ครอบครัวนอกบ้าน
Badge field

ทันตแพทย์ทำอะไรบ้างเมื่อเกลารากฟันและขูดหินปูน?

Published date field
Published date field อัพเดทล่าสุด
Published date field

ตรวจสอบทางการแพทย์โดย Colgate Global Scientific Communication

ทันตแพทย์ทำอะไรบ้างเมื่อเกลารากฟันและขูดหินปูน?

การทำความสะอาดช่องปากของคุณทุก ๆ 6 เดือน ส่วนใหญ่ก็คือการทำความสะอาดช่องปากโดยการขูดหินปูนเพื่อกำจัดคราบพลักซ์ที่เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียและคราบหินปูน คุณจะรู้สึกได้ว่าผิวฟันของคุณเรียบลื่นขึ้น

เมื่อไหร่ที่คุณควรขูดหินปูนและเกลารากฟัน?

แม้ว่าการทำความสะอาดฟันเป็นประจำนั้นจะช่วยป้องกันปัญหาเหงือก ส่วนการเกลารากฟันจะใช้เพื่อรักษาปัญหาปริทันต์ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด บางครั้งเรียกวิธีนี้ว่าการทำความสะอาดฟันล้ำลึก ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ทันตแพทย์มักใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นปัญหาปริทันต์เรื้อรัง

เนื้อเยื่อเหงือกที่สุขภาพดีควรยึดอยู่รอบฟันแต่ละซี่อย่างแน่นหนา ขนาดระยะจากขอบเหงือกส่วนบนไปจนถึงบริเวณเหงือกที่ยึดฟัน (ร่องลึกปริทันต์) นั้นควรอยู่ลึกประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร แต่เมื่อคราบพลักซ์จากแบคทีเรียและคราบหินปูนสะสมรอบบริเวณดังกล่าวและที่บริเวณใต้เหงือก เนื้อเยื่อที่ช่วยพยุงฟันอยู่อาจถูกทำลายและทำให้ปัญหาเหงือกของคุณมีอาการรุนแรงขึ้น เกิดร่องลึกปริทันต์มากขึ้นไปอีก

เมื่อคุณพบสัญญาณของปัญหาเหงือกที่รุนแรงขึ้น เช่น ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น คราบหินปูนสะสมมากขึ้น มีร่องลึกปริทันต์ที่ไม่แข็งแรงและมีขนาดมากกว่า 4 มิลลิเมตร ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาด้วยการขูดหินปูนและเกลารากฟันเนื่องจากเป็นวิธีรักษาขั้นแรกที่จำเป็นในการรักษาสภาพฟันของคุณ

Dentist examine asian woman patient

เหมือนเอาเสี้ยนตำมือที่อักเสบออก

ทันตแพทย์จะเป็นผู้ขูดหินปูนและเกลารากฟันให้คุณ ซึ่งอาจต้องเข้าไปรักษาด้วยวิธีนี้มากกว่าหนึ่งครั้ง ส่วนมากจะมีการให้ยาชาบริเวณที่รักษาด้วยเพื่อลดอาการเจ็บปวดขณะรักษา
ปริทันตทันตแพทย์หรือทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเหงือกเปรียบเทียบการขูดหินปูนและเกลารากฟันว่าเหมือนกับการเอาเสี้ยนตำมือออกจากนิ้วที่อักเสบ วิธีการที่ใช้คือการขูดเอาคราบพลัก สารพิษจากแบคทีเรีย และคราบหินปูนที่สะสมออกจากฟันและผิวหน้าของรากฟันของคุณอย่างทั่วถึง จากนั้นก็เกลารากฟันเพื่อขัดบริเวณที่หยาบรอบ ๆ ผิวรากฟันออก ผิวรากฟันที่เรียบทำให้แบคทีเรีย คราบพลัก และคราบหินปูนไม่กลับมาเกาะที่ใต้ขอบเหงือกอีก ทำให้เหงือกของคุณค่อย ๆ ฟื้นสภาพและยึดแน่นกับฟันอย่างมั่นคงอีกครั้ง

หลังการรักษา

ในการไปพบทันตแพทย์ครั้งถัดไป ทันตแพทย์จะตรวจสอบว่าเหงือกของคุณค่อย ๆ ดีขึ้นหรือไม่ และจะตรวจสภาพร่องลึกปริทันต์ของคุณด้วย ข่าวดีคือในกรณีส่วนใหญ่เนื้อเยื่อเหงือกที่เคยบวมแดงนั้นจะกลับมาแข็งแรงและเป็นสีชมพูอีกครั้ง อาการเลือดออกลดลงหรือหายไป ส่วนร่องลึกปริทันต์นั้นก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย หลังจากนี้ ถ้าคุณดูแลใส่ใจฟันอย่างดี คุณก็อาจไม่ต้องทำการรักษาเพิ่มเติมอีก

แต่สำหรับอาการปัญหาปริทันต์ที่รุนแรงกว่าอาจต้องมีการรักษาด้วยการศัลยกรรมหลังการขูดหินปูนและเกลารากฟันแล้วเพื่อหยุดการสูญเสียกระดูกฟัน โดยทั่วไปการรักษาด้วยการขูดหินปูนและเกลารากฟันสามารถช่วยลดความจำเป็นที่ต้องรักษาด้วยการศัลยกรรมลงไปได้พอสมควร

การดูแบเหงือกให้แข็งแรง

หลังรักษาปัญหาปริทันต์แล้ว ไม่ว่าจะด้วยการศัลยกรรมหรือการรักษาด้วยวิธีอื่น ทันตแพทย์ของคุณอาจนัดให้คุณมาตรวจสุขภาพฟันเพื่อติดตามอาการและเพื่อดูแลเหงือก (ปริทันต์) ให้แข็งแรงอีกครั้ง การนัดประมาณ 2 – 3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง ซึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาที่ต้องทำความสะอาดฟันแบบล้ำลึกนั้น การเข้าพบทันตแพทย์ในระยะนี้อาจมีการทำความสะอาดทั้งช่องปากด้วย รวมถึงการตรวจสุขภาพเหงือกอย่างละเอียดและวัดระยะของร่องลึกปริทันต์ของคุณเพื่อดูว่ามีภาวะเหงือกร่นหรือไม่

การดูแลช่องปากเพื่อป้องกันปัญหาเหงือก

การต้องรักษาฟันด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ทำให้หลายคนกังวลได้ หากไม่อยากต้องเข้ารับการรักษาฟัน การดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากเป็นประจำและไปพบทันตแพทย์ตามนัดอย่างน้อยทุก 6 เดือนถือเป็นเรื่องสำคัญ การดูแลฟันของคุณเริ่มต้นขึ้นที่บ้านและในกิจวัตรประจำวันของคุณเอง ลองดูเคล็ดลับต่าง ๆ ในการดูแลช่องปากด้านล่างนี้เพื่อช่วยคุณเริ่มต้นสุขภาพฟันที่ดีได้เองที่บ้าน

แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

เปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อพบว่าขนแปรงบานหรือเสียหายแล้ว

ขัดฟันด้วยไหมขัดฟันระหว่างซอกฟัน สะพานฟัน ครอบฟัน หรือรากฟันเทียมเป็นประจำทุกวัน

ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยลดการเกิดคราบแบคทีเรีย

งดสูบบุหรี่

ไม่ว่าคุณจะเรียกวิธีการรักษานี้ว่า การทำความสะอาดล้ำลึก หรือการขูดหินปูนและเกลารากฟันก็ตาม วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลมานานสำหรับการรักษาปัญหาปริทันต์ ดังนั้น ถ้าทันตแพทย์แนะนำให้คุณใช้วิธีการขูดหินปูนและเกลารากฟัน คุณมั่นใจได้เลยว่า หลังการรักษาแล้วสุขภาพเหงือกของคุณจะกลับมาดีอีกครั้งอย่างแน่นอน