพราะมีส่วนผสมที่ช่วยปกป้องผิวเคลือบฟัน ทันตแพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยฟลูออไรด์เจลที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเคลือบฟันและช่วยลดความรู้สึกเสียวฟันที่ส่งไปยังเส้นประสาทได้

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม