อาการเหงือกเลือดออก เกิดจากอะไร?

เหงือกเลือดออก คือปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย มักเกิดจากการดูแลทำความสะอาดที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดคราบพลัคซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก เริ่มต้นจะเป็นฟิลม์บางๆ สะสมบริเวณฟันและร่องเหงือก โดยเราสามารถขจัดคราบพลัคได้ด้วยการแปรงฟันและขัดฟันทุกวัน แต่หากละเลยคราบพลัคที่สะสมอยู่ 2-3 วันจะเปลี่ยนสภาพเป็นหินปูนซึ่งยากต่อการขจัด โดยเฉพาะบริเวณร่องเหงือกซึ่งทำความสะอาดได้ยาก โดยคราบหินปูนจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียต่างๆ อาจทำให้เกิดโรคปริทันต์ มีอาการเหงือกบวม เหงือกร่น เหงือกอักเสบ ปวดเหงือก ปวดฟัน เสียวฟัน มีกลิ่นปาก และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเลือดออกตามไรฟันได้

นอกจากนี้ลักษะการดำเนินชีวิตบางอย่างยังเพิ่มปัจจัยเสี่ยง ให้สามารถเกิดอาการเหงือกบวม เลือดออกตามไรฟันได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เที่ยวกลางคืน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ตัวอย่างปัจจัยเสี่ยง เช่น

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้สารเสพติด
  • ภาวะภูมิต้านทานลดลงเนื่องจากปัญหาลูคีเมีย ติดเชื้อ HIV/ปัญหาเอดส์ หรือภาวะอื่น ๆ
  • การรับประทานยาบางชนิด
  • การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา
  • ขาดสารอาหาร
  • โรคเบาหวาน
  • ผู้สูงอายุ
  • ฮอร์โมนเปลี่ยน เช่นในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีรอบเดือน หรือใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน

หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบหรือไม่ จะได้รีบทำการรักษาที่จำเป็นต่อไป

ที่สุดของวิธีการดูแลช่องปากที่ดี ทำยังไงเมื่อเหงือกเลือดออก

หลายคนมักเลือกรักษาตัวเองด้วยการกินวิตามินซี และอมน้ำเกลือแก้เหงือกบวม แต่หลายครั้งมักพบว่าอาการเหล่านี้ยังเกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่หายขาด เป็นเพราะเรายังไม่ได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด การอมน้ำเกลือแก้เหงือกบวมจะช่วยแค่ระงับอาการปวดชั่วคราวและฆ่าเชื้อแบคทีเรียภายนอกหินปูนเท่านั้น หรือการกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี จะช่วยแก้ปัญหาเลือดออกตามไรฟันสำหรับผู้ที่ขาดวิตามินซี แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการเหงือกเลือดออก มักเกิดจากดูแลช่องปากไม่ดีพอ จนเกิดหินปูนสะสม ต้นเหตุของปัญหาจึงไม่ได้ถูกรักษาอย่างแท้จริง 

หากมีอาการของโรคปริทันต์ อย่างเหงือกบวม เหงือกร่น เหงือกอักเสบ ปวดเหงือก ปวดฟัน เสียวฟัน มีกลิ่นปาก เลือดออกตามไรฟัน ควรเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์ทันที โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนตามฟันและร่องเหงือกออก นอกจากนี้ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันเหงือกเลือดออกอย่างตรงจุด เช่น วิธีการความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง โดยการขัดฟัน หรือการเลือกยาสีฟันเกลือสูตรที่เหมาะสมกับปัญหาช่องปากของแต่ละคน และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากและขูดหินปูนทุก ๆ 6 – 12 เดือน

ตัดวงจรเหงือกเลือดออก ด้วยยาสีฟันคอลเกต สูตรเกลือที่คิดค้นมาโดยเฉพาะ

การเลือกยาสีฟันเกลือให้เหมาะสมกับปัญหาช่องปาก เป็นอีกวิธีการป้องกันเหงือกเลือดออกได้อย่างตรงจุด ยาสีฟัน คอลเกตเกลือมิเนอรัล 67% เป็นยาสีฟันเกลือสูตรเข้มข้นที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเกลือคิดมาเพื่อป้องกันอาการเหงือกเลือดออกโดยเฉพาะ ด้วยยาสีฟันเกลือลักษณะเนื้อทรายขาว ที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนต ช่วยปลอบประโลมปัญหาสุขภาพเหงือก ขจัดคราบพลัคซึ่งเป็นสาเหตุของหินปูน ลดและป้องกันเหงือกเลือดออกขณะแปรงฟัน นอกจากนี้ยังช่วยให้เหงือกกระชับ ฟันแข็งแรง 

โดยควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันคอลเกตเกลือมิเนอรัล 67% หลังมื้ออาหารและก่อนนอนเป็นประจำ หรืออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ให้คุณดูแลช่องปากแบบมืออาชีพด้วยตัวเองได้ทุกวัน เพื่อสุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรง

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มส่งผลต่อฟันผุในผู้ใหญ่อย่างไร

ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟลูออไรด์ในน้ำดื่มกัน อ่านข้อมูลจากคอลเกต ได้ที่นี่

ฟลูออไรด์

อะไรคือยาสีฟันผสมสแตนนัสฟลูออไรด์

ยาสีฟันผสมสแตนนัสฟลูออไรด์ช่วยดูแลช่องปากที่ดีเมื่อใช้เป็นประจำทุกวันเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี คอลเกตให้ข้อมุลเพิ่มขึ้นได้ที่นี่

ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ทำอะไรได้บ้าง?

ฟลูออไรด์สามารถปกป้องรอยยิ้มของคุณให้แข็งแรง สวยสดใสไปนาน ๆ ได้ หากคุณสงสัยว่าฟลูออไรด์ช่วยปกป้องสุขภาพในช่องปากได้อย่างไร พบคำตอบได้ที่นี่