ยิ้มเถอะ
Badge field
Published date field

สุขภาพปากและฟัน

สำหรับเด็ก

การสอนให้ลูกของคุณดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็กเป็นการลงทุนที่ให้ปันผลได้ตลอดชีวิต และตัวอย่างที่ดีควรเริ่มต้นที่ตัวคุณก่อน
การดูแลสุขภาพปากและฟันของตัวคุณเองที่ดี เพื่อแสดงให้เด็กเห็นว่าสุขภาพปากและฟันเป็นสิ่งที่มีค่า และดียิ่งขึ้นถ้าคุณช่วยสร้างบรรยากาศให้กับการดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นเรื่องสนุก เช่น การแปรงฟันไปกับลูกของคุณ การให้เด็กเลือกแปรงสีฟันด้วยตนเอง ก็เป็นการช่วยสนับสนุนการดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างเหมาะสมกับเด็กได้

เพื่อให้เด็กรู้จักปกป้องฟันและเหงือก และลดโอกาสการเกิดฟันผุ ควรสอนให้เด็กปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้:

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ ช่วยให้ฟันแข็งแรง ลดปัญหาฟันผุ
  • ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียตามซอกฟันและร่องเหงือก ก่อนที่จะจับตัวแข็งเป็นหินปูน เพราะเมื่อหินปูนก่อตัว ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทำความสะอาดเท่านั้น
  • รับประทานอาการที่ถูกสัดส่วน จำกัดปริมาณแป้งและน้ำตาลซึ่งจะสร้างกรดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ หากต้องรับประมานอาหารเหล่านั้น ควรรับประทานไปพร้อมกับมื้ออาหารหลัก แทนที่จะเป็นอาหารว่าง เนื่องจากน้ำลายที่ถูกผลิตออกมาในปริมาณมากช่วงมื้ออาหารหลักจะช่วยชะล้างการตกค้างของเศษอาหารได้มากกว่า/li>
  • พาเด็กไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน หรือตามที่ทันตแพทย์นัด เพื่อรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ในบางกรณีทันตแพทย์อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเพิ่มฟลูออไรด์ชนิดรับประทานด้วย เป็นต้น

เราจะสอนเทคนิคการแปรงฟันให้กับเด็กอย่างไร
หมั่นคอยตรวจตราการแปรงฟันของเด็ก จนกว่าจะแน่ใจว่าเด็ก ๆ คุ้นเคยกับคำแนะนำต่อไปนี้

  • แปรงฟันทุกครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา และคอยดูแลไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟัน
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม โดยแปรงขึ้นลงเบาๆ ด้านในของฟันแต่ละซี่ก่อน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีคราบแบคทีเรียสะสมมากที่สุด
  • ทำความสะอาดฟันด้านนอก โดยแปรงขึ้นลงเบาๆ
  • ใช้หัวแปรงเพื่อแปรงด้านหลังของฟันหน้า
  • แปรงลิ้นด้วย เพื่อลดปัญหากลิ่นปาก

เราควรให้เด็กเริ่มใช้ไหมขัดฟันเมื่อใด
เนื่องจากการใช้ไหมขัดฟันจะช่วยกำจัดเศษอาหารและคราบแบคทีเรียตามซอกฟันที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง คุณควรใช้ไหมขัดฟันให้เด็กเริ่มตั้งแต่อายุ 4 ปี ซึ่งเด็กส่วนใหญ่จะสามารถทำได้เองก่อนที่จะอายุ 8 ปี

วัสดุเคลือบร่องฟันคืออะไร และเราจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กต้องใช้
วัสดุเคลือบร่องฟันเป็นพลาสติกเคลือบบางๆ ที่จะนำไปเคลือบฟันบริเวณบดเคี้ยวอาหารของฟันกรามซึ่งจะเป็นบริเวณที่เกิดฟันผุได้บ่อย โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าลูกของคุณต้องรับการเคลือบร่องฟันหรือไม่ การเคลือบร่องฟันเป็นขั้นตอนที่ทำได้ในการเข้าพบทันตแพทย์เพียงครั้งเดียว ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และไม่สร้างความเจ็บใด ๆ ให้กับเด็ก

ฟลูออไรด์คืออะไร และเราจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่
ฟลูออไรด์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฟันผุ เพราะฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุที่เกิดตามธรรมชาติที่สร้างความแข็งแรงให้กับผิวเคลือบฟัน น้ำประปาในหลาย ๆ เขตจะมีปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสม สามารถตรวจสอบกับสำนักงานประปาในเขตของคุณเพื่อทราบค่าผสมฟลูออไรด์ในน้ำประปาได้ หรือรับคำปรึกษากับทันแพทย์เกี่ยวปริมาณหรือความจำเป็นเพื่อรับฟลูออไรด์จากแหล่งอื่นได้ เช่น ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เม็ดฟลูออไรด์ชนิดเคี้ยวหรือรับประทาน เป็นต้น ขึ้นอยู่การวินิจฉัยของทันตแพทย์ที่มีต่อเด็กแต่ละคน/p>

อาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพปากและฟันของเด็กแค่ไหน
อาหารที่ถูกสัดส่วนมีความสำคัญต่อความแข็งแรงและความสามารถในการต่อต้านฟันผุของเด็ก นอกจากการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นแล้ว ควรให้แน่ใจว่าเด็กได้รับปริมาณแคลเซี่ยมและ ฟอสฟอรัสท รวมถึงปริมาณฟลูออไรด์ในระดับที่เหมาะสม

ถ้าฟลูออไรด์คือสิ่งที่ดีที่สุดในการป้องกันฟันผุของเด็ก การรับประทานอาหารว่างบ่อยๆ ก็ถือเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดเช่นกัน โดยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่พบในอาหารว่างหลายๆ ชนิด เช่น คุกกี้ ลูกอม ผลไม้แห้ง น้ำอัดลม และมันฝรั่งทอดกรอบ เศษของอาหารเหล่านี้เมื่อรวมตัวกับคราบแบคทีเรียในช่องปากก็จะทำให้เกิดกรดซึ่งจะทำลายผิวเคลือบฟันและนำไปสู่ฟันผุได้ การจู่โจมของคราบแบคทีเรียสามารถอยู่ได้นานถึง 20 นาทีหลังจากมื้ออาหาร และแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่คำเล็กๆ ก็สามารถทำให้เกิดกรดแบคทีเรียได้เช่นกัน ดังนั้นการจำกัดหรือลดจำนวนครั้งของอาหารว่างจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการป้องการปัญหาฟันผุ

เราควรทำอย่างไรถ้าฟันของเด็กหัก บิ่น หรือหลุด
ถ้ามีการบาดเจ็บใดๆ ภายในช่องปาก ควรพบทันตแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น หากเด็กมีอาการเจ็บหลังจากที่ฟันหักหรือบิ่น ควรรีบพาไปพบทันตแพทย์ทันที คุณอาจจะให้เด็กรับประทานยาแก้ปวดในระหว่างการเดินทางไปหาทันตแพทย์ได้ และควรเก็บชิ้นส่วนของฟันที่หักไปด้วย

หรือในกรณีถ้าฟันหลุด ให้นำฟันไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด โดยสัมผัสกับฟันให้น้อยที่สุด ห้ามเช็ดหรือทำความสะอาดฟัน ควรเก็บฟันไว้ในน้ำสะอาดหรือนมจนกว่าจะถึงมือทันตแพทย์ เนื่องจากฟันซี่นั้นอาจจะสามารถต่อกับไปยังที่เดิมได้ ด้วยวิธีการปลูกถ่าย

การดูแลช่องปากของเด็ก

ภาพรวม
คุณควรดูแลฟันน้ำนมของลูกน้อยเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอีกหน่อยฟันน้ำนมก็จะหลุดไปเองก็ตาม แต่กว่าจะถึงเวลานั้น ฟันน้ำนมมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เด็กเคี้ยว กัดอาหาร และการออกเสียงที่ชัดเจน นอกจากนี้ ฟันน้ำนมยังสร้างพื้นที่เตรียมไว้สำหรับการขึ้นของฟันแท้ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย

ฟันโยก
เมื่อลูกอายุครบ 6 ขวบ ฟันน้ำนมจะเริ่มโยกและหลุด ควรปล่อยให้ลูกโยกฟันจนกระทั่งฟันหลุดออกมาเอง วิธีนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดและเลือดออกจากฟันหักได้

ฟันผุ
ฟันฟุเกิดจากการปล่อยให้อาหารที่มีน้ำตาลตกค้างอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน จนแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนฟันกินเศษอาหารเหล่านี้ และปล่อยกรดออกมาทำลายผิวเคลือบฟัน ในระหว่างมื้ออาหารหลัก น้ำลายจ่ะช่วยทำหน้าที่ค่อย ๆชะล้างกรดเหล่านี้ออกไป แต่หากลูกของคุณรับประทานอาหารอยู่ตลอดเวลา เวลาในการชะล้างกรดเหล่านี้อาจจะไม่พอ

การแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟัน
คุณสามารถเริ่มหัดให้ลูกแปรงฟันเองได้เมื่อลูกอายุครบ 2 ขวบ ให้บีบยาสีฟันปริมาณน้อย ๆ (เท่าเมล็ดถั่วเขียว) เท่านั้น เพราะเด็กเล็กๆ มักจะชอบกลืนยาสีฟันขณะแปรงฟัน และไม่ยอมบ้วนออกมา ดังนั้นควรมีผู้ใหญ่ดูแลขณะแปรงฟันจนกว่าจะแน่ใจว่าเด็กไม่กลืนยาสีฟัน หรือ บ้วนยาสีฟันทิ้งเป็นแล้ว และเมื่อมีฟันงอกขึ้นมาชิดกันสองซี่ คุณจะต้องใช้ไหมขัดฟันให้ลูกทันทีอย่างน้อยวันละครั้ง จะใช้ไหมขัดฟันแบบธรรมดาหรือแบบมีด้ามจับพลาสติกก็ได้

พบทันตแพทย์
พ่อแม่มือใหม่มักจะถามว่า "ฉันต้องพาลูกไปพบทันตแพทย์ครั้งแรกเมื่อไหร่" คำตอบคือ คุณควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เมื่อลูกอายุหนึ่งขวบ

การแปรงฟันเป็นเรื่องสนุก!
พ่อแม่ควรสร้างบรรยากาศการแปรงฟันด้วยยาสีฟันและแปรงสีฟันสำหรับเด็กให้เป็นกิจกรรมแสนสนุก อาจเริ่มด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเด็กที่เหมาะกับลูกของคุณ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม