อาการเจ็บเหงือกเป็นการระคายเคืองที่เกิดจากเหงือก หากคิดว่ามีอาการเจ็บเหงือก ให้มองหาสิ่งผิดปรกติบริเวณที่เจ็บ อาการเจ็บเหงือกเป็นไปได้ว่าเกิดจากปัญหาเหงือกอักเสบระยะเริ่มต้น สัญญาณของเหงือกอักเสบ คือเหงือกบวมแดงและระบม มีเลือดออกง่ายและอาจทำให้มีกลิ่นปาก ตามข้อมูลในเว็บไซต์ Mouth Healthy ของสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) เหงือกร่น เป็นสัญญานอันหนึ่งของปัญหาเหงือกอักเสบระยะลุกลาม
อาการเจ็บเหงือกที่เกิดจากเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบ ส่วนใหญ่มาจากสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี โดยมีคราบจุลินทรีย์เป็นตัวการสำคัญ ก่อตัวขึ้นตามแนวเหงือก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาเหงือกขั้นร้ายแรงได้ สาเหตุอื่นๆ ที่มีผลทำให้เกิดเหงือกอักเสบ ได้แก่ เบาหวาน การสูบบุหรี่ ฟันคุด หรือ แม้แต่การตั้งครรภ์ เป็นต้น
อาการเสียวฟันที่พบได้ทั่วไป คุณอาจรู้สึกเสียวฟันขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ปวดฟันเมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มอะไรเย็นๆ หรือแม้กระทั่งเมื่อทานของร้อน อาหารที่มีกรดหรือรสหวานจัด
อาการเสียวฟันที่มีสาเหตุทางทันตกรรม และมีอาการปวดเหงือกร่วมด้วย เช่น ฟันผุ ฟันแตก เหงือกร่น เคลือบฟันสึก เนื้อฟันหลุด วัสดุอุดฟันหลุด เป็นต้น การกัดฟันหรือแปรงฟันแรงเกินไป ก็ก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้ ตามที่ Beth W. Orenstein จาก Everyday Health การใช้น้ำยาบ้วนปากมากเกินไปหรือฟันร้าว สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองที่เส้นประสาทได้
แม้ว่าอาการเจ็บเหงือกและเสียวฟัน จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรงอื่น ๆ แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถรักษาและป้องกันได้ วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงอาการเสียวฟันและเจ็บเหงือก คือการดูแลและรักษาสุขภาพช่องปากที่ดี เริ่มต้นด้วยการใช้ยาสีฟันที่มีคุณสมบัติป้องกันคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของเหงือกอักเสบ ใช้ไหมขัดฟันและกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยเสริมสร้างให้เหงือกแข็งแรง
อาการเสียวฟันสามารถรักษาได้โดยใช้ยาสีฟันลดการเสียวฟัน หรือ ฟลูออไรด์เจล หากมีอาการรุนแรง ทันตแพทย์อาจแนะนำการแก้ไขปัญหาทางทันตกรรม เช่น การปลูกถ่ายเหงือก หรือ การรักษารากฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์หากพบความผิดปรกติใด ๆ เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด