คุณได้สังเกตไหมว่าฟันหน้าของลูกดูเบียดกัน รู้สึกกังวลเกี่ยวกับนิสัยการดูดนิ้วโป้งของลูกก่อนวัยเรียนหรือเปล่า กังวลไหม หากลูกน้อยของคุณมีฟันล่างยื่น เมื่อพิจารณาถึงรอยยิ้มของลูกแล้ว ควรพาเขาไปจัดฟันตอนอายุเท่าไหร่ดีล่ะ การจัดฟันในเด็กสามารถทำให้เกิดคำถามขึ้นมามากมาย แต่หากยังสงสัยว่าลูกของคุณจะต้องจัดฟันหรือไม่ล่ะก็ เรามาเรียนรู้กันว่าจะต้องนัดพบทันตแพทย์จัดฟันครั้งแรกเมื่อไร รวมถึงสิ่งที่คุณอาจต้องเผชิญ
ควรจัดฟันตอนอายุเท่าไหร่?
เครื่องมือจัดฟันทำอะไรบ้าง
การจัดฟันสามารถแก้ปัญหาช่องปากได้หลายอย่าง ซึ่งได้แก่ ฟันคุด ฟันขาดหรือเกิน ระยะห่างของฟัน และการกัดที่ผิดปกติ ปัญหาในการจัดฟัน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าการสบฟันผิดปกติ ซึ่งการสบฟันนั้นหมายถึงการที่ฟันบนและฟันล่างของคุณลงรอยกัน หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการกัด หากมีการสบฟันที่ปกติ ฟันบนของคุณจะอยู่เหนือฟันล่างของคุณพอดีเล็กน้อย และฟันกรามแต่ละซี่จะลงรอยกับร่องของฟันกรามที่อยู่ตรงข้าม ดังนั้น การสบฟันผิดปกติหมายความว่า การกัดของคุณนั้นผิดปกติไปด้วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรม เช่น การจัดฟัน เพื่อทำการแก้ไข แล้วถ้าคุณยังปล่อยเอาไว้ การสบฟันผิดปกตินี้ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง ได้แก่ เคลือบฟันที่สึกกร่อน ฟันผุ และปัญหาในการเคี้ยวและการพูด
ควรไปพบทันตแพทย์จัดฟันครั้งแรกเมื่อใด
แนะนำให้จัดตารางนัดพบทันตแพทย์จัดฟันครั้งแรก เมื่อเด็กมีอายุได้ 7 ขวบ หรือเมื่อพบสัญญาณของการสบฟันผิดปกติที่มองเห็นได้ครั้งแรก แม้ว่าฟันและขากรรไกรของลูกคุณยังคงพัฒนาอยู่ในวัยนี้ ซึ่งอาจก่อเกิดปัญหาในการจัดฟันบางอย่าง เช่น ฟันล่างยื่นหรือฟันซ้อนกัน แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ง่ายต่อการแก้ไข ถึงอย่างนั้น ปัญหาในการจัดฟันหลายอย่างก็ควรได้รับการรักษาหลังจากที่ฟันแท้ขึ้นมาครบแล้ว การนัดหมายล่วงหน้านั้น จะช่วยยืนยันได้ว่าลูกของคุณไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หรืออาจต้องได้รับการรักษาในอนาคตได้ และหากต้องการความช่วยเหลือในการกำหนดตารางนัดหมาย โปรดปรึกษาทันตแพทย์ของลูกคุณได้เลย พวกเขาสามารถตรวจสอบช่องปากของบุตรหลานของคุณ หรือแม้แต่แนะนำทันตแพทย์จัดฟันให้กับคุณได้อีกด้วย
การเรียงตัวผิดปกติแบบใดที่คุณควรสังเกตุ
คอยตื่นตัวเกี่ยวกับความจำเป็นในการจัดฟันของลูกคุณ โดยการเฝ้าสังเกตฟันที่เรียงตัวผิดปกติของพวกเขา การเรียงตัวผิดปกตินั้นเป็นเรื่องปกติ และมักเกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งคุณสามารถดูการเรียงตัวผิดปกติทั้งสามประเภทได้ดังนี้
- ประเภทที่ 1: มีการกัดเป็นปกติ แต่ฟันบนแทบไม่ได้ยื่นออกมาครอบฟันล่างเลย
- ประเภทที่ 2: ฟันบนยื่นออกมาครอบฟันล่างและขากรรไกรอย่างมาก หรือที่เรียกว่า ฟันบนยื่น
- ประเภทที่ 3: ฟันล่างยื่นออกมาเกยฟันบนและขากรรไกร หรือที่เรียกว่า ฟันล่างยื่น
หากลูกของคุณมีปัญหาในการกัดหรือเคี้ยว ปัญหาในการพูด (รวมถึงพูดไม่ชัด) หรือมีแนวโน้มที่จะหายใจทางปาก พวกเขาอาจจะมีการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติก็เป็นได้ ซึ่งทันตแพทย์หรือทันตแพทย์จัดฟันของลูกคุณ จะสามารถประเมินสถานการณ์ และช่วยกำหนดทิศทางเลือกในการรักษาได้
วิธีช่วยให้ลูกปรับตัวให้เคยชินกับเครื่องมือจัดฟัน
เครื่องมือจัดฟันสามารถกระตุ้นอารมณ์ได้หลากหลาย ถึงอย่างนั้น เหล่าพ่อแม่และผู้ดูแลก็สามารถช่วยพวกเขาได้โดยการให้กำลังใจ และเตรียมลูกให้พร้อมทุกย่างก้าว ตั้งแต่ การพบทันตแพทย์จัดฟันในเด็กครั้งแรกไปจนถึงการนัดถอดเครื่องมือครั้งสุดท้าย เพื่อเตรียมลูกของคุณสู่ความสำเร็จในการจัดฟันด้วยเคล็ดลับเหล่านี้
- ทำให้พวกเขาตื่นเต้น แม้ว่าลูกของคุณจะรู้สึกกลัวอุปกรณ์เสริมในปากอันใหม่นี้เล็กน้อย แต่คุณก็หาอะไรบางอย่างที่ทำให้พวกเขาตื่นเต้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการระดมความคิดว่าจะเลือกยางสีอะไร หรือทำให้พวกเขานึกได้ว่าคลินิกทันตกรรมจัดฟันนั้นมีวิดีโอเกมสุดโปรดของพวกเขาอยู่ โดยหาอะไรก็ได้ที่พวกเขาตั้งหน้าตั้งตารอ และถ้ายังหาไม่เจออีก ก็สร้างมันขึ้นมาเลย! นี่รวมถึงการไปรับพวกเขาออกจากโรงเรียนก่อนเวลานิดหน่อยเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน หรือของว่างมื้อพิเศษด้วยกันก่อนการนัดหมาย (แล้วอย่าลืมนำแปรงสีฟันมาด้วยล่ะ!)
- สอนสุขอนามัยที่เหมาะสม ช่วยลูกของคุณ ปกป้องรอยยิ้มสดใสสุขภาพดีของพวกเขา ขณะสวมใส่เครื่องมือจัดฟันด้วยการเตรียมการเพียงเล็กน้อย สอนให้พวกเขารู้ว่าอาหารชนิดใดที่อาจเป็นอันตรายต่อเครื่องมือใหม่ แสดงให้พวกเขาเห็นวิธีการแปรงฟันด้านในและรอบๆ เหล็กดัดฟันและลวด รวมถึงซื้อไหมขัดฟันแบบพิเศษ หรือไหมขัดฟันพลังน้ำเพื่อช่วยทำความสะอาดซอกฟัน
- เตรียมพวกเขาให้พร้อมรับความเจ็บปวดใดๆ เครื่องมือจัดฟันอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ ดังนั้นจงซื่อสัตย์กับลูกของคุณโดยไม่ทำให้พวกเขากลัว หากลูกของคุณได้รับการจัดฟัน พวกเขาอาจรู้สึกปวด และไม่สบายตัวหลังการปรับแต่ง ให้จัดการกับความเจ็บปวดด้วยการทานยาแก้ปวดที่ซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป และซื้อขี้ผึ้งพิเศษเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เหงือก และแก้มระคายเคืองหรือโดนทิ่มแทงจากเครื่องมือจัดฟันหรือลวด
- เพิ่มความมั่นใจให้กับพวกเขา หากคุณมีลูกที่โตแล้ว เครื่องมือจัดฟันอาจทำให้รู้สึกอึดอัด หรือแม้แต่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจได้ คอยสื่อสารกับลูก เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่ถูกรังแกที่โรงเรียน รวมถึงชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือจัดฟันนั้นธรรมดาแค่ไหน หรือมีเพื่อนกี่คนบ้างที่ใส่เครื่องมือจัดฟัน สุดท้าย ย้ำเตือนพวกเขาถึงเป้าหมายสุดท้าย และรอยยิ้มสดใสสุขภาพดีจะทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจไปตลอดชีวิต ซึ่งแน่นอนว่าคุ้มค่ากับการจัดฟันสักปีหรือสองปีอยู่แล้ว
ใครที่จะต้องจัดฟัน
แม้ว่าลูกของคุณ (หรือตัวคุณเอง) จะอายุเลย 7 ปีมานานแล้ว แต่นั่นยังก็ไม่สายเกินไปที่จะนัดพบทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งก็มีวัยรุ่นและผู้ใหญ่จำนวนมากที่ได้พัฒนารอยยิ้มของพวกเขาเป็นรางวัลจากการแก้ไขปัญหาการสบฟัน นี่จะช่วยจัดการกับปัญหาฟันคุดหรือฟันซ้อน ซึ่งช่วยให้แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้ง่ายขึ้น ลดคราบจุลินทรีย์ รวมถึงความเสี่ยงของการเกิดฟันผุและปัญหาเรื่องเหงือก นอกจากนี้ การยิ้มออกมาอย่างเปิดเผยยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณได้อีกด้วยนะ แม้ว่าอายุที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดฟันอาจเป็นช่วงวัยเด็กที่ฟันกำลังพัฒนาอยู่ แต่คุณก็ยังคงสามารถคว้ารอยยิ้มสดใสสุขภาพดีมาได้ในทุกช่วงวัยนะ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม