ยาสีฟันเด็ก
Badge field

การแปรงฟันขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก และยาสีฟันประเภทไหนที่เหมาะสำหรับลูกน้อยของคุณ

Published date field

ลูกน้อยของคุณควรแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์แล้วหรือยัง - คุณอาจจะให้ลูกน้อยใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์หรือไม่ก็ได้ แล้วจะเริ่มใช้ฟลูออไรด์เพื่อปกป้องฟันของลูกน้อยเมื่อไรดี

มีฟลูออไรด์หรือไม่มีฟลูออไรด์ดี

ฟลูออไรด์ช่วยเสริมสร้างให้ฟันแข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมกับแคลเซียมและฟอสเฟต จะช่วยทำให้แร่ธาตุกลับคืนเข้าสู่ฟันและช่วยป้องกันฟันผุ หากเด็กได้รับฟลูออไรด์เพียงเล็กน้อยจากน้ำดื่มหรือการรับประทานอาหาร แร่ธาตุเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งมีผลช่วยเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาของฟัน ทั้งนี้ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ หรือการได้รับฟลูออไรด์เสริมตามคำแนะนำของทันตแพทย์ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้ฟันไม่ผุและมีสุขภาพฟันแข็งแรง

การได้รับปริมาณฟลูออไรด์แม้เพียงเล็กน้อยจะเป็นประโยชน์ก็จริง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปในช่วงวัยเด็กก็จะทำให้เกิดจุดสีขาวหรือจุดสีน้ำตาลบนฟัน หรือที่เรียกว่าฟันตกกระ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ได้ เมื่อลูกน้อยของคุณสามารถบ้วนยาสีฟันทิ้งได้เอง ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คุณให้ลูกเริ่มใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ได้สำหรับเด็ก

การแปรงฟันให้ลูกน้อย

เมื่อคุณรู้วิธีการแปรงฟันที่เหมาะสมกับลูกน้อยในแต่ละช่วงอายุ ย่อมส่งผลให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีรอยยิ้มที่สดใส ลองปรึกษาทันตแพทย์ว่าควรจะเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เมื่อไหร่ ด้านสมาคมทันตแพทย์อเมริกันรับรองแล้วว่าการแปรงฟันลูกน้อยของคุณวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันเป็นสิ่งที่ควรทำ โดยให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มทำความสะอาดฟันทุกด้าน รวมถึงเหงือกและลิ้น

ตามปกติ ไม่ใช่เด็กทุกคนจะอดทนให้คุณแปรงฟันได้นานถึงสองนาทีเต็ม ลองร้องเพลงหรือเล่นเกมไปด้วย เพื่อให้การแปรงฟันเป็นช่วงเวลาที่สนุกและน่าตื่นเต้น เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีสีสันสดใสให้กับฟันที่กำลังขึ้นของลูกน้อย เริ่มแปรงฟันของคุณเองก่อนเพื่อสาธิตวิธีการดูแลช่องปากให้ลูกเห็นและทำตาม

ควรพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจและปรึกษาเกี่ยวกับฟลูออไรด์ ถ้าทันตแพทย์เห็นว่าลูกน้อยของคุณได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มและผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากไม่เพียงพอ ทันตแพทย์ก็จะแนะนำให้เด็กรับประทานฟลูออไรด์เสริม เป็นต้น

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม