อาการฟันผุ - รู้ได้อย่างไรว่าเป็นว่าฟันผุ
Badge field

ฟันผุคืออะไร

Published date field

ฟันผุเป็นโรคในช่องปากอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อย วิธีการดำเนินชีวิตในแต่ละวันมีอิทธิพลอย่างมากต่อโอกาสที่จะเกิดฟันผุ อาทิ อาหารที่เรารับประทาน เราดูแลฟันเราอย่างไร ใช้น้ำ หรือยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ผสมอยู่หรือไม่ และกรรมพันธุ์ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดฟันผุด้วย

ฟันผุมักเกิดขึ้นในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็ยังมีโอกาสเสี่ยง ชนิดของฟันผุมีหลายอย่าง ได้แก่

  • ฟันผุทั่วไป — ชนิดทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักเกิดในส่วนผิวของฟันที่ใช้เคี้ยว หรือระหว่างซอกฟัน
  • ฟันผุในราก — เมื่อมีอายุมากขึ้น เหงือกของเรามีสภาพเสี่อมลง ทำให้รากฟันปรากฎขึ้นมา และไม่มีส่วนใดมาครอบรากของฟันนั้น ส่วนที่ปรากฎออกมาจึงเกิดฟันผุได้ง่าย
  • ฟันผุซ้อนฟันผุ — ฟันผุสามารถพัฒนาขึ้นรอบๆ บรū6;เวณครอบฟันได้เพราะบริเวณนั้นมักมี แบคทีเรียสะŪ6;มอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ฟันผุในที่สุด

ผู้ใหญ่อาจเสี่ยงต่อฟันผุเพราะมีอาการปากแห้ง เนื่องจากไม่ค่อยมีน้ำลาย อาการปากแห้งนั้นมีสาเหตุมาจากอาการป่วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การรักษาด้วยการฉายแสง และการใช้เคมีบำบัด อาจเป็นการรักษาเพียงชั่วคราวหรือต่อเนื่องขึ้นอยู่กับสาเหตุ

ฟันผุเป็นเรื่องร้ายแรง ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ฟันผุจะทำลายฟันของคุณและทำลายเส้นประสาท ที่ไวต่อความรู้สึก ซึ่งอาจทำให้เกิดหนอง และอาจจะติดเชื้อไปถึงรากฟัน ถ้าเป็นฝีหนองสามารถรักษาได้จากการรักษารากฟัน การผ่าตัด หรือถอนฟัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นว่าฟันผุ
ทันตแพทย์จะเป็นผู้บอกได้ว่าฟันผุจริงหรือไม่ เพราะฟันผุระยะเริ่มต้นจะเริ่มจากด้านในของฟันซึ่งเราจะยังไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อเราทานอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลและแป้ง) ซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียด้วย แบคทีเรียก็จะได้อาหารเช่นกัน เมื่อได้อาหาร แบคทีเรียจะผลิตกรดออกมาทำลายเคลือบฟัน ในระยะแรก เคลือบฟันจะแตกโดยที่ผิวชั้นนอกยังคงไม่ได้รับความเสียหาย

ฟันผุส่วนมากเกิดจากการเป็นรูที่ด้านหลังของฟัน หรือระหว่างซอกฟัน และใกล้เหงือก แต่เมื่อ มันเกิดขึ้นมาแล้ว วิธีที่ดีที่สุด คือไปหาทันตแพทยเพื่อตรวจตามปกติ อาจให้ตรวจหาและรักษา ฟันผุก่อนที่จะร้ายแรง

เราจะป้องกันฟันผุได้อย่างไร

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งทุกวัน และใช้ไหมขัดฟัน เพื่อขจัดคราบระหว่างฟัน และเหงือก
  • ไปพบทันตแพทย์ตามกำหนด เพื่อป้องกันและหยุดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และเป็นการป้องกันปัญหาเล็กๆ ก่อนที่จะเป็นปัญหาใหญ่
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อจำกัดจำนวนแป้งและน้ำตาล เมื่อคุณทานอาหารเหล่านี้ พยายามทานในมื้ออาหารแทนที่จะกินอาหารว่างบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนครั้งที่ฟันจะผลิตกรด ที่ย่อยอาหารออกมา
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยฟลูออไรด์ รวมถึงยาสีฟัน
  • ให้มั่นใจว่าน้ำดื่มที่เด็กดื่มนั้นมีสารฟลูออไรด์ประกอบอยู่ด้วย ถ้าน้ำไม่มีสารฟลูออไรด์ ประกอบอยู่ ให้ทันตแพทย์หรือกุมารแพทย์สั่ 591;อาหารเสริมที่มีฟลูออไรด์ เพื่อให้เด็กได้รับ ฟลูออไรด์อย่างเพียงพอทุกวัน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม