เมื่อคุณกัดและรู้สึกเจ็บแปล๊บขึ้นมา คุณควรรอดูอาการและหวังว่าจะดีขึ้น หรือควรนัดพบทันตแพทย์?
อาการของฟันผุ เช่น เสียวฟันหรือปวดแปล๊บ บ่งบอกว่าถึงเวลาที่คุณต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน เรียนรู้อาการต่างๆ เพื่อเฝ้าระวัง พบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และคอยป้องกันฟันผุ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีสุขภาพช่องปากที่ดีและช่วยยังประหยัดเงินด้วย
ป้องกันฟันผุเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและประหยัดเงินในกระเป๋า
หากคุณไม่เคยอุดฟันมาก่อน สถิติชี้ว่าคุณมีแนวโน้มสูงที่จะต้องได้รับการอุดฟันสักวันหนึ่ง แม้ว่าฟันผุจะเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ แต่ผู้ใหญ่อายุเกิน 20 ปีอาจมีฟันผุ 9 ใน 10 คน
ฟันผุคือรู (บริเวณเล็กๆ หรือช่องใหญ่) ในฟันที่เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียและกรดที่อันตรายในช่องปาก น่าเสียดายที่ฟันเหล่านั้นมักจะเป็นฟันแท้ ฟันผุเหล่านี้มักจะไม่มีอาการในช่วงแรก คุณจึงไม่รู้สึกตัว
โชคดีที่ฟันผุรักษาได้ หากตรวจพบเร็วไม่เพียงดีต่อสุขภาพ แต่ยังดีต่อกระเป๋าสตางค์ด้วย หากทันตแพทย์ตรวจพบและรักษาฟันผุก่อนจะลุกลาม คุณสามารถหลีกเลี่ยงการรักษาที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายสูงได้
ประเภทของฟันผุ
ฟันผุมี 3 ประเภท:
- ฟันผุผิวเรียบพบบริเวณด้านข้างฟัน
- รากฟันผุพบบริเวณรากฟัน
- ผุตามหลุมร่องฟันซึ่งเกิดที่ด้านบดเคี้ยวของฟัน
ส่วนมาก มักพบฟันผุและรากผุในกลุ่มผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าฟันผุในเด็กก็ไม่น้อยเหมือนกัน
อาการแสดงของฟันผุ
แม้ว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีอาการปวดจากฟันผุได้บ้าง แต่ยังมีสิ่งอื่นที่เห็นและรู้สึกได้ซึ่งช่วยให้ทราบว่าฟันเริ่มผุแล้ว กับอาการแสดงของฟันผุที่พบบ่อย ได้แก่:
- ฟันเปลี่ยนสีเป็นสีดำ น้ำตาล หรือขาว
- รู้สึกไม่สบาย เช่น ปวดแปล๊บ เจ็บเสียว หรือปวดตื้อๆ
- ปวดเวลากัดฟันหรือเคี้ยวอาหาร
- มีรูในฟัน แม้ว่าจะไม่เปลี่ยนสีหรือไม่มีอาการเจ็บ
- เสียวฟันเมื่อสัมผัสของร้อนหรือเย็น
วิธีรักษาฟันผุและเมื่อไรต้องอุดฟัน
ก่อนที่คุณจะรู้สึกว่ามีฟันผุ คุณควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพราะผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพช่องปาก (ทันตแพทย์หรือทันตาภิบาล) จะไม่เพียงแต่ขูดหินปูนให้ แต่ยังสามารถตรวจดูปัญหาในช่องปากที่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่ฟันผุไปจนถึงการคัดกรองมะเร็งช่องปาก
หากมีฟันผุ คุณไม่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง และการปล่อยไว้มีแต่จะทำให้ผุมากขึ้น ยิ่งพบทันตแพทย์ได้เร็วเท่าไร โอกาสตรวจพบฟันผุระยะเริ่มต้นก็มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งรักษาได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ทันตแพทย์คือคู่หูของคุณในการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนั้นพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หากคิดว่ามีอาการแสดงของฟันผุ
โรงพยาบาลกรุงเทพได้อธิบายเกี่ยวกับการรักษาฟันผุว่า ทันตแพทย์อาจตรวจประเมินช่องปาก ระดับความเจ็บปวด และอาจทำการถ่ายเอ็กซเรย์เพื่อค้นหาตำแหน่งฟันผุที่ตามองไม่เห็นและยังช่วยบ่งบอกความลึกของการลุกลามจากฟันผุได้อีกด้วย ฟันผุระยะเริ่มต้นอาจแก้ไขได้ด้วยการใช้ฟลูออไรด์ อย่างไรก็ตาม การรักษาอาจซับซ้อนมากขึ้นหากรอยผุลุกลามไปมาก ทันตแพทย์อาจต้องรักษาด้วยการอุดฟัน ครอบฟัน อาจจำเป็นต้องรักษารากฟัน หรือถอนฟันหากรอยผุลึกมาก
การป้องกันไว้ก่อนและคอยเฝ้าระวังฟันผุระยะแรกเริ่ม รวมถึงการพบทันตแพทย์เป็นประจำคือวิธีดีที่สุดเพื่อไม่ให้อาการฟันผุลุกลามไปมากกว่าเดิม