ไวรัสโคโรนาและ สุขภาพช่องปาก ฉันควรดูแลรักษาสุขภาพฟันอย่างไร?

เราทุกคนต่างก็คอยติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของโควิด-19 และผลกระทบของไวรัสนี้ที่มีต่อชุมชน เพื่อนบ้าน และครอบครัวของเรา และเข้าใจดีว่า นี่คือช่วงเวลาแห่งความตรึงเครียด เพราะช่วงเวลานี้ทำให้คุณไม่สามารถเข้าพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนประจำปี อุดฟัน หรือครอบฟันได้ จึงเกิดความกังวลว่าจะทำอย่างไรหากมีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง เหงือกบวม หรือปัญหาเร่งด่วนในช่องปาก เพื่อขจัดความสับสนและคลายกังวล เรารวบรวมคำถามที่พบบ่อยเพื่อช่วยให้คุณรับมือกับสุขภาพช่องปากในช่วงเวลานี้

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อยสุขอนามัยช่องปากที่ดีสามารถช่วยป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?

ในขณะที่เรายังคงศึกษาเกี่ยวกับโควิด-19 และการแพร่กระจายของเชื้ออย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่าสุขอนามัยช่องปากที่ดีสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ อย่างไรก็ตาม เรารู้ดีว่าการฝึกให้มีสุขอนามัยช่องปากที่ดีสามารถลดปัญหาภายในปากได้ อาทิ ฟันผุหรือโรคปริทันต์ และการรักษาให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีจะส่งผลในทางบวกให้กับสุขภาพโดยรวมของคุณด้วยโปรดทราบว่าไวรัสที่มีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ อย่าง โควิด-19 เริ่มต้นและแพร่กระจายในโพรงจมูก ช่องปากและลำคอ และการสัมผัสที่ดวงตาก็สามารถก่อให้เกิดการส่งผ่านเชื้อโรคได้ อย่างไรก็ตาม การมีสุขอนามัยช่องปากที่ดี ไม่ได้ยืนยันว่าจะไม่เกิดการติดเชื้อในบริเวณเหล่านี้

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)มีคำแนะนำจำนวนมากในการป้องกันตนเองและผู้อื่นจากโควิด-19 แต่ไม่มีการระบุว่ากิจวัตรเพื่อสุขอนามัยช่องปากที่ดีถือเป็นมาตรการป้องกัน ถ้าหากว่าคุณและครอบครัวของคุณอยู่บ้านเพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ก็น่าจะใช้โอกาสนี้เพื่อฝึกและสอนเรื่องกิจวัตรเพื่อสุขอนามัยช่องปากที่ดีให้กับลูกๆ ของคุณ

ถ้าฉันติดเชื้อโควิด-19 ฉันควรเปลี่ยนหรือฆ่าเชื้อโรคที่แปรงสีฟันของฉันหรือไม่?

การทำความสะอาดแปรงสีฟันทุกครั้งหลังจากใช้งานเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณเพิ่งหายจากอาการป่วย รวมถึงถ้าผลตรวจโควิด-19 ของคุณเป็นบวกหรือเชื่อว่าคุณติดเชื้อ แนะนำอย่างยิ่งว่าควรเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ดีที่สุด หากคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปรงสีฟันได้ การฆ่าเชื้อโรคที่หัวแปรงก็จะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียได้อาการทาง

สุขภาพช่องปากใดที่ฉันควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงโควิด-19?

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (CDC) ได้รายงานว่าอาการเจ็บป่วยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ถึง 14 วันหลังจากการสัมผัสกับไวรัส ได้แก่ อาการไอ ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ และการสูญเสียความสามารถในการรับรสและการดมกลิ่นอย่างฉับพลัน ปัจจุบัน นับเป็นเรื่องยากที่จะระบุว่าอาการใดในช่องปากเป็นผลมาจากไวรัสนี้ เนื่องจากเชื้อโรคและอาการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น อาการในช่องปากมากมายอาจเกิดจากการเจ็บป่วยหรืออาการแพ้อื่นๆ หากคุณคิดว่าคุณได้รับเชื้อโควิด-19 โปรดติดต่อผู้ให้บริการ

สาธารณสุขของคุณทันตแพทย์ป้องกันโควิด-19 อย่างไร?

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำให้ "บริการเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้นสำหรับในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งจะช่วยให้ทั้งบุคลากรและคนไข้ปลอดภัย ประหยัดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย รวมถึงช่วยลดอัตราการให้บริการของระบบสาธารณสุข" ในกรณีที่ทันตแพทย์กำหนดให้คุณเข้าพบ ควรทำตามขั้นตอนที่ได้รับการแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อฉัน

ควรไปพบทันตแพทย์ระหว่างการระบาดของโควิด-19 หรือไม่??

ไม่ คุณควรไปพบทันตแพทย์ในกรณีเร่งด่วนเท่านั้น แล้วควรต้องทำอย่างไรล่ะ ? คุณสามารถโทรไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมินสถานการณ์ว่าปัญหาในช่องปากของคุณเป็นกรณีฉุกเฉินหรือไม่ ถึงแม้ว่าศูนย์ทันตกรรมจะปิด คุณอาจได้รับเบอร์ติดต่อฉุกเฉินหรือคำแนะนำการติดต่อจากข้อความเสียงอัตโนมัติ ถึงข้อเสนอวิธีการจัดการกับปัญหาช่องปากที่ไม่นับเป็นภาวะฉุกเฉิน เพื่อช่วยให้คุณดูแลสุขภาพฟันของคุณได้อย่างปลอดภัยระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาการจัดการกับปัญหาทางช่องปากที่ไม่นับเป็นภาวะฉุกเฉิน

การจัดการความเจ็บป่วยทางทันตกรรมที่ไม่ฉุกเฉิน

 

เหล็กจัดฟันหลุด

ตัวอย่างเช่น ปัญหาลวดจัดฟันหัก หรือ หลุดที่มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ ลวดจัดฟันที่เสียหายมักแหลมคมและทำให้หงุดหงิดใจได้ แต่โดยปกติไม่ถือว่าเป็นกรณีเร่งด่วน ให้ติดต่อทันตแพทย์จัดฟันหรือทันตแพทย์ทั่วไปเพื่อขอคำแนะนำถึงวิธีการดูแลรักษาแผลง่ายๆ ที่บ้าน โดยอาจรวมไปถึงเคล็ดลับในการแก้ไขกับอุปกรณ์การจัดฟันที่เสียหายด้วยตัวเองได้เช่นกัน

ปากแห้ง (ภาวะปากแห้ง)

มียามากกว่า 600 ชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะและยาแก้แพ้ การขาดสารอาหารหรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตามธรรมชาติสามารถทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ ควรรักษาความชุ่มชื้นในปากด้วยการดื่มน้ำเยอะๆ และเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่ผสมน้ำตาล การใช้น้ำลายเทียมก็ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งได้ดี และยังให้ความรู้สึกสบายปาก แต่อย่าลืมว่าน้ำลายเทียมอย่างเดียวไม่ได้รับการรับรองถึงคุณสมบัติในด้านการรักษา นอกจากจะมีส่วนผสมของฟลูออไรด์

การระคายเคืองในช่องปาก

การดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรดมากเกินไป อย่าง น้ำอัดลม หรือการแปรงฟัน ลิ้น และเหงือกมากเกินไป รวมทั้งการใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อยเกินไปอาจทำให้เนื้อเยื่อปากระคายเคือง พยายามดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรดให้น้อยลง ปรึกษาทันตแพทย์ของคุณเกี่ยวกับกิจวัตรเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีและวิธีการลดอาการระคายเคืองในช่องปาก

เหงือกเลือดออก

กิจวัตรประจำวันเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของคุณควรรวมไปถึงการแปรงฟันวันละสองครั้งและการขัดฟันวันละครั้ง หากเหงือกมีเลือดออกขณะที่คุณใช้ไหมขัดฟัน นี่อาจเป็นสัญญาณของอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ การใช้น้ำยาบ้วนปากอาจช่วยลดปริมาณแบคทีเรียสะสมได้ แนะนำให้ใช้น้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนปากเพื่อบรรเทาเจ็บเหงือก แต่ถ้ามีอาการปวดหรือเลือดไหลไม่หยุด ควรติดต่อทันตแพทย์

อาการเหงือกอักเสบ

เหงือกเลือดออกอาจเป็นสัญญาณสำคัญของภาวะเหงือกอักเสบ ข่าวดีคืออาการเหงือกอักเสบสามารถรักษาหายได้ด้วยการดูแลรักษาช่องปากให้ดี การดูแลรักษาเหงือกอักเสบ (ปัญหาสุขภาพเหงือกระยะเริ่มต้น) นั้นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก เพียงแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ การใช้น้ำยาบ้วนปากเพิ่มเติมจากการแปรงฟันที่ถูกวิธีและการขัดฟันเป็นประจำ ก็มีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการเหงือกอักเสบได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ข้อสงสัยและการประเมินผลสุขภาพช่องปากได้กับทันตแพทย์ของคุณ เมื่อคุณสามารถกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันและขูดหินปูนได้ตามปกติ

การสะสมของคราบจุลินทรีย์

คราบจุลินทรีย์ประกอบด้วยกลุ่มแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปากและเกาะติดอยู่บนตัวฟัน โดยบางชนิดอาจทำให้เกิดฟันผุ ขณะที่ชนิดอื่นเป็นสาเหตุของปัญหาเหงือก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคราบจุลินทรีย์สะสม ควรขัดฟันเพื่อขจัดเชื้อโรคและเศษอาหารระหว่างซอกฟัน ทั้งนี้ น้ำยาบ้วนปากก็มีประสิทธิภาพในการลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ด้วยเหมือนกัน แปรงฟันสองครั้งต่อวัน วันละ 2 นาทีด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แล้วอย่าลืมแปรงลิ้นด้วย!หากคุณกังวลว่าคราบจุลินทรีย์จะสะสมแต่ไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ คุณสามารถหาซื้อเม็ดสีย้อมฟันมาช่วยหาตำแหน่งของคราบจุลินทรีย์ที่ฟันและเหงือกของคุณได้ เพื่อจะได้ขจัดคราบแบคทีเรียได้ตรงจุด

อะไรจัดว่าเป็นทันตกรรมฉุกเฉินในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19?

ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อกำหนดของสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ทันตกรรมฉุกเฉิน คือการรักษาอาการเจ็บป่วยในช่องปากที่รุนแรงและต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น:

  • ภาวะเลือดออกในช่องปากที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่มีโอกาสรบกวนระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย
  • การบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับกระดูกใบหน้า หรืออาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของผู

องได้รับการรักษาทางทันตกรรมแบบเร่งด่วนทันที เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดหรือความเสี่ยงในการติดเชื้อ สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) แนะนำให้ทันตแพทย์ใช้วิจารณญาณทางวิชาชีพเพื่อกำหนดว่าผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบฉุกเฉินหรือไม่เราเข้าใจดีว่าการตอบรับต่อการแพร่ระบาดที่ต่อเนื่องของโควิด-19 ทำให้เกิดความสับสนว่าอะไรคืออาการที่เรียกได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉินสำหรับช่องปากและต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน นี่คือกรณีตัวอย่างที่ควรติดต่อหาทันตแพทย์ของคุณทันที:

  • สูญเสียฟันทั้งซี่หรือชิ้นส่วนของฟันขนาดใหญ่
  • เส้นประสาทเสียหายจนสังเกตอาการได้ชัดเจน อย่างเช่น ความรู้สึกชา
  • อาการที่บ่งแสดงถึงการมีหนองหรือติดเชื้อ (ปวด บวม ร้อนและแดง)
  • หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนอื่นมีขากรรไกรหัก
  • ถ้าคุณเพิ่งได้รับการรักษารากฟันและกังวลถึงระดับความเจ็บปวด บวมหรือวิงเวียน
  • อาการผิดปกติอื่นๆ

ธาตุสังกะสีสามารถกำจัดเชื้อโควิด-19 ได้จริงหรือ?

ไม่จริง สังกะสีไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ลองมาดูข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสังกะสีกัน สังกะสีคือ แร่ธาตุสำคัญที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและมีหน้าที่หลักในการช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย นอกจากนี้ สังกะสียังเป็นธาตุที่มีอยู่ในช่องปากของเราตามธรรมชาติและปลอดภัยต่อการใช้เมื่อประกอบอยู่ในยาสีฟันอย่างไรก็ตาม การใช้สังกะสีเพื่อกำจัดหรือป้องกันเชื้อโควิด-19 ยังไม่ได้รับการศึกษาหรือพิสูจน์ว่าได้ผลจริง วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโควิด-19 คือการล้างมือให้สะอาด ปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และมาตราการการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่นๆเราหวังว่าเคล็ดลับเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีสำหรับคุณและคนที่คุณรัก

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม