รากฟันเทียมคืออะไร
Badge field

การฝังรากเทียมคืออะไร

Published date field

การฝังรากเทียมคืออะไร 
การฝังรากเทียม คือ การผ่าตัดที่นำโลหะผสมหรือโครงฝังลงในตำแหน่งของขากรรไกรภายใต้เหงือก เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว ทันตแพทย์จะนำฟันใหม่มาให้ยึดติดกับราก

รากเทียมทำงานได้อย่างไร
รากเทียมจะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกรเมื่อทั้งสองอย่างประสานกันอย่างสนิทแล้ว และจะให้เกิดการรองรับฟัน โดยฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมที่ทำงานร่วมกับรากเทียม จะไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะตอนที่พูดและรับประทาน การฝังรากเทียมนี้ ช่วยในการทำฟันปลอม การครอบฟัน และที่ยึดฟันปลอมบนรากเทียมจะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดา

สำหรับบางคน การทำฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาไม่ได้ให้ความรู้สึกสบาย อาจมีบางจุด ที่ทำให้เจ็บ นูน หรือยื่นออกมา บางครั้งอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ ยิ่งไปกว่านั้นการที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาต้องใช้ติดกับฟัน หรือช่องว่างของฟันที่เหลือจากฟันที่หายไป ประโยชน์ของการทำรากเทียมก็คือไม่ต้องกรอฟันเพื่อที่จะเตรียม แนบสะพานฟันให้ติดกับฟัน แต่เจาะลึกลงไปในฟันที่จะแทนที่เลย

การเตรียมตัวสำหรับการฝังราก ต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน และต้องยอมรับที่จะรักษาสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ การดูแลความสะอาดของช่องปากอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพย์ตามระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้การฝังรากฟันมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

โดยปกติการฝังรากเทียมจะมีราคาแพงหากเปรียบเทียบจากวิธีการเปลี่ยนฟันในแบบอื่นๆ และบริษัทประกันส่วนใหญ่ได้ให้วงเงินในการคุ้มครองน้อยกว่าร้อยละสิบของค่ารักษา

สมาคมทันตกรรมแห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้ตระนักถึงสองวิธีในการฝังรากฟันอย่างประหยัดคือ

  • การผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียม — เป็นการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมไปในขากรรไกรโดยตรง และเมื่อเนื้อเยื่อบริเวณรอบเหงือกได้เยียวยาจนหายจึงผ่าตัดครังที่สองเพื่อเชื่อมรากฟันเทียมกับ รากฟันจริง และในที่สุดฟันปลอมก็จะนำมาติดทีหลังแบบแยกต่างหาก หรือรวมกับสะพานฟัน หรือฟันปลอม
  • การหลอมเนื้อโลหะให้เป็นโครงแล้วนำมา ติดบนขากรรไกรใต้เนื้อเยื่อของเหงือก — เป็นการหลอมเนื้อโลหะให้เป็นโครงแล้วนำมาติด บนขากรรไกรใต้เนื้อเยื่อของเหงือก เมื่อเหงือกได้รักษาเยีวยาจนหายโครงนั้นจะติดสนิทอยู่กับ ขากรรไกร หลังจากนั้นให้ติดโครงส่วนที่ยื่นออกมาจากเหงือกให้เข้ากับฟันปลอมเหมือนวิธีของ Endosteal implants

การรักษารากฟันจะอยู่ได้นานเท่าไร
โดยปกติแล้วการฝังรากฟันจะอยู่ได้ 10 – 20 ปี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรากฟัน และหากผู้ป่วยดูแลสุขภาพ ช่องปากเป็นอย่างดี และไปพบทันตแพทย์ตามกำหนด เพราะฟันกรามนั้นอาจได้รับการกระทบกระเทือน และฉีกขาด การฝังรากเทียมธรรมดานั้นไม่สามารถอยู่ได้นานมากถ้าอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของปาก

ฝังตัวยึดไว้ใต้เหงือก ยึดฟันปลอมที่ทำขึ้นมาไว้กับตัวยึดที่ฝังเอาไว้ก่อน
ฝังตัวยึดไว้ใต้เหงือก ยึดฟันปลอมที่ทำขึ้นมาไว้กับตัวยึดที่ฝังเอาไว้ก่อนหน้านี้ เชื่อมติดกันให้แน่น
ที่ยึดฟันปลอมช่วยให้ฟันปลอมนั้นยึดติดกับเหงือก ที่ยึดฟันปลอมนี้เป็นรากฟันช่วยยึดฟันปลอมแต่ละซี่
ที่ยึดฟันปลอมจะช่วยให้ฟันปลอมนั้นยึดติดกับเหงือกให้แน่น ไม่หลุดเลื่อน ที่ยึดฟันปลอมนี้จะทำหน้าที่เหมือนเป็นรากฟันช่วยยึดฟันปลอมแต่ละซี่

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม