เสียวฟันเกิดจากอะไร
Badge field

ทำไมเกิดอาการเสียวฟัน

Published date field

มากกว่า 40% ของผู้ใหญ่พบว่ามีอาการเสียวฟัน

เกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (1), (2), (3) อาการเสียวฟันเป็นแบบแปล้บ ๆ ที่บริเวณตัวฟัน

สาเหตุของอาการเสียวฟัน?

โครงสร้างฟันแต่ละซี่ประกอบด้วย 4 ส่วน เคลือบฟัน อยู่ชั้นนอกสุดและแข็งที่สุดจากแร่แคลเซียมฟอสเฟตในปริมาณมาก ทำหน้าที่เหมือนเกราะปกป้องตัวฟันด้านใน เนื้อฟัน เป็นส่วนที่อยู่ใต้เคลือบฟันด้านบน และอยู่ถัดจากเคลือบรากฟันบริเวณใต้เหงือก

มีลักษณะอ่อนกว่าเคลือบฟัน แต่แข็งกว่าเคลือบรากฟัน

เคลือบรากฟัน เป็นชั้นบาง ๆ คลุมเนื้อฟันบริเวณรากฟัน ทำหน้าที่ช่วยยึดฟันเข้ากับขากรรไกร โพรงประสาทฟัน คือ โพรงช่องว่างภายในฟัน เป็นที่อยู่ของเส้นประสาทและเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงตัวฟัน

ปัจจัยหลักที่นำไปสู่อาการเสียวฟัน คือ เหงือกร่น รวมถึงการสูญเสียเคลือบรากฟันและเคลือบฟัน เหงือกร่น (สภาวะที่ขอบเหงือกเคลื่อนร่นตัวลงจากบริเวณขอบเหงือกเผยให้เห็นถึงรากฟัน) มักเกิดจากการสูญเสียการยึดติดของเนื้อเยื่อปริทันต์อันเป็นผลมาจากโรคปริทันต์หรือการแปรงฟันที่แรงเกินไปจนทำให้เหงือกถูกทำลาย นอกจากนี้ การแปรงฟันที่รุนแรงเกินไปยังก่อให้เกิดการสึกกร่อนที่เคลือบฟันลึกจนถึงชั้นเนื้อฟันได้ด้วย การสูญเสียเคลือบฟันเกิดได้ง่ายขึ้นหากแปรงฟันทันทีหลังบริโภคอาหารที่มีฤิทธ์เป็นกรด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว หรือเครื่องดื่มน้ำอัดลม

อาการเสียวฟันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

อาการการเสียวฟันเกิดได้เมื่อเคลือบฟันสึกกร่อน หรือเหงือกร่นจนเผยให้เห็นถึงเนื้อฟัน เพราะเนื้อฟันมีท่อที่เชื่อมต่อจากโพรงประสาทฟันมายังผิวเนื้อฟันที่ถูกเปิดออก ส่งผลให้ของเหลวในท่อเนื้อฟันมีการเคลื่อนที่ใกล้บริเวณโพรงประสาทฟัน จากการสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น ความร้อน ความเย็น การเปลี่ยนแปลงของอากาศ อาหารและเครื่องดื่มที่หวานหรือเปรี้ยวจัด สัญญาณนี้จะถูกส่งไปยังเส้นประสาทซึ่งเป็นหน่วยที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด

ท่อเนื้อฟัน

รูปภาพของท่อเนื้อฟันเปิด

ภาพจาก http://www.freepatentsonline.com/6506055-0-large.jpg

หากคิดว่าคุณกำลังมีอาการเสียวฟัน แนะนำให้นัดพบทันตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและวิธีแก้ไข

แหล่งอ้างอิง:
1 Irwin CR, McCusker P. Prevalence of dentine hypersensitivity in a general dental population. J Ir Dent Asso 1997;43:7-9.
2 Smith WA, Marchan S, Rafeek RN. The prevalence and severity of non-carious cervical lesions in a group of patients attending a university hospital in Trinidad. J Oral Rehabil 2008:35:128-34. 3 Addy M. Dentine hypersensitivity: New perspectives and an old problem. Int Dent J. 2002;52:375-376.

©ลิขสิทธิ์ 2011 บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม