ฟันน้ำนมซี่แรกของลูกน้อย
Badge field

ฟันน้ำนมซี่แรกของลูกน้อย

Published date field

เริ่มสังเกตเห็นจุดสีขาวที่อาจเป็นฟันน้ำนมซี่แรกของลูกน้อยหรือยัง? ระหว่างช่วงอายุ 4 ถึง 6 เดือน ลูกน้อยกำลังเริ่มมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมา ดูเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้น แต่บางครั้งก็ทำให้ลูกน้อยรู้สึกกไม่สบายตัว บทความนี้ได้รวบรวมเคล็ดลับและข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการดูแลและการงอกของฟันน้ำนมสำหรับลูกน้อย

ฟันน้ำนมซี่แรกของทารก

แม้ว่าในช่องปากของลูกขณะนี้จะยังเป็นเหงือกทั้งหมด แต่ควรเริ่มวางแผนการดูแลฟันที่ดีได้แล้ว ในเวลาอาบน้ำ ลองพันนิ้วของคุณด้วยผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซแล้วถูบริเวณเหงือกของเด็กเบาๆ เพื่อกระตุ้นเหงือกและเป็นการสร้างนิสัยในการทำความสะอาดช่องปากที่ดีทุกวัน สังเกตุว่าลูกน้อยเริ่มมีน้ำลายไหลและกัดเคี้ยวทุกสิ่งที่พบเห็น หมั่นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดคางเพื่อป้องกันการระคายเคืองหรือผื่นขึ้น หรือให้ลูกสวมผ้ากันเปื้อนเพื่อช่วยไม่ให้เสื้อผ้าของลูกเปียก และอีกไม่นาน ฟันคู่หน้าล่างของลูกจะเริ่มงอกให้เห็นแล้วล่ะ ฟันน้ำนมส่วนใหญ่ขึ้นทีละคู่ เริ่มจากคู่หน้าล่างก่อน ตามมาด้วยคู่หน้าบน

วิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดช่วงที่ฟันกำลังขึ้น

สัญญาณที่บ่งบอกว่าฟันน้ำนมกำลังขึ้น ดูได้จากพฤติกรรมของลูก เช่น งอแงหรือนอนไม่หลับ การงอกของฟันน้ำนมใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี การขึ้นของฟันซี่แรกจะมีอาการมากที่สุด สันนิฐานว่า หลังจากการงอกของฟันน้ำนมซี่แรกแล้ว เด็กเริ่มเกิดความชินและไม่รู้สึกกับฟันน้ำนมขึ้นในซี่ต่อ ๆ ไป เท่าไหร่ เมื่อสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมาใหม่ๆ และทำท่าอยากเคี้ยวสิ่งต่าง ๆ พ่อแม่ควรหาวัสดุที่ปลอดภัยให้กับลูก ยางกัดแช่เย็นช่วยให้ลูกรู้สึกดีและความเย็นมีผลทำให้ชา จึงช่วยลดความเจ็บปวดได้ หรือใช้ผ้าขนหนูแช่เย็นถูเหงือกก็ได้

ถ้าลองวิธีการเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล หรือลูกเริ่มมีไข้เล็กน้อย ให้ปรึกษากับกุมารแพทย์เกี่ยวกับการให้ยา acetaminophen หรือ ibuprofen สำหรับทารกก่อน

อาหารของเด็กทารกเมื่อฟันน้ำนมเริ่มงอก

ทารกควรได้รับอาหารที่เหมาะสมกับวัย แม้ในช่วงที่ฟันน้ำนมเริ่มงอกขึ้นมาก็ตาม ช่วงวัยนี้ ทารกส่วนใหญ่จะได้รับนมผสมธัญพืชเล็กน้อย แอปเปิ้ลซอสที่ไม่หวาน โยเกิร์ตหรืออาหารที่เตรียมไว้สำหรับเด็กทารกโดยเฉพาะ แล้วค่อยตามด้วยอาหารที่มีลักษณะแข็งขึ้นภายหลัง เมื่อฟันน้ำนมลูกเริ่มขึ้น เขาก็อยากทดลองทานอาหารแข็งหรืออาหารที่มีพื้นผิวสัมผัสใหม่ๆ เริ่มป้อนอาหารอ่อนๆ เช่น มันฝรั่งบดไม่ใส่เกลือ กล้วย ข้าวโอ๊ต มักกะโรนีและผักที่ปรุงสุกอย่างดี (แคร์รอต ถั่วลันเตา และมันเทศ) สำหรับโปรตีนให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้พวกเขาหยิบขึ้นมาทานได้ด้วยตัวเอง เช่น ไก่ ไข่ลวกชิ้นเล็กๆ และเนื้อหมูชุ่มฉ่ำ เลือกอาหารให้ทารกอย่างระมัดระวัง เป็นอาหารที่หยิบจับง่ายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากการสำลัก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม