ควรขอความช่วยเหลือจากทันตแพทย์ทันทีที่มีอาการเหงือกบวม แต่ถ้าเหงือกบวมพร้อมมีไข้และใบหน้าบวมด้วย แต่ติดต่อทันตแพทย์ไม่ได้ ให้ไปห้องฉุกเฉินทันที
เกิดได้จากข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้:
ฟันมีหนอง: ฟันมีหนองเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดที่บริเวณปลายรากฟัน (รอบปลายราก) หรือด้านข้างรากฟัน (ปริทันต์) ฝีมีหนองและส่วนใหญ่เกิดจากรอยฟันผุ ได้รับบาดเจ็บหรือการรักษาทางทันตกรรม แล้วเกิดรอยร้าวเป็นช่องทางให้แบคทีเรียเข้าไปภายในฟันจนเกิดการติดเชื้อ อาการฟันมีหนองได้แก่:
อาการปวดฟันและบวมจากการติดเชื้อไม่ใช่เรื่องสนุก ต้องรับการรักษาทางการแพทย์ทันที แม้ว่าหนองจะระบายออกเอง แต่ก็ยังจำเป็นต้องพบทันตแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าการติดเชื้อจะไม่แพร่กระจายออกไป การรักษาเริ่มต้นคือต้องระบายหนองออก อาจได้รับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย บางกรณีก็ทำการรักษารากฟัน หรือถึงขั้นถอนฟัน
อาการปวดฟันคุด: การเจริญเติบโตและการขึ้นของฟันคุดเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ ที่อาจทำให้เหงือกบวมได้ ฟันคุดที่ฝังและงอกขึ้นมาเองไม่ได้เพราะติดอยู่ใต้เหงือก จึงทำให้เหงือกบวม ฟันคุดที่ขึ้นมาได้ แต่เกิดช่องว่างเป็นที่สะสมของแบคทีเรียและเกิดการติดเชื้อขึ้นก็ส่งผลให้เหงือกปวดบวมได้
วิธีรักษาเหงือกบวมบริเวณฟันคุดคือการผ่าฟันออก หลังผ่าฟันคุด เหงือกจะยังบวมสักระยะหนึ่งและจะค่อยๆ หาย ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ ทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อบรรเทาอาการรู้สึกไม่สบายและต่อสู้กับแบคทีเรีย การประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าอาการบวมเป็นมากขึ้น ให้ไปพบทันตแพทย์ทันที
เหงือกอักเสบ: เหงือกอักเสบเป็นระยะเริ่มต้นของโรคเหงือก ภาวะเช่นนี้ทำให้เหงือกบวม แดง ระบมและอาจมีเลือดออกตามไรฟันหลังจากแปรงฟัน แก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี จำกัดของว่างและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และหยุดสูบบุหรี่ เมื่อใดที่มีอาการของเหงือกอักเสบ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและรักษา
ขาดวิตามินซี: โรคลักปิดลักเปิดคือการขาดวิตามินซี และการขาดวิตามินซีทำให้เหงือกบวมได้ ทางแก้ง่ายมาก เพียงแค่รับประทานผลไม้รสเปรี้ยวเพิ่มอย่างส้มและเกรปฟรุต หรือรับประทานวิตามินซีเสริมก็ช่วยได้เช่นกัน ปรึกษาทันแพทย์หรือแพทย์เพื่อขอคำแนะนำถึงปริมาณวิตามินซีที่เหมาะสมได้
ยาที่รับประทานและสาเหตุอื่น: ยาบางประเภทก็มีผลข้างเคียงทำให้เหงือกบวม ถ้ายาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่ใช้อยู่ทำให้ฟันและเหงือกระคายเคือง ให้หยุดใช้จนกว่าจะได้พบผู้เชี่ยวชาญ
มีอาการเหงือกบวมเมื่อใด ให้ไปพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ดีที่สุด หรือจะเลือกวิธีอมน้ำเกลืออุ่นๆ ที่บ้านเพื่อช่วยกำจัดแบคทีเรีย กินยาแก้ปวดที่วางขายทั่วไปอย่างพาราเซตามอลและไอบูโพรเฟนเพื่อช่วยลดอาการบวมและระบมได้
แบคทีเรียมีอยู่ในช่องปากตลอดเวลา แม้แต่คนที่แปรงฟันเป็นประจำก็มีเหงือกบวมได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีก็เป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันเหงือกบวม ต้องแปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และทำความสะอาดซอกฟันทุกวันด้วยไหมขัดฟัน ไหมขัดฟันพลังน้ำ หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันอื่นๆ
อาการบวมในช่องปากต่างจากรอยช้ำที่ผิว เพราะอาจเป็นปัญหาร้ายแรงได้และควรรีบรักษาทันที ทันตแพทย์จะจ่ายยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาอื่นๆ ที่ไม่เพียงรักษาอาการปวดแต่มุ่งกำจัดการติดเชื้อ รีบรักษาเร็วเท่าใด จะได้มีรอยยิ้มที่สดใส มั่นใจ ไร้อาการปวดได้เร็วเท่านั้น
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด