ฟันน้ำนมจะขึ้นของทารก สัญญาณ และการดูแลรักษา - คอลเกต

ทราบได้อย่างไรว่าฟันลูกน้อยกำลังขึ้น?

หากคุณเป็นพ่อแม่มือใหม่ คุณคงกำลังสงสัยว่า "ฟันลูกน้อยจะขึ้นเมื่อไหร่?" นี่เป็นคำถามที่ดีและการเตรียมตัวสำหรับช่วงเวลาดังกล่าวเป็นวิธีดีที่สุดเมื่อลูกน้อยฟันขึ้น เรียนรู้การการงอกของฟัน สัญญาณบ่งบอกและอาการแสดงที่ควรระวัง การรับมือ และวิธีดีที่สุดในการดูแลฟันของลูกน้อยที่กำลังขึ้น

ฟันขึ้นคืออะไรและจะเกิดขึ้นเมื่อใด

ฟันขึ้นหมายถึงตอนที่ฟันซี่แรกโผล่พ้นเหงือกของลูกน้อย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ทั้งของลูกและพ่อแม่ ทันตแพทย์สมาคมแห่งอเมริกา ให้ข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับตำแหน่งและชื่อเรียกของฟันที่กำลังจะขึ้นแต่ละซี่ แต่ก็ไม่ต้องกังวล หากฟันของลูกน้อยขึ้นเร็วกว่าปกติ สิ่งสำคัญคือการพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนหลังจากฟันซี่แรกขึ้น

นี่คือแต่ละช่วงเวลาของฟันน้ำนม:

  • ช่วงก่อนคลอด:เด็กในครรภ์จะมีหน่อฟันอยู่ใต้เหงือกทั้งหมด 20 ซี่
  • เมื่อทารกอายุ 6 เดือน: ฟันจะเริ่มขึ้น
  • ช่วงขวบแรก: ฟันซี่แรกขึ้นในช่องปาก ส่วนใหญ่คือฟันหน้าล่าง 2 ซี่หรือที่เรียกกันว่า ฟันหน้าซี่กลาง ถัดมา คือฟันหน้าบน 4 ซี่ หรือฟันซี่กลางและซี่ด้านข้าง
  • เมื่ออายุ 13-14 เดือน: ฟันกรามซี่ที่ 1 ขึ้นทั้งบนและล่าง
  • เมื่ออายุ 16-17 เดือน: ฟันเขี้ยวบนและล่างขึ้น
  • เมื่ออายุ 23-25 เดือน: ฟันกรามซี่ที่ 2 ขึ้นทั้้งบนและล่าง
  • เมื่ออายุ 3 ขวบ: ลูกน้อยจะมีฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่

สัญญาณบ่งบอกว่าฟันกำลังขึ้น

อาการแสดงว่าฟันกำลังขึ้นนั้นแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ดังนั้น คุณจะทราบได้อย่างไรว่าฟันลูกน้อยกำลังขึ้น เด็กบางคนอาจไม่มีอาการ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการปวดและเจ็บนานหลายสัปดาห์ เด็กน้อยอาจมีมากกว่า 1 อาการ ที่แสดงว่าฟันกำลังขึ้น:

  • ถูนวดเหงือก เด็กน้อยส่วนใหญ่ชอบนำสิ่งของเข้าปาก แต่เมื่อฟันกำลังขึ้นมักเอาสิ่งของถูนวดเหงือก
  • น้ำลายไหล เด็กบางคนน้ำลายไหลมากขณะฟันกำลังขึ้นทำให้เสื้อผ้าเปียก ความชื้นอาจทำให้เกิดผื่นแดงบริเวณแก้ม 2 ข้างและคาง เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบายขึ้น คอยเช็ดคางเบาๆ และเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปียกระหว่างวัน
  • ฉุนเฉียว หากลูกน้อยมีอารมณ์ฉุนเฉียว อาจเป็นเพราะฟันกำลังขึ้นจากเหงือกอย่างแข็งแรง
  • นอนไม่หลับ ถ้าก่อนหน้านี้ลูกน้อยหลับสนิทตลอดคืนแต่เริ่มตื่นกลางดึกหรือไม่ยอมนอนกลางวัน อาจเป็นสัญญาณว่าฟันกำลังขึ้น
  • เบื่ออาหาร หากลูกน้อยไม่ยอมรับประทานอาหาร นั่นอาจแสดงว่าฟันกำลังขึ้น เนื่องจากอาหารอาจไปทำให้ระคายเคืองเจ็บเหงือกได้ หากคุณกังวลว่าลูกน้อยรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ลองปรึกษากับกุมารแพทย์

ถ้าคุณสังเกตว่าลูกน้อยมีอาการมากกว่า 2 อย่าง แสดงว่าฟันกำลังขึ้น ขณะที่ฟันขึ้นอาจทำให้ลูกน้อยมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย แต่อาการไข้ไม่ใช่สิ่งที่พบบ่อย อาการท้องเสียก็เช่นกัน คุณควรพาลูกน้อยไปพบกุมารแพทย์ หากลูกมีไข้หรือท้องเสียเพราะอาจเป็นอาการของปัญหาสุขภาพอื่นๆ

วิธีการรับมือฟันที่กำลังขึ้น

ข่าวดีคือมีทางเลือกมากมายสำหรับการรับมือฟันที่กำลังขึ้น ซื้อยาแก้ปวดที่หาได้ตามร้านขายยา เช่น ibuprofen หรือ acetaminophen สามารถช่วยลดอาการปวดได้ แต่ต้องปรึกษากุมารแพทย์ของคุณก่อนให้ลูกรับประทานยาแก้ปวด กุมารแพทย์สามารถให้คำแนะนำที่เจาะจงและปริมาณยาที่ต้องรับประทาน

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีเพื่อให้ลูกน้อยที่ฟันกำลังขึ้นรู้สึกดีขึ้น เช่น แช่เย็นห่วงยางที่ลูกกัดหรือใช้นิ้วสะอาดกดนวดเหงือก การใช้น้ำอุ่นเช็ดนวดเบาๆ ก็อาจช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายขึ้น

สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือ ยาชาชนิดป้ายมีส่วนประกอบของ benzocaine (คล้ายกับยาชาเจลที่ทันตแพทย์เลือกใช้) ก็สามารถใช้ได้ อย่างไรก็ตาม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ชี้แจงว่าอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา benzocaine ในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 2 ปี ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรลองหาทางเลือกอื่นๆ และแน่นอนว่า ควรปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางเด็กหรือกุมารแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากฟันกำลังขึ้น

การดูแลฟันน้ำนมที่ขึ้นใหม่

ทันตแพทย์แนะนำให้เช็ดทำความสะอาดช่องปากลูกน้อยด้วยผ้าสะอาดก่อนฟันซี่แรกจะขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสีฟันเพื่อกำจัดแบคทีเรียในช่วงวัยนี้ ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ในการดูแลฟันของลูกน้อย:

  • แปรงฟันให้ทารกด้วยน้ำเปล่า
  • เมื่อฟันลูกน้อยเริ่มขึ้นชิดกัน ให้เริ่มใช้ไหมขัดฟัน
  • ประมาณ 2 ขวบ ค่อยๆ เริ่มแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นประจำ คุณสามารถเริ่มสอนลูกให้บ้วนทิ้งขณะแปรงฟัน

การพบทันตแพทย์ในครั้งแรก ทันตแพทย์จะแนะนำขั้นตอนการดูแลฟันและเหงือกลูกน้อยให้คุณโดยละเอียด ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นเรื่องดีที่จะปรึกษาเรื่องฟลูออไรด์ด้วย

ตอนนี้คุณก็ทราบเกี่ยวกับฟันลูกน้อยที่กำลังขึ้นและอาการต่างๆ ที่ต้องระวัง อย่างการถูนวดเหงือก อารมณ์ฉุนเฉียว การนอนไม่หลับและไม่อยากอาหาร อาการแสดงเหล่านี้อาจหมายถึงสิ่งอื่น แต่หากมีอาการมากกว่า 2 อย่างก็มีแนวโน้มที่จะหมายถึงฟันกำลังขึ้น จำไว้ว่า อาการไข้และท้องเสียไม่ใช่อาการปกติที่ฟันกำลังขึ้น อย่าลืมปรึกษากุมารแพทย์ เมื่อลูกน้อยมีอาการแบบนี้ มีวิธีการมากมายเพื่อช่วยให้ลูกน้อยที่ฟันกำลังขึ้นรู้สึกดีขึ้น เช่น แช่เย็นห่วงยางที่ลูกกัดหรือรับประทานยาแก้ปวดที่ซื้อได้จากร้ายขายยาทั่วไป ดังนั้นหากฟันลูกน้อยกำลังขึ้น คุณก็พร้อมรับมือให้ลูกน้อยสบายตัวขึ้นแล้ว

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม