เคลือบฟัน หรือชั้นนอกสุดของฟันเป็นส่วนที่มีความแข็งแรงมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ ตามที่สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (American Dental Association, ADA) รายงาน แต่การแปรงฟันอย่างรุนแรง ด้วยขนแปรงที่แข็งและการใช้ยาสีฟันที่มีคุณสมบัติขัดสีก็ทำให้เคลือบฟันสึกกร่อนและส่งผลให้ฟันผุได้ง่าย สังเกตได้เมื่อมีอาการต่อไปนี้
หากเคลือบฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟันที่อยู่ด้านสัมผัสกับกรดในอาหารหรือเครื่องดื่มที่เย็นหรือร้อนจัดจนเกิดอาการเสียว ยังมีปัญหาระบบทางเดินอาหาร หรือปัญหาการกินผิดปกติที่ส่งผลต่อการสึกกร่อนของเคลือบฟันได้เช่นกัน เคลือบฟันตามธรรมชาตินี้เมื่อสึกกร่อนแล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างใหม่เพื่อชดเชยส่วนที่หายไปแล้วได้
ยาสีฟันที่มีผงขัดเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เคลือบฟันสึก แต่เป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ได้พัฒนาหน่วยวัดที่เรียกว่า Relative Dentin Abrasivity (RDA) หรือการเทียบค่าการขัดสีอย่างมีมาตรฐาน ค่า RDA ยิ่งสูง การขัดสีของยาสีฟันก็ยิ่งมาก
เพื่อให้ได้รับตรารับรองจาก ADA ยาสีฟันจะต้องมีค่า RDA ไม่เกิน 250 ด้วยค่านี้แสดงว่าการแปรงฟันด้วยยาสีฟันชนิดนั้นๆ จะไม่ทำให้เคลือบฟันสึกกร่อนรุนแรง หากคุณสงสัยเกี่ยวกับค่า RDA ของยาสีฟันแต่ไม่สามารถหาได้จากบรรจุภัณฑ์ คุณสามารถหาข้อมูลได้จากผลการศึกษาวิจัยมากมายที่เปรียบเทียบการขัดสีของยาสีฟันหลายๆ ยี่ห้อได้ทางออนไลน์
วิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันที่มีคุณสมบัติการขัดสีมากเกินไปคือ การสังเกตจากตรารับรองของ ADA บนบรรจุภัณฑ์หรือหลอดยาสีฟัน มูลนิธิทันตสุขภาพ (Dental Health Foundation) ได้ให้ข้อสังเกตว่าส่วนประกอบในยาสีฟันที่มีคุณสมบัติขัดสีมักจะมาจากชอล์กและซิลิกา แคลเซียมคาร์บอเนต, โซเดียมเมธอกไซด์, เซอร์โคเนียมซิลิเกต และแคลเซียมไพโรฟอสเฟต เป็นส่วนประกอบ โดยทั่วไป ยาสีฟันที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ฟันขาวขึ้นหรือขจัดคราบจะมีคุณสมบัติขัดสีมากกว่ายาสีฟันที่ไม่ได้ทำให้ฟันขาว
เข้าใจได้ว่าฟันที่ขาวไร้คราบเสริมสร้างความมั่นใจ แต่การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ขัดสีมากเกินไปอาจทำให้เคลือบฟันของคุณบางลงและมีอาการเสียวฟันได้ แนะนำว่าควรแปรงฟันอย่างนุ่มนวลด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มและใช้ยาสีฟันที่มีตรารับรองของ ADA หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือ ถ้าคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติม แนะให้ปรึกษาทันตแพทย์ของคุณเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากและสอนวิธีการแปรงฟันที่เหมาะสมให้คุณนั้นดีที่สุด
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด