เสียวฟันในเด็กหลังอุด
Badge field

สิ่งที่ลูกอาจต้องเผชิญระหว่างการอุดฟัน

Published date field

การไปหาหมอฟันถือเป็นเรื่องปกติ แต่อาจเกิดความกังวลใจเมื่อคุณหรือเด็ก ๆมีอาการเสียวฟันหลังการอุดฟัน

อาการเสียวฟันพบได้บ่อยหลังการอุดฟัน

เด็กประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์พบว่ามีโพรงในฟันตั้งแต่เมื่ออายุครบ 5 ขวบและรักษาโดยการอุดฟันน้ำนม

นอกจากที่คุณได้จำกัดการทานอาหารที่มีน้ำตาล เช่น "หมากฝรั่งเหนียวๆ" หรือ "ช็อคโกแลต" กับเด็ก ๆ แล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ อีก เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ไม่กลัวการไปหาหมอฟัน

การเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อย

การอุดฟันครั้งแรกอาจเป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลายคน แต่กับเด็ก เราควรทำให้มันง่ายมากเท่าไหร่ยิ่งดี

สร้างบทสนทนาให้ดูเป็นเรื่องบวก ไม่ใช้คำพูดที่ทำให้ลูกน้อยกลัว เช่น "เข็ม" "เครื่องเจาะ" หรือ "มีดคม"

ไว้ใจให้ทันตแพทย์เด็กซึ่งผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางในการพูดคุยกับคนไข้เด็ก ทำการอธิบายเรื่องรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆดีกว่า

เนื่องจากยาชาเป็นส่วนหนึ่งของการอุดฟัน และมีผลต่อกรดในกระเพาะอาหารรวมถึงปอด มาโยคลินิคจึงแนะนำให้งดการรับประทานอาหารมื้อใหญ่เป็นเวลาหกชั่วโมงก่อนเข้ารับการรักษา ควรให้ลูกน้อยแปรงฟันเพื่อขจัดอาหารที่เหลือก่อนการอุดฟัน

ยาชา

ยาชาเฉพาะที่อย่าง Topical Anesthesia และ Local Anesthesia มักนำมาใช้ในการอุดฟันในเด็ก

ทันตแพทย์เด็กอาจใช้ออกซิเจนไนตรัสออกไซด์ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยสงบลงและลดความรู้สึกไม่สบายตัวจากการใช้ไม้กดลิ้นแตะผนังคอ

ยาชาทั่วไปอาจใช้กับเด็กบางคนที่มีความต้องการพิเศษหรือวิตกกังวลมาก แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมเท่านั้น

ไม่ว่าในขั้นตอนใด สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ได้แนะนำให้ผู้ปกครองมีสิทธิ์ถามคำถามเกี่ยวกับการใช้ยาชาได้ในทุกระดับ:

  • ใครจะเป็นผู้ให้ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการรักษาก่อนหน้านี้ รวมถึงอาการแพ้หรือใบสั่งยาปัจจุบันก่อนเข้ารับการรักษา?
  • ผู้ประกอบวิชาชีพผ่านการฝึกอบรมและการรับรองอะไรมาบ้างและลูกน้อยของฉันจะได้รับการตรวจสอบอย่างไรระหว่างการรักษา?
  • ในกรณีที่จำเป็น มีแผนทางการแพทย์ฉุกเฉินและยาอะไรบ้าง ?

สิ่งที่อาจต้องเผชิญระหว่างการรักษา

ขั้นตอนการอุดฟันโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง

เพื่อบรรเทาความเครียด ทันตแพทย์เด็กจะแบ่งการรักษาออกเป็นหลายๆ ส่วน หากมีฟันที่ต้องอุดมากกว่าหนึ่งซี่

ในระหว่างขั้นตอนการรักษา ตามที่ Dentistry Today ได้กล่าวไว้ว่า โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะใช้เทคนิค "บอก แสดง ทำ" เพื่อให้เด็กลดความกังวล ทันตแพทย์อาจให้มีช่วงพักสั้นๆ ซึ่งเป็นวิธีลดความกังวลอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันคลินิคหลายแห่งให้บริการพร้อมเปิดภาพยนตร์และเพลง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กในระหว่างการรักษา

การดูแลหลังการรักษา

อาการเสียวฟันหลังการอุดฟันรวมถึงอาการบวมในบริเวณที่ทำการรักษาถือเป็นเรื่องปกติและพบได้บ่อยสำหรับเด็กทุกวัย เด็กที่อายุน้อยกว่าอาจพบกับอาการบวมได้มากขึ้นจากการกัดลิ้น หรือกัดริมฝีปากก่อนที่อาการชาจะหมดไป

อาการเสียวฟันและอาการบวมจะเป็นอยู่ประมาณหนึ่งถึงสองวันเป็นอย่างมาก ตามคำอ้างอิงจาก ทันแพทย์สำหรับเด็กแห่งสหรัฐอเมริกา (AAPD) การบวมอย่างต่อเนื่องอาจแสดงถึงการแพ้ยาชา

ส่วนอาการเสียวฟันอย่างต่อเนื่องอาจหมายความว่าลูกของคุณต้องการการปรับตัวในการกัด

ในทั้งสองกรณี คุณควรนัดติดตามผลกับทันตแพทย์เด็กโดยเร็ว

วิธีดูแลลูกน้อยหลังการรักษาที่ดีที่สุดคือ:

  • ติดตามอาการบวมหรืออาการเสียวฟันอย่างต่อเนื่องในช่วงสองวันแรก
  • ให้เด็กรับประทานอาหารอ่อน เป็นเวลาหนึ่งถึงสองวันจนกว่าอาการเสียวฟันและอาการบวมจะลดลง
  • จำกัดการใช้หลอดและถ้วยจิบในสองสามวันแรกเนื่องจากการดูดสามารถทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้
  • ใช้ที่ประคบเย็นในบริเวณนั้น ๆเป็นเวลา 15 นาที
  • ดูแลการให้ยาอะเซตามีโนเฟนสำหรับเด็กตามที่แพทย์กำหนด
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนักหน่วงในวันที่รับและหลังการอุดฟันและ
  • เคลือบหลุมร่องฟันเพื่อลดการเกิดฟันผุและการอุดฟันในอนาคต

การดูแลเด็กที่มีอาการเสียวฟันหลังการอุดฟันดูเหมือนเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ควรรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นทั้งในระหว่างการรรักษาและติดตามผลหลังการรักษา

ที่สำคัญ เด็กที่เติบโตมาพร้อมกับการตรวจฟันเป็นประจำมักมีกิจวัตรการดูแลฟันที่ดีได้เหมือนผู้ใหญ่

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม