ฟันปลอมแบบทั้งปาก

คือฟันปลอมที่นำมาแทนที่ฟันทั้งชุด ทันตแพทย์จะใช้ฟันปลอมแบบนี้ทดแทนฟันของคุณที่ขากรรไกรบน ใช้ฐานฟันปลอมแบบอะคริลิกที่มีสีเหมือนเนื้อแล้วครอบบริเวณเหงือกและเพดานปากของคุณ เพื่อให้ฟันปลอมสามารถติดอยู่บนฐานได้อย่างแน่นหนา ฟันปลอมแบบทั้งปากสำหรับฟันล่างก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่จะมีการปรับฐานอะคริลิกให้เป็นทรงเกือกม้าเพื่อไม่ให้ฐานครอบไปที่ลิ้น
ขั้นตอนก่อนทำฟันปลอมแบบทั้งปาก ทันตแพทย์จะถอนฟันที่เหลืออยู่ในปากออกก่อน กระดูกขากรรไกรจะตอบสนองต่อกระบวนการนี้อย่างช้า ๆ และค่อย ๆ ปรับรูปร่างตามเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อให้ใส่ฟันปลอมได้พอดี ทันตแพทย์อาจรอเวลาหลายเดือนก่อนที่จะวัดช่องปากและสั่งทำชุดฟันปลอม และในระหว่างรอนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีฟันอยู่ในปาก ดังนั้น ทันตแพทย์จะวัดช่องปากก่อนที่จะถอนฟันออกและใส่ฟันปลอมแบบชั่วคราวให้คุณไปก่อนเพื่อให้รู้สึกสบายใจในระหว่างรอ จากนั้นทันตแพทย์จะจัดแนวฟันปลอมแบบชั่วคราวนี้อีกครั้งเพื่อให้พอดีกับกระดูกขากรรไกรที่เปลี่ยนรูปไป

ฟันปลอมแบบบางส่วน

ในกรณีที่คุณสูญเสียฟันบางซี่ไป การใช้ฟันปลอมแบบบางส่วนช่วยปกปิดช่องฟันที่หลอนี้ได้ การใส่ฟันปลอมบางส่วนโดยติดกับฟันแท้ทำได้หลายวิธี และวิธีที่ใช้บ่อยที่สุดคือการใช้ตะขอโลหะจับกับฟันแท้ อีกทางเลือกหนึ่งที่พบบ่อยคือการใส่ฟันปลอมบางส่วนกับตัวยึดเพื่อไม่ให้ฟันเคลื่อนและสวยงามกว่าแบบตะขอโลหะ อีกวิธีคือการติดฟันปลอมบางส่วนเข้ากับครอบฟันบนของฟันแท้พร้อมกับตัวยึด


ฟันปลอมแบบติดแน่น

ฟันปลอมแบบนี้จะติดแน่นกับวัสดุที่ฝังยึดเข้ากับกระดูกขากรรไกร ทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดศัลยกรรมฝังวัสดุปลูกฝังไปที่เหงือกเพื่อช่วยให้ฟันปลอมติดแน่นอยู่กับที่ ข้อดีของฟันปลอมแบบติดแน่นนี้คือมีความมั่นคงกว่าฟันปลอมประเภทอื่น โดยเฉพาะเมื่อติดที่ขากรรไกรล่าง


ฟันปลอมแบบติดแน่นมีลักษณะเป็นแบบแท่งหรือแบบทรงกลม แบบแท่งจะเป็นแท่งโลหะบาง ๆ ที่ยึดกับวัสดุปลูกฝัง 2 – 5 ชิ้นเข้ากับกระดูกขากรรไกร โดยมีอุปกรณ์ช่วยยึดฟันปลอมเข้ากับแท่งนี้ ส่วนฟันปลอมแบบทรงกลมหรือเรียกอีกชื่อ ฟันปลอมแบบหมุด ประกอบด้วยเบ้าฟันที่ติดพอดีกับตัวต่อลักษณะทรงกลมบนวัสดุปลูกฝัง หรือบางครั้งตัวต่อเหล่านี้จะเป็นในลักษณะเสียบเข้าไปในเบ้าฟันภายในวัสดุปลูกฝัง

ผู้ที่ต้องการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่นนี้จำเป็นต้องมีเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกขากรรไกรที่เพียงพอ แม้ว่ากระดูกขากรรไกรสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ในระดับหนึ่งหากจำเป็น แต่การมีกระดูกขากรรไกรที่เพียงพอยังถือเป็นปัจจัยสำคัญในการใส่ฟันปลอมประเภทนี้

การดูแลฟันปลอม

ฟันปลอมทุกประเภทต้องได้รับการดูแลและทำความสะอาดอย่างดีเหมือนฟันแท้ของคุณ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากในอนาคตและเป็นการยืดอายุของฟันปลอม วิธีทำความสะอาดคือ ให้ถอดฟันปลอมออก (สำหรับแบบที่ถอดได้) และทำความสะอาดฟันปลอมทุกวัน จากนั้นให้แปรงลิ้น เหงือก และเพดานปากของคุณให้สะอาด หรือใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อเสริมให้ลมหายใจสะอาดสดชื่น


ถึงแม้ว่าคุณอาจต้องสูญเสียฟันด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเคี้ยวอาหารหรือขาดความมั่นใจในรอยยิ้มของคุณ เพราะมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาด้วยฟันปลอมที่หลากหลายรูปแบบ ลองปรึกษาทันตแพทย์ดูว่าฟันปลอมแบบไหนถึงจะเหมาะกับคุณ และเมื่อใส่ฟันปลอมแล้ว แนะนำให้รักษาความสะอาดช่องปากและฟันปลอมให้ดีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ใช้ฟันปลอมนั้นได้อย่างมั่นใจไปตลอด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหงือกร่นสามารถงอกใหม่ได้หรือไม่?

ปัญหาสุขภาพเหงือก

เหงือกร่นสามารถงอกใหม่ได้หรือไม่?

เหงือกร่นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การแปรงฟันที่แรงเกินไปไปจนถึงการบดฟันของคุณ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เหงือกร่นและวิธีการรักษาได้ที่นี่

ลดคราบแบคทีเรียและป้องกันเหงือกอักเสบ ด้วยยาสีฟันรักษาโรคเหงือก

ปัญหาสุขภาพเหงือก

ลดคราบแบคทีเรียและป้องกันเหงือกอักเสบ ด้วยยาสีฟันรักษาโรคเหงือก

ดูแลสุขภาพเหงือกด้วยยาสีฟันรักษาเหงือกที่ช่วยลดการสะสมของคราบแบคทีเรีย ป้องกันเหงือกอักเสบ พร้อมคำแนะนำการดูแลช่องปากอย่างครบถ้วนจากคอลเกต!

สาเหตุและอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ พร้อมวิธีป้องกันและรักษาก่อนพบแพทย์

ปัญหาสุขภาพเหงือก

สาเหตุและอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ พร้อมวิธีป้องกันและรักษาก่อนพบแพทย์

ทำความเข้าใจอาการเหงือกบวมและเหงือกอักเสบ รวมถึงสาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น การแปรงฟันแรง พร้อมวิธีป้องกันและรักษาเพื่อสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่