กลิ่นปากในการเชื้อที่ลำคอและไซนัส - คอลเกต

ไซนัสอักเสบสามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้หรือไม่

คุณเริ่มรู้สึกไม่ค่อยดี แล้วก็สังเกตเห็น (หรือมีคนพูดถึง) ว่าตัวคุณเองมีกลิ่นปาก แล้วคุณรู้ไหมว่ากลิ่นปากนั้นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงไซนัสอักเสบได้ นี่เป็นเรื่องจริง และคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไซนัสระบายออกทางด้านหลังลำคอของคุณ แม้นี่จะเป็นเรื่องที่ไม่น่าสบายใจ แต่ปัญหานี้ก็สามารถรักษาได้ และหลังจากที่หายติดเชื้อ กลิ่นปากอันเนื่องมาจากสาเหตุนี้ก็จะหายไปด้วยเช่นกัน นี่คือสิ่งที่คุณควรรู้และสามารถทำได้

ไซนัสอักเสบคืออะไร

ไซนัสอักเสบจะเกิดขึ้นเมื่อมีของเหลวสะสมอยู่ในไซนัสของคุณ เชื้อแบคทีเรียเติบโต ไข้หวัด ภูมิแพ้ การสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่มือสอง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และปัญหาโครงสร้างในไซนัสล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบทั้งสิ้น โดยมีอาการ ได้แก่ น้ำมูกไหลและ/หรือคัดจมูก รู้สึกปวดหรือกดทับบริเวณใบหน้า ปวดศีรษะ มีเสมหะในลำคอ เจ็บคอ ไอ และมีกลิ่นปาก ซึ่งไซนัสอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการน้อยกว่าสี่สัปดาห์ ในขณะที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังอาจมีอาการนานกว่าสามเดือน

ไซนัสอักเสบทำให้มีกลิ่นปากได้อย่างไร

เมือกในไซนัสที่ติดเชื้อนั้นจะมีกลิ่นเหม็น เมือกที่ติดเชื้อจะไหลออกจากไซนัสลงไปที่ด้านหลังลำคอ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะสัมผัสกับอากาศที่คุณหายใจออก แล้วกลิ่นจากการติดเชื้อนั้นจะถูกส่งต่อไปยังลมหายใจของคุณ

คุณควรรักษาไซนัสอักเสบอย่างไร

ไซนัสอักเสบเฉียบพลันส่วนใหญ่มักหายได้เอง โดยอาการต่างๆ สามารถบรรเทาได้ด้วยยารักษาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (OTC) เช่น ยาแก้แพ้ ยาพ่นจมูก อะเซตามิโนเฟน และยาอมแก้เจ็บคอ เลี่ยงการใช้ยาแก้คัดจมูกเป็นเวลานานเกินสามถึงห้าวัน ดื่มน้ำ (ร้อน) ให้มากๆ รวมถึงใช้เครื่องทำความชื้น และฉีดน้ำเกลือล้างจมูกตามความจำเป็น

โรงพยาบาลพญาไทระบุว่า คุณควรทำการนัดพบแพทย์หากคุณมีอาการไซนัสอักเสบนานกว่าสิบวัน แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้ และหากคุณเป็นไซนัสอักเสบบ่อย คุณก็ควรปรึกษากับแพทย์ เขาหรือเธออาจต้องการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ

คุณจะกำจัดกลิ่นปากที่เกิดจากไซนัสอักเสบได้อย่างไร

คุณสามารถช่วยทำให้ลมหายใจของคุณมีกลิ่นที่ดีขึ้นได้โดยการแปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

หากคุณรู้สึกไม่สบาย มีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนบน และมีปัญหากลิ่นปาก ให้ไปพบแพทย์ของคุณเพื่อตรวจสอบว่าเกิดจากไซนัสอักเสบหรือไม่

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม