ทันตแพทย์อาจจะใช้วิธีการบางอย่างมาพิจารณา ว่าคุณมีฟันผุหรือเปล่า เช่น
ฟันผุไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวของการอุดฟัน สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่
เมื่อคุณไปหาทันตแพทย์เพื่ออุดฟัน ถ้าทันตแพทย์เห็นว่าจำเป็น คุณอาจจะได้รับยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความเจ็บปวดจากนั้น ทันตแพทย์จะขูดเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออกโดยใช้สว่าน หรือเลเซอร์
เครื่องกรอฟันนั้นจะใช้โลหะทรงกรวยที่เรียกว่าเบอร์ (Bur) ตัดผ่านเคลือบฟันและกำจัดฟันส่วนที่ผุออก เบอร์มีหลายรูปทรงและขนาด ซึ่งทันตแพทย์จะเลือกให้เหมาะกับขนาดและตำแหน่งของฟันที่ผุ
ตอนแรก ทันตแพทย์จะใช้สว่านความเร็วสูง (เครื่องมือที่ทำให้เกิดเสียงที่คุณเคยได้ยินในคลินิกทำฟัน) มากำจัดเนื้อฟันและเคลือบฟันส่วนที่ผุออกก่อน แต่เมื่อสว่านเจาะเข้าไปถึงเนื้อฟันหรือฟันชั้นที่สองแล้ว ทันตแพทย์จะเปลี่ยนมาใช้สว่านที่มีความเร็วต่ำลง เพราะเนื้อฟันจะอ่อนนุ่มกว่าเคลือบฟัน
หลังจากนำฟันส่วนที่ผุออกไปแล้ว ทันตแพทย์ปรับหลุมบนฟันเพื่อเตรียมการอุด วัสดุอุดประเภทต่าง ๆ มีขั้นตอนการปรับหลุมฟันที่แตกต่างกัoเพื่อให้วัสดุติดแน่น ทันตแพทย์อาจจะวางฐานหรือชั้นรองภายในฟันเพื่อปกป้องโพรงประสาทของฟัน (ส่วนที่เป็นเส้นประสาท) ฐานหรือชั้นบุรองอาจจะทำมาจากวัสดุเรซิน กลาสไอโอโนเมอร์ ซิงค์ออกไซด์ และยูเจนอล หรือวัสดุอื่น ๆ
วัสดุบางชนิดจะปล่อยสาร ฟลูออไรด์ ออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุลุกลาม
ขณะกำลังอุดฟันอยู่นั้น ทันตแพทย์จะกัด (เตรียม) ผิวฟันด้วยเจลกรดก่อนวางวัสดุอุดฟันลงไป การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดรูพรุนเล็ก ๆ บนผิวเคลือบฟัน และเมื่อคุณอุดฟัน วัสดุอุดฟันจะเข้าไปถมรูพรุนเหล่านี้ นอกจากนี้แล้ว ทันตแพทย์ยังอาจใช้สารยึดติดด้วย วัสดุอุดฟันจึงยึดติดกับฟันด้วยวิธีการสองแบบด้วยกัน และเมื่อใช้สารยึดติดในการอุดฟัน โอกาสที่วัสดุอุดฟันจะเกิดรอยรั่วหรือเกิดฟันผุใต้วัสดุอุดฟันก็จะน้อยลงด้วย การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันโดยทั่วไปแล้วจะต้องใช้วัสดุเรซินสีเหมือนฟันเป็นวัสดุอุด
วัสดุอุดฟันบางชนิดต้องฉายแสงเพื่อให้แข็งตัว ในการอุดฟันด้วยวัสดุเหล่านี้ ทันตแพทย์จะอุดฟันหลายชั้น และหยุดเป็นครั้งคราวเพื่อฉายแสงลงไปบนเรซิน วิธีนี้เป็นการบ่ม (ทำให้แข็ง) และทำให้วัสดุแข็งขึ้น
หลังจากอุดฟันเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะใช้เบอร์ขัดแต่งผิวฟันให้เรียบเป็นขั้นตอนสุดท้าย
หลังจากอุดฟัน บางคนอาจจะรู้สึกเสียวฟัน ฟันอาจจะไวต่อแรงกด อากาศ อาหารหวาน หรือความเย็น วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันมักจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันก็จริง แต่วัสดุอุดฟันประเภทอื่นก็อาจทำให้เกิดอาการแบบนี้ได้เช่นกัน
สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดฟันหลังจากยาชาหมดฤทธิ์คือ การอุดฟันสูงเกินไป ในกรณีนี้ ให้คุณไปพบทันตแพทย์เพื่อลดความสูงของวัสดุอุดฟันโดยเร็ว
สาเหตุของความรู้สึกไม่สบายในช่องปากหลังจากอุดฟันแบบที่สองก็คือ การปวดจี๊ด ๆ เฉพาะเมื่อฟันสัมผัสกัน อาการนี้เรียกว่าการเสียวฟันเฉียบพลัน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อโลหะสองชนิด (วัสดุอุดฟันอันใหม่กับวัสดุอุดฟันอันเก่าสัมผัสกัน) สร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นในปาก ตัวอย่างเช่น หลังจากคุณอุดฟันด้วยอะมัลกัมที่ฟันล่างและใส่ครอบฟันทองคำที่ฟันบน เป็นต้น
ส่วนใหญ่แล้ว อาการเสียวฟันจะทุเลาลงเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งหรือสองสัปดาห์ ซึ่งคุณควรจะหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันจนกว่าจะถึงตอนนั้น แต่หากคุณรู้สึกเสียวฟันมากหรืออาการเสียวฟันยังไม่หายแม้ว่าจะเวลาจะผ่านมาแล้วสองสัปดาห์ ให้คุณไปพบทันตแพทย์
คุณควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบหากรู้สึกเสียวฟัน ครั้งต่อไปเมื่อคุณต้องอุดฟัน ทันตแพทย์จะได้พิจารณาใช้วัสดุอุดฟันชนิดอื่นเพื่อลดอาการเสียวฟันของคุณลง คนเราจะตอบสนองต่อวัสดุอุดฟันแตกต่างกัน ทันตแพทย์ไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าฟันของคุณจะมีปฏิกิริยากับวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งหรือไม่
เมื่อคุณแจ้งทันตแพทย์เกี่ยวกับอาการเสียวฟัน ควรอธิบายให้ละเอียดและถูกต้องที่สุด เพราะข้อมูลนี้จะช่วยให้ทันตแพทย์ทราบว่าต้องทำอะไรบ้างในการอุดฟันครั้งต่อไป ทันตแพทย์อาจจะถอดวัสดุอุดฟันอันเก่าออกแล้วอุดด้วยวัสดุชนิดใหม่ หรืออาจจะเสริมฐาน ชั้นบุรอง หรือทาสารลดอาการเสียวฟันลงบนฟันด้วยก็ได้ หากโพรงที่ต้องอุดนั้นลึกมาก คุณอาจจะต้องรักษาคลองรากฟัน เพื่อแก้ไขปัญหา
คุณอาจจะต้อง อุดฟันชั่วคราว (โดยทั่วไปแล้วจะเป็นวัสดุสีขาว ขาวสว่าง หรือสีเทา) ในกรณีต่อไปนี้
การอุดฟันชั่วคราวจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น เพราะวัสดุอุดฟันจะช่วยปิดคลุมฟัน และปกป้องโพรงประสาทฟันจากแบคทีเรียและลดอาการเสียวฟัน
วัสดุอุดฟันมักจะมีส่วนผสมของยูเจนอล ซึ่งเป็นส่วนผสมที่พบในยาแก้ปวดฟันที่วางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป และยังเป็นองค์ประกอบในน้ำมันกานพลูที่คนเรามักนำมาบรรเทาอาการปวดฟันด้วย
อย่างไรก็ตาม วัสดุอุดฟันชั่วคราวไม่ได้มีไว้ใช้งานอย่างถาวร ตามปกติแล้ว วัสดุเหล่านี้จะหลุด แตก หรือสึกหรอภายในหนึ่งหรือสองเดือนเท่านั้น ดังนั้น หากต้องอุดฟันชั่วคราว คุณจะต้องไปพบทันตแพทย์อีกครั้งเพื่ออุดฟันแบบถาวร หากคุณไม่ไปตามนัด ฟันของคุณอาจจะติดเชื้อหรือมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้
วัสดุอุดฟันมีอายุการใช้งานและอาจจะเปลี่ยนสี วัสดุอุดฟันสีเดียวกับฟันจะเกิดคราบ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือสีเข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อคุณเคี้ยว ฟันและวัสดุอุดฟันจะต้องรองรับแรงกดปริมาณมหาศาล ถึงแม้ว่าจะไม่มีปัญหาอื่น ๆ แต่วัสดุอุดฟันบางขนิดก็อาจจะสึกหรอเมื่อเวลาผ่านไป และจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ แต่หากวัสดุอุดฟันหลุด แตก หรือรั่ว คุณก็ต้องเปลี่ยนใหม่เร็วกว่าปกติ
แบคทีเรียและเศษอาหารเล็ก ๆ อาจจะเข้าไปติดอยู่ใต้วัสดุอุดฟันที่แตกหรือรั่วได้ และเนื่องจากคุณไม่สามารถทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยตัวเอง แบคทีเรียจะกินเศษอาหารเหล่านั้นเพื่อเจริญเติบโตและปล่อยกรดออกมากัดกร่อนฟัน ฟันผุใต้วัสดุอุดฟันอาจจะลุกลามจนร้ายแรงก่อนที่คุณจะสังเกตเห็นหรือมีอาการปวดฟัน ซึ่งนี่คือเหตุผลว่าทำไมคุณจึงต้องไปตรวจสภาพวัสดุอุดฟันเป็นประจำและเปลี่ยนวัสดุอุดฟันใหม่หากพบปัญหา
วัสดุอุดฟันหลุดเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่
ทั้งอะมัลกัมและวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันอาจจะแตกได้ และอาจจะแตกหลังจากอุดฟันเสร็จหรือหลังผ่านไปสักระยะหนึ่ง
รอยแตกจะเกิดขึ้นทันทีหลังอุดฟันเสร็จหากอุดฟันสูงกว่าระดับผิวฟันซี่ทำให้ฟันที่อุดต้องรองรับแรงกดมากที่สุดเมื่อกัดฟัน นอกจากนี้ รอยแตกยังอาจเกิดขึ้นหลังจากอุดฟันไปแล้วระยะหนึ่งเนื่องจากแรงบดเคี้ยวและแรงกัดส่งผลกระทบต่อวัสดุอุดฟันและฟันที่ผ่านการอุด
อนึ่ง บริเวณขอบของวัสดุอุดฟันก็อาจจะเกิดรอยแตกเล็ก ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากการสึกหรอหลังผ่านไปนาน ๆ แต่มักจะแก้ไขได้
กล่าวกันว่าวัสดุอุดฟันจะรั่วเมื่อด้านข้างไม่พอดีกับฟัน ทำให้เศษอาหารและน้ำลายอาจจะเข้าไปอยู่ในช่องระหว่างวัสดุอุดฟันกับตัวฟัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุ ฟันเปลี่ยนสี และอาการเสียวฟันตามมาได้
ทั้งอะมัลกัมและวัสดุอุดฟันชนิดสีเหมือนกันอาจจะรั่ว บางครั้ง อะมัลกัมจะรั่วเล็กร้อยหลังจากอุด ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้จากอาการเสียวฟันเมื่อสัมผัสกับความเย็น แต่อาการนี้จะทุเลาลงเมื่อเวลาผ่านไปสองถึงสามสัปดาห์ และหายสนิท เพราะระหว่างนั้น อะมัลกัมจะสึกหรอตามธรรมชาติ การสึกหรอจะปิดขอบของวัสดุอุดฟันและหยุดการรั่วที่เกิดขึ้น
วัสดุอุดฟันชนิดสีเหมือนฟันอาจจะปนเปื้อนน้ำลาย ทำให้สารยึดติดระหว่างวัสดุอุดฟันกับตัวฟันอ่อนตัวลงและเกิดการรั่วขึ้น ในบางครั้ง อาจจะมีช่องว่างเล็ก ๆ ระหว่างฟันกับวัสดุอุดฟัน ซึ่งเกิดจากหดตัวตอนที่ทันตแพทย์ทำการอุดฟัน อาการเสียวฟันหลังจากอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันอาจจะหายไปเมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง แต่ถ้าไม่หาย แสดงว่าคุณจะต้องกลับไปอุดฟันใหม่อีกครั้ง
วัสดุอุดฟันรั่วอาจเกิดจากการสึกหรอหลังใช้งานมาหลายปี ในกรณีนี้ สามารถเปลี่ยนวัสดุอุดฟันใหม่ได้
ถึงแม้ว่าวัสดุอุดฟันบางชนิดจะอยู่ได้นานหลายปี อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของวัสดุอุดฟันอะมัลกัมจะอยู่ที่ประมาณ 12 ปี แต่วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันจะอยู่ได้ไม่นานขนาดนั้น
ทันตแพทย์จะตรวจสภาพของวัสดุอุดฟันเมื่อคุณไปรับการตรวจสุขภาพฟัน โดยคุณอาจจะต้องทำการเอ็กซ์เรย์หากคุณหมอคิดว่าวัสดุอุดฟันแตกหรือรั่วหรือต้องการตรวจสอบดูว่าคุณมีฟันผุใต้วัสดุอุดฟันหรือไม่ ให้คุณนัดพบทันตแพทย์ในกรณีต่อไปนี้
ไปพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดฟันเป็นประจำ แปรงฟัน ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และขัดฟันเป็นประจำทุกวัน หากคุณอุดฟันหลายซี่หรือฟันที่อุดนั้นเป็นโพรงใหญ่ ทันตแพทย์อาจจะให้เจลฟลูออไรด์มาใช้ที่บ้านด้วย เจลฟลูออไรด์จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเคลือบฟันและป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุขึ้นในอนาคต นอกจากนี้แล้ว ทันตแพทย์หรือ นักทันตสุขอนามัย ยังอาจจะทาฟลูออไรด์บนขอบฟันตอนคุณไปตรวจฟันประจำปีด้วย
คุณสามารถใช้น้ำยาบ้วนปากที่ช่วยลดความเป็นกรดในช่องปากได้เช่นกัน เพราะหากช่องปากของคุณมีความเป็นกรดน้อย ก็จะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ ทำให้ในอนาคตคุณจะมีฟันผุน้อยลง
หากวัสดุอุดฟันแตก ให้คุณลองขอเฝือกสบฟันจากทันตแพทย์ เพราะการสวมเฝือกสบฟันในตอนกลางคืน จะช่วยหยุดการบดฟันและการเค้นฟันขณะหลับได้
ก่อนจะนำวัสดุอุดฟันอันเก่าออก ทันตแพทย์จะอธิบายวิธีการรักษาให้คุณฟัง วัสดุอุดฟันอันเก่ามักจะซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพดีเหมือนเดิมได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด แต่หากต้องเปลี่ยนวัสดุอุดฟันทั้งชิ้น ทันตแพทย์อาจจะประเมินอีกครั้งว่าต้องใช้วัสดุอุดฟันแบบใด ให้คุณพูดคุยกับทันตแพทย์ว่าคุณอยากให้ฟันที่อุดออกมาเป็นแบบไหน เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถเลือกวัสดุที่เหมาะกับคุณที่สุดได้
4/8/13
© 2002- 2018 Aetna, Inc. All rights reserved.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด