ครอบครัวในสำนักงานแพทย์
Badge field

เจ็บเพดานปาก

Published date field

เจ็บเพดานปากมาจากอะไร?

คุณเคยกินอาหารร้อน ๆ เช่น ผัดผักสุกใหม่ ๆ หรือข้าวสวยร้อน ๆ โดยรีบเอาเข้าปากขณะที่อาหารยังร้อนเกินไป แล้วอาหารร้อน ๆ นี้ก็ลวกที่เพดานปากของเราจนต้องรีบนำอาหารออกมาจากปากโดยเร็ว

เครื่องดื่มที่ร้อนจัดก็เช่นกัน เรามักไม่ระวังในการดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัดจนลวกกับเพดานปาก อาการเช่นนี้ชาวต่างชาติมักเรียกว่า พิซซาแพลเลต ( Pizza Palate ) เพราะพิซซ่าด้วยหน้าพิซซ่าที่มีชีสร้อน ๆ เพิ่งออกมาจากเตาแล้วรีบเอาเข้าปากนั้นก็ลวกเพดานปากทันที
ปกติแล้ว อาการเจ็บจากการถูกลวกด้วยอาหารหรือเครื่องดื่มร้อน ๆ ที่เพดานปากจะหายไปเองภายไปในสองถึงสามวัน

อาการ
เมื่อโดนลวก เพดานปากจะอ่อนตัวลง มีอาการบวมพอง และติดเชื้อง่าย

รู้ได้อย่างไร?

การวินิจฉัยอาการเจ็บเพดานปากไม่ซับซ้อน เพียงแค่ลองคิดซิว่าคุณได้กินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดๆมารึเปล่า ส่วนทันตแพทย์เองก็สามารถดูจากลักษณะของเพดานปากว่ามีลักษณะแดง หรือ มีแผลพุพองร่วมด้วยหรือไม่

มีอาการเจ็บนานเท่าไหร่?
อาการเจ็บเพดานปากจากสาเหตุนี้จะหายไปเองใน 3 – 7 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ


ป้องกันอย่างไร?
ต้องระมัดระวังเมื่อรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร้อน ๆ ควรรอให้เย็นลงก่อนค่อยนำเข้าปาก อาหารที่อุ่นด้วยไมโครเวฟส่วนใหญ่จะร้อนมากกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

การรักษา
อาการนี้ควรหายไปในหนึ่งสัปดาห์ และส่วนใหญ่จะหายได้เร็วกว่านั้น ขณะที่ยังมีอาการเจ็บเพดานปากอยู่ ให้เลือกรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม และดื่มเครื่องดื่มที่เย็นๆ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนหรืออาหารแข็งเพราะอาจทำให้เพดานระคายเคืองได้
ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ หลังรับประทานอาหารแต่ละมื้อเพื่อให้ช่องปากสะอาด โดยละลายเหลือ 1/8 ช้อนชากับน้ำอุ่น 230 มิลลิลิตรแล้วนำมาบ้วนปาก แต่หากยังมีอาการเจ็บอยู่เนื่องจากอาการรุนแรง คุณอาจรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วยก็ได้ อีกทั้งควรดูแลสุขภาพช่องปากในระหว่างที่เป็นแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น

เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?
หากอาการเจ็บหรือแผลที่เพดานปากยังคงเป็นอยู่เกินกว่า 7 วัน หรือคุณรู้สึกถึงอาการเจ็บที่มากขึ้น แนะนำให้พบกับทันตแพทย์

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม