ประชุมธุรกิจ
Badge field

วิธีฉุกเฉินเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน

Published date field

วิธีบรรเทาอาการปวดฟันฉุกเฉิน

บางครั้งอาการปวดฟันอาจมาแบบปัจจุบันทันด่วนโดยที่คุณไม่ได้ตั้งตัวและรบกวนการทำงานของคุณ เพราะอาการปวดดังกล่าวทำให้ไม่มีสมาธิกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ คุณควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดฟันและเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

การศัลยกรรมเพื่อลดอาการปวดฟัน

การปวดฟันแบบเฉียบพลันนั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า ฝีที่ฟัน ซึ่งเป็นอาการของถุงหนองที่เกิดขึ้นรอบ ๆ รากฟันหรืออาจเกิดขึ้นที่ด้านข้างของฟัน สมาคมทันตแพทย์รักษาคลองรากฟันให้ข้อมูลไว้ว่า อาการปวดในปากหรือที่กราม อาการปวดจากเหงือกที่บวม และอาการปวดขณะเคี้ยวอาหารนั้น อาจเป็นอาการของฟันที่มีฝีเนื่องจากการติดเชื้อ โดยทั่วไปการติดเชื้อที่ส่วนปลายของฟันต้องเข้ารับการรักษาคลองรากฟัน

ในกรณีทั่วไป วิธีรักษาง่าย ๆ คือทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อฟันส่วนที่เสียหายออกไป จากนั้นก็ทำความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้อและอุดบริเวณที่ขัดทำความสะอาดออกเรียบร้อยแล้วด้วยวัสดุที่มีสีคล้ายฟัน แต่ถ้าการรักษาคลองรากฟันมีความซับซ้อนมาก ทันตแพทย์อาจแนะนำให้คุณไปพบทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญการรักษาคลองรากฟันโดยเฉพาะ โดยทันตแพทย์จะทำความสะอาดคลองรากฟันของคุณก่อน จากนั้นก็อุดโพรงรากฟันและเตรียมฟันให้พร้อมสำหรับการครอบฟัน

ในกรณีที่ฟันของคุณถูกทำลายไปมากและไม่สามารถรักษาให้กลับสู่สภาพเดิมได้ ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์อาจใช้วิธีการถอนฟันที่ปวดทิ้ง ซึ่งกรณีนี้ หากคุณต้องการฝังรากฟันเทียมแทนฟันที่ถอนออกไป คุณก็สามารถหารือกับทันตแพทย์ได้

ยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดฟัน

ในบางกรณีคุณอาจได้รับยาปฏิชีวนะหรือได้รับยาแก้ปวดเพื่อรักษาอาการติดเชื้อรวมถึงเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันของคุณด้วย ให้ปรึกษาทันตแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยาตามร้านขายยามารับประทานเอง แม้ว่าในภาวะที่คุณปวดฟันจะทำให้ช่องปากของคุณบอบบางและอ่อนไหวต่อการถูกกระทบกระเทือน แต่คุณก็ควรยังคงรักษาสุขภาพปากของคุณให้สะอาดอยู่เสมอ แปรงฟันวันละ 2 ครั้งและใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยลดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงไม่รุนแรงต่อสภาพปากที่กำลังอ่อนแอเนื่องจากการติดเชื้อด้วย

ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันฉุกเฉินให้คุณ แต่การป้องกันถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด คุณควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำและรักษาความสะอาดของช่องปากอยู่เสมอเพื่อป้องกันการปวดฟันฉุกเฉินนี้ และเพื่อให้คุณมีสุขภาพฟันที่ดีไปตลอดชีวิตด้วย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม