หากเหงือกของคุณบวม อักเสบ หรืออ่อนนุ่มขณะแปรงฟัน อาจเป็นสัญญาณปัญหาเหงือกอักเสบ - เป็นปัญหาเหงือกที่ไม่รุนแรงสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่รอบๆ เหงือก เป็นเพราะคุณดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่ดีพอ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ปัญหาจะรุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำตามขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหาเหงือกทันที เคล็ดลับและคำแนะนำที่จะช่วยให้เหงือกกลับมามีสุขภาพที่ดี

วิธีรักษาเหงือกอักเสบ
เหงือกอักเสบคืออะไร?
เมื่อแบคทีเรียก่อตัวขึ้นรอบๆ เหงือก มันจะสร้างชั้นคราบจุลินทรีย์ที่เป็นฟิล์มนุ่มเหนียวและไม่มีสี คราบจุลินทรีย์ที่ไม่ได้กำจัดออกจะแข็งขึ้นและเปลี่ยนเป็น คราบหินปูนได้ ทั้งคราบจุลินทรีย์และคราบหินปูนทำให้เกิดปัญหาเหงือก โรคเหงือกในระยะแรกสุดจะเรียกว่าเหงือกอักเสบ จากรายงานของ วารสารงานวิจัยด้านทันตกรรม พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีในสหรัฐอเมริกา (47.1 เปอร์เซ็นต์) มีปัญหาเหงือกในบางรูปแบบ เหงือกอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาจะรุนแรงจนเป็นปริทันต์อักเสบได้ ปัญหาเหงือกในรูปแบบที่รุนแรงจะทำให้ฟันของคุณโยกหรือหลุดออกในที่สุด ต้องรีบรักษาตั้งแต่เริ่มเห็นสัญญาณเหงือกอักเสบระยะเริ่มต้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
อาการของเหงือกอักเสบเป็นอย่างไร?
วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาปัญหาเหงือกแต่เนิ่นๆ คือไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมของคุณเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เพราะคุณอาจมีปัญหาเหงือกอักเสบได้โดยที่ไม่แสดงอาการใดๆ เลย หมั่นสังเกตอาการเหล่านี้ที่เป็นจุดเริ่มของปัญหา :
- เหงือกบวม
- เหงือกแน่นเหมือนวุ้น
- เหงือกร่น:
- เหงือกกดแล้วนิ่มยวบ
- เหงือกมีเลือดออกเมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
- สีของเหงือกเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีแดง
- รับรสชาติได้ไม่ดีอย่างที่เคย
- ฟันโยก
- และมีกลิ่นปากถาวร
หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติของเหงือก รีบนัดหมายกับผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมทันที อย่ารอให้ถึงวันนัดตรวจครั้งต่อไป
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของเหงือกอักเสบ
สาเหตุสำคัญของเหงือกอักเสบคือการมีสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี การดูแลช่องปากทำให้เหงือกแข็งแรงและปลอดโรคได้ดีที่สุด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่นกัน
- การเลือกที่จะมีไลฟ์สไตล์บางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเหงือกอักเสบเช่น:
การสูบบุหรี่
มีสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี
รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
มีปัญหาโรคอ้วน
และความเครียด - อายุ
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัยด้านทันตกรรมพบว่า 64% ของผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีปัญหาปริทันต์ในระดับปานกลางหรือรุนแรง - การใช้ยา
ยาบางชนิดอาจมีผลเสียต่อสุขภาพช่องปากของคุณ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทานยา - โรคต่างๆ
ภาวะทางการแพทย์อื่นๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาเหงือกได้ เช่น:
โรคเบาหวาน
โรคกระดูกพรุน
โรคหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้เกิดโรคปริทันต์ได้
ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาเพื่อประเมินความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ของความเจ็บป่วยอื่นๆ กับปัญหาโรคเหงือก ซึ่งรวมถึงมะเร็งตับอ่อน โรคปอด และโรคไขข้ออักเสบ
วิธีป้องกันปัญหาเหงือกอักเสบ
การรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ดีเป็นวิธีที่ดีที่สุด เคล็ดลับในการดูแล:
- แปรงวันละ 2 ครั้ง
แปรงฟันเป็นกิจวัตรประจำวันและต้องใช้เทคนิคการแปรงฟันที่ถูกต้องด้วย เหงือกที่กำลังฟื้นตัวต้องการสัมผัสที่นุ่มนวล ดังนั้นคุณควรใช้แปรงสีฟันขนนุ่มและออกแรงแปรงฟันในระดับที่เหมาะสม - ทำความสะอาดซอกฟันวันละครั้ง
ใช้ไหมขัดฟันพลังน้ำทำความสะอาดฟันหรือใช้แปรงซอกฟันในการทำความสะอาดซอกฟันและใต้ขอบเหงือกเพื่อขจัดสิ่งระคายเคือง เช่น แบคทีเรียและเศษอาหารจะช่วยลดการอักเสบ - ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อการปกป้องเป็นพิเศษ
น้ำยาบ้วนปากที่มีสารต้านแบคทีเรียชนิดที่ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จะช่วยรักษาการติดเชื้อและควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากได้เช่นกัน ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมของคุณ
และอย่าลืมไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเป็นประจำ - ไม่เพียงแต่เพื่อทำให้ฟันขาวใสราวไข่มุกเท่านั้น แต่เพื่อตรวจสุขภาพเหงือกด้วย
วิธีการวินิจฉัยและรักษาปัญหาเหงือกอักเสบ
คุณอาจมีปัญหาเหงือกอยู่แต่ไม่แสดงอาการของเหงือกอักเสบ ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมสามารถวินิจฉัยได้ และหากมีอาการ ให้โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเพื่อขอคำแนะนำว่าต้องเข้ารับการตรวจทันทีหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมสามารถทำความสะอาดช่องปากได้อย่างทั่วถึง เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ที่ผิวฟันและใต้เหงือกของคุณ หากคราบจุลินทรีย์เริ่มกลายเป็นหินปูน อาจต้องใช้เทคนิคขั้นสูงที่เรียกว่า การขูดหินปูนและการเกลารากฟัน เพื่อรักษาฟันของคุณ
ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจะดูแลมากกว่าแค่การทำความสะอาดฟัน พวกเขาจะตรวจช่องปากเพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ และให้คำแนะนำที่ช่วยให้การทำความสะอาดเหงือกและฟันที่บ้านได้ง่ายขึ้น สำหรับเคสที่รุนแรงมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจะใช้อุปกรณ์ตรวจฟันเพื่อวัดช่องว่างหรือร่องลึกขอบเหงือก เพื่อดูว่าอาการกำลังไปสู่ปริทันต์อักเสบหรือไม่
มีวิธีรักษาปัญหาเหงือกอักเสบที่ทำที่บ้านได้หรือไม่?
หากคุณกำลังหาวิธีการรักษาปัญหาเหงือกอักเสบที่บ้าน อาจเคยอ่านเจอว่าขมิ้นชันและเซจมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อเหงือกของคุณ แม้ว่าจะมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์มากมายต่อสุขภาพเหงือก แต่วิธีที่ดีที่สุด คือการไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม
หากสังเกตเห็นว่าเหงือกมีอาการอ่อนนุ่ม บวม หรือมีเลือดออก ให้รีบโทรหาผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเพื่อนัดเข้าตรวจ การตรวจพบอาการเหงือกอักเสบตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้ารับการรักษา สามารถบรรเทาและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ทำให้สุขภาพเหงือกกลับคืนสู่สภาพที่ทำให้คุณยิ้มได้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม