ผู้หญิงที่กำลังจับแก้มด้านขวาเพื่อเช็คอาการของฟันหลังจากผ่าฟันคุด
Badge field

ผ่าฟันคุดต้องพักฟื้นกี่วัน ควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรหลังผ่าฟันคุด

Published date field

การผ่าฟันคุด คือการผ่าตัดเพื่อเอาฟันกรามซี่สุดท้ายออก เพราะฟันซี่ในสุดอาจขึ้นไม่เต็มที่ หรือขึ้นมาในตำแหน่งที่ผิดปกติเรียกว่า ‘ฟันคุด’ โดยฟันคุดมักจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-25 ปี และทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผ่าฟันคุดเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี หลังผ่าฟันคุดอาจมีอาการปวด บวม และและรู้สึกไม่สบายในช่องปาก จนคุณสงสัยว่า ถอนฟันคุด กี่วันหาย หลังผ่าฟันคุด กินข้าวได้ตอนไหน ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไร และ ผ่าฟันคุดมา 7 วันยังปวดอยู่เลย ทำอย่างไรดี? เรามีคำตอบและคำแนะนำดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมมาฝาก

ผ่าฟันคุด คืออะไร?

ก่อนอื่นคุณต้องทำความรู้จักกับ ‘ฟันคุด’ (Wisdom teeth) หรือ ‘ฟันกรามซี่ที่สาม’ เป็นฟันชุดสุดท้ายของฟันกรามที่งอกออกมาไม่ตรงเหมือนฟันซี่อื่น ๆ โดยมีลักษณะเอียง เฉ และอาจทำให้เกิดฟันซ้อนได้ ส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์มักจะแนะให้ผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด เพราะฟันคุดอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากตามมา เช่น เหงือกอักเสบบริเวณฟันคุด หรือปวดฟันกราม ทันตแพทย์ยังแนะนำด้วยว่า วัยรุ่นควรไปตรวจฟันคุดก่อนอายุ 20 ปี เพื่อให้รู้ว่าฟันคุดจะงอกขึ้นมาอย่างไร 

หากคุณมีอาการปวดฟันบริเวณด้านในสุดของช่องปาก หรือที่เรียกว่า ‘ปวดฟันคุด’ ทันตแพทย์จะเอกซ์เรย์ดูว่า ฟันคุดงอกขึ้นมาในลักษณะใด หากจำเป็นทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ถอนฟันคุดออกในขณะที่รากฟันยังเติบโตไม่เต็มที่ โดยการผ่าฟันคุดนั้นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ (ฉีดเข้าไปที่เหงือก) ก่อนการผ่าตัด เมื่อยาชาหมดฤทธิ์แล้วคุณจะรู้สึกได้ถึงอาการปวด หลังจากนั้น ทันตแพทย์จะแนะนำขั้นตอนการดูแลสุขภาพช่องปากหลังผ่าฟันคุดอย่างถูกวิธี เพื่อให้คุณดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง 

เมื่อไหร่ควรผ่าฟันคุด?

โดยทั่วไปแล้ว ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผ่าฟันคุดเมื่อคุณมีอาการปวดฟันกราม หรือมีปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดจากฟันคุด เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ หรือฟันคุดเบียดกับฟันซี่อื่น ๆ อย่างไรก็ดี การผ่าฟันคุดก่อนที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีเช่นกัน เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากในระยะยาว

ผ่าฟันคุดกี่วันหาย?

หลายคนอาจสงสัยว่า ผ่าฟันคุดเจ็บไหม? ผ่าฟันคุดกี่วันหาย? ทั้งนี้ ระยะเวลาในการหายของแผลหลังผ่าฟันคุดจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดและบวมจะค่อย ๆ ทุเลาลงภายใน 3-7 วัน แต่แผลผ่าฟันคุดอาจใช้เวลาในการหายสนิทประมาณ 2 สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลามากกว่านั้น โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระยะเวลาการหายหลังผ่าฟันคุด มีดังนี้ 

  • ความซับซ้อนของการผ่าตัด: หากฟันคุดฝังลึก หรือการผ่าตัดมีความซับซ้อน อาจใช้เวลานานกว่าแผลจะหายสนิท

  • ขนาดของฟันคุด: ฟันคุดที่มีขนาดใหญ่มักจะใช้เวลานานกว่าจะหาย มากกว่าฟันคุดที่มีขนาดเล็ก

  • สุขภาพช่องปาก: ผู้ที่มีสุขภาพช่องปากแข็งแรง มักจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดี

** Tips: การดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด ตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้

ข้อห้ามหลังผ่าฟันคุด สู่การฟื้นตัวที่รวดเร็ว

การดูแลตัวเองอย่างถูกต้องหลังผ่าฟันคุดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เรารวมสิ่งที่ไม่ควรทำหลังผ่าฟันคุด เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปาก ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้

  • บ้วนน้ำลายแรงๆ: การบ้วนน้ำลายแรงๆ อาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดจากแผล ทำให้เลือดออกนานขึ้น

  • อย่าดูดแผล: การดูดแผลจะทำให้แผลหายช้าลง และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

  • งดใช้หลอด: การใช้หลอดดูดน้ำจะทำให้เกิดแรงดูดในช่องปาก ซึ่งอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกได้

  • หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง: ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก ซุป เพื่อลดการระคายเคืองต่อแผล

  • งดรับประทานอาหารร้อน: เพราะอาหารร้อนอาจทำให้แผลอักเสบได้

  • งดสูบบุหรี่: นิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหดตัว และทำให้แผลหายช้าลง

  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: แอลกอฮอล์จะไปรบกวนการทำงานของยา และทำให้เกิดอาการแพ้ได้

  • อย่าออกกำลังกายหนัก: การออกกำลังกายหนักจะทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น อาจทำให้เลือดออกได้

  • อย่าใช้แปรงสีฟัน แปรงบริเวณแผล: ควรหลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณแผลผ่าตัดในช่วงแรก ๆ 

  • อย่าใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปาก: งดใช้ไหมขัดฟัน น้ำยาบ้วนปาก ประมาณ 24 ชั่วโมง

** หมายเหตุ: ไม่ควรแปรงฟันในวันแรกหลังผ่าฟันคุด เพื่อควบคุมไม่ให้เลือดไหลออกมาก โดยระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าฟันคุดจะอยู่ที่ประมาณ 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น

หลังผ่าฟันคุดแล้วช่องปากของคุณอาจมีอาการบวม หรือปวดเหงือกบริเวณที่ถอนฟัน บางครั้งอาจมีเลือดออกมากหลังผ่าฟันคุดเสร็จใหม่ ๆ ทันตแพทย์จะให้คุณกัดผ้าก๊อซไว้เพื่อทำการห้ามเลือด ระวังอย่าให้มีลิ่มเลือดไหลออกมาก และพยายามอย่าทำอะไรที่เป็นการกระทบกระเทือนเหงือกในช่วงเวลานี้ ได้แก่

  • รับประทานยา: ทันตแพทย์จะให้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะ เพื่อลดอาการปวดและป้องกันการติดเชื้อ

  • ประคบเย็น: การประคบเย็นบริเวณแก้มด้านที่ผ่าตัด จะช่วยลดอาการบวมและปวดได้

  • หลีกเลี่ยงการบ้วนปากแรงๆ: เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดออกจากแผล

  • รับประทานอาหารอ่อน: ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ ในช่วง 2 -3 วันแรกหลังผ่าฟันคุด เพื่อช่วยลดการระคายเคืองต่อแผลได้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ: การพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวและแผลหายเร็วขึ้น

  • นอนยกศีรษะ: ควรนอนยกศีรษะสูงขึ้นมาเล็กน้อยประมาณ 2 – 3 วัน 

  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ: การใช้น้ำเกลืออุ่น ๆ จะช่วยให้ช่องปากสะอาดและลดอาการติดเชื้อได้

** เรื่องควรรู้: หลังอาการปวดดีขึ้นคุณสามารถแปรงฟันเบา ๆ ได้ โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนบริเวณที่ถอนฟันคุด และควรเลือกยาสีฟันสูตรลดการเสียวฟัน เพราะหลังผ่าตัดช่องปากจะอ่อนแอและไวต่อการแปรงฟัน เราแนะนำ Colgate Sensitive Pro-Relief นวัตกรรมเพื่อช่องปากจากคอลเกต ลดการเสียวฟันได้อย่างรวดเร็ว และให้การปกป้องยาวนาน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีอยู่เสมอ

หากสังเกตเห็นว่าแผลมีหนองออกมา หรืออาการปวดรุนแรงและมีไข้ร่วมด้วย ควรไปพบทันตแพทย์ทันทีเพราะแผลอาจติดเชื้อได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้แผลผ่าฟันคุดหายเร็วขึ้น

คำถามที่พบบ่อย

Q. ผลข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด คืออะไร?

A. หลังผ่าฟันคุดอาจจะรู้สึกไม่สบายตัวบ้างเป็นเรื่องปกติ หลายคนมักจะมีอาการบวมและปวดแผลผ่าฟันคุดร่วมด้วย โดยเฉพาะในช่วง 48 ชั่วโมงแรก แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ อ้าปากไม่ค่อยได้ หรืออ้าปากลำบาก รู้สึกชา หรือเสียวบริเวณริมฝีปาก ลิ้น และแก้ม โดยทั่วไปอาการชาจะหายเองภายในไม่กี่วัน แต่บางรายอาจใช้เวลานานกว่านั้น นอกจากนี้ คุณอาจจะมีเลือดซึมออกจากแผลเล็กน้อย การกัดผ้าก๊อซให้แน่นจะช่วยหยุดเลือดได้

Q. มีอาการปวดหลังผ่าฟันคุด ควรทำอย่างไร?

A. อาการปวดหลังผ่าฟันคุดเป็นเรื่องปกติ โดยความรุนแรงของการปวดจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการผ่าตัด และการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด ควรทายาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง ประคบเย็นบริเวณแก้มข้างที่ผ่าฟันคุด เพื่อลดอาการปวดและบวมบริเวณแผล พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อน ๆ เพื่อลดการระคายเคืองต่อแผล รวมถึงบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ ช่วยลดการอักเสบด้วยวิธีธรรมชาติ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม