โรคปริทันต์คืออะไร

โรคปริทันต์ เริ่มจากโรคเหงือกอักเสบซึ่งเกิดจากการสะสมของคราบแบคทีเรียเป็นเวลานาน ๆ และลุกลามไปยังส่วนอื่นในช่องปาก เช่น กระดูกเบ้าฟัน เป็นต้น

โรคปริทันต์เกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคปริทันต์เกิดจากคราบแบคทีเรีย (แผ่นคราบเหนียวๆไร้สี ที่คอยก่อตัวอยู่บนผิวฟัน) หากปล่อยปละละเลยและขาดการทำความสะอาดฟันอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ด้วยการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี คราบเหล่านี้จะก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นคราบแข็ง หรือที่เรียกว่าคราบหินปูน ซึ่งเป็นเป็นสาเหตุโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งอาจลุกลามไปถึงกระดูกเบ้าฟัน จนกระดูกเบ้าฟันละลาย เหงือกร่น ร่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ จนต้อสูญเสียฟันได้ในที่สุด

ข้อความแทนภาษาอังกฤษที่เป็นรูปฟัน

สุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรง

เหงือกสุขภาพดี

กระดูกเบ้าฟันที่แข็งแรง

เหงือกและฟันในโรคปริทันต์

คราบแบคทีเรีย

หินปูน

กระดูกเบ้าฟันละลาย

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบเกิดขึ้นได้กับคน ทุกเพศ ทุกวัย

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากเพิ่มขึ้นคือ :

  • การสูบบุหรี่ หรือการเคี้ยวใบยาสูบ
  • โรคบางชนิด เช่นโรคเบาหวาน
  • ฟันเก ไม่เป็นระเบียบ
  • การเสื่อมสภาพ หรือชำรุด ของวัสดุอุดฟัน
  • การตั้งครรภ์ หรือการใช้ยาคุมกำเนิด (ชนิดที่ใช้รับประทาน)

อาการของโรคปริทันต์มีอะไรบ้าง

โรคนี้จะไม่เห็นอาการชัดเจนในระยะแรก การเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ จะช่วยให้การตรวจพบโรคและสามารถรักษาให้หายได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

อาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคปริทันต์

  • เหงือกบวมแดง
  • เลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน
  • เหงือกร่น
  • กลิ่นปากเรื้อรัง
  • อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก
  • ฟันโยก

ระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์เป็นอย่างไร

เริ่มจากโรคเหงือกอักเสบ หากปล่อยไว้ หรือไม่ดูแลอย่างเหมาะสม ในที่สุดจะเพิ่มความรุนแรงของโรคกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ

โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) เหงือกจะมีอาการอักเสบเล็กน้อย มีลักษณะบวม แดง มีเลือดซึมออกมาขณะแปรงฟัน

โรคปริทันต์อักเสบหรือรำมะนาด (Periodontitis) เริ่มมีภาวะเหงือกร่นจนแยกตัวออกจากฟัน เป็นเหตุให้คราบแบคทีเรียสามารถเข้าสู่รากฟัน เนื้อเยื่อและกระดูกรองรับฟันได้

โรคปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง (Advanced Periodontitis) เนื้อเยื่อและกระดูกรองรับฟันถูกทำลาย มีอาการฟันโยกและอาจต้องสูญเสียฟันในที่สุด

จะรักษาโรคปริทันต์ได้อย่างไร

ควรจะเข้ารับการดูแลรักษาโดยทันตแพทย์ตั้งแต่เป็นโรคเหงือกอักเสบในระยะเริ่มต้น

  • การแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี สามารถรักษาโรคเหงือกอักเสบในระยะเริ่มแรกได้
  • การดูแลรักษาสุขภาพภายในช่องปากที่ดีในทุก ๆ ด้าน ช่วยลดการก่อตัวของคราบแบคทีเรีย
  • เข้ารับการขูดหินปูนตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย
  • การเกลารากฟัน (root planning) โดยทันตแพทย์ เป็นวิธีรักษาสำหรับอาการที่รุนแรงขึ้น
  • หากอาการรุนแรงมาก ควรเข้าพบทันตแพทย์เฉพาะด้านปริทันต์ โดยเร็วที่สุด

จะป้องกันการเกิดโรคปริทันต์ได้อย่างไร

การป้องกันทำได้โดยการรักษาวินัยในการทำความสะอาดช่องปากอย่างเคร่งครัด มีข้อแนะนำที่มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และมีสารออกฤทธิ์ลดการสะสมของแบคทีเรียอย่างได้ผล
  2. การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาทีหลังการแปรงฟัน
  3. ทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการเคี้ยวใบยาสูบ
  5. บริโภคอาหารให้เหมาะสมตามหลักโภชนาการ
  6. เข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง

  1. การแปรงฟันอย่างถูกวิธี
  2. วางหัวแปรงทำมุม 45 องศากับขอบเหงือก ขยับแปรงไปมาเบาๆ ระหว่างเหงือกกับฟันแล้วปัด (ฟันบนปัดลง ฟันล่างปัดขึ้น)
  3. แปรงฟันด้านในแต่ละซี่ ด้วยวิธีเดียวกัน
  4. แปรงบริเวณผิวฟันที่ใช้บดเคี้ยวแต่ละซี่ให้ครบทุกซี่
  5. ใช้ปลายขนแปรงสีฟันแปรงด้านหลังของฟันหน้าแต่ละซี่ ทั้งฟันบน และฟันล่าง
  6. อย่าลืมแปรงลิ้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย

การใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี

  1. ดึงไหมขัดฟันความยาวประมาณ 1ฟุต พันหลวมๆ รอบนิ้วกลางทั้งสองข้าง โดยให้เหลือเส้นไหมที่ใช้ขัดฟันประมาณ 2 นิ้ว
  2. ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จับเส้นไหม แล้วค่อย ๆ เลื่อนไหมลงระหว่างซอกฟันเบา ๆ ระวังอย่าให้บาดเหงือก
  3. โค้งไหมโอบรอบฟันแต่ละซี่เป็นรูปตัวซี “C” เลื่อนไหมขัดฟันขึ้นลงเบาๆ ระหว่างซอกฟัน และขอบเหงือก เลื่อนเส้นไหม จากนิ้วกลางหนึ่ง ไปยังนิ้วกลางอีกด้านหนึ่ง เพื่อจะได้ใช้ไหมที่สะอาดสำหรับขัดซอกฟันถัดไป

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มส่งผลต่อฟันผุในผู้ใหญ่อย่างไร

ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟลูออไรด์ในน้ำดื่มกัน อ่านข้อมูลจากคอลเกต ได้ที่นี่

ฟลูออไรด์

อะไรคือยาสีฟันผสมสแตนนัสฟลูออไรด์

ยาสีฟันผสมสแตนนัสฟลูออไรด์ช่วยดูแลช่องปากที่ดีเมื่อใช้เป็นประจำทุกวันเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี คอลเกตให้ข้อมุลเพิ่มขึ้นได้ที่นี่

ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ทำอะไรได้บ้าง?

ฟลูออไรด์สามารถปกป้องรอยยิ้มของคุณให้แข็งแรง สวยสดใสไปนาน ๆ ได้ หากคุณสงสัยว่าฟลูออไรด์ช่วยปกป้องสุขภาพในช่องปากได้อย่างไร พบคำตอบได้ที่นี่