ฟันสึกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ ฟันสึกจากภายในและฟันสึกจากภายนอก ฟันสึกจากภายในเกิดจากกรดที่มาจากกระเพาะหรือกรดไหลย้อน ส่วนฟันสึกจากภายนอกเกิดจากการที่เรารับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่าความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย เช่น ของว่างที่มีน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนตสูง เครื่องดื่มประเภทโซดา น้ำผลไม้ หรือไวน์ อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ทำให้น้ำลายของเรามีภาวะเป็นกรดมากขึ้น
ลองตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นที่ฟันของคุณดังต่อไปนี้
เมื่อทันตแพทย์ตรวจวินิจฉัยพบว่าฟันของคุณสึก จะเริ่มแนะนำให้คุณดูแลฟันเริ่มจากเรื่องอาหาร เพราะอาหารที่มีกรดและน้ำตาลสูงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ฟันสึก และถ้าเคลือบฟันของคุณกร่อนลงไปมากเกินแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน ทันตแพทย์จะใช้วิธีทางทันตกรรมในการรักษา เช่น การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน การครอบฟัน หรือการเคลือบฟันด้วยวีเนียร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ สมาคมทันตกรรมแห่งสหรัฐอเมริกายังแนะนำว่า นอกจากการรีบแก้ไขปัญหาฟันสึกอย่างเร่งด่วนแล้ว คุณยังต้องดูแลฟันของคุณเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวด้วย เพราะสุขภาพปากและฟันที่ไม่ดีนำไปสู่ปัญหาปัญหาเหงือกได้เป็นอันดับแรก และปัญหาเหงือกนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะปัญหาช่องปากอย่างเดียวได้ ในบางกรณี ผู้ที่มีปัญหาปัญหาเหงือกอาจมีปัญหาทางร่างกายที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ยาก และมีแนวโน้มเกิดปัญหาหัวใจได้มากขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัยต่าง ๆ ยังแสดงให้เห็นว่า ปัญหาเหงือกอาจเกี่ยวเนื่องกับการที่หญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรที่มีน้ำหนักน้อย แต่ทั้งนี้ ยังต้องมีการศึกษาวิจัยทางการแพทย์เพิ่มเติมในเรื่องนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น
หากคุณคิดว่าคุณกำลังประสบกับปัญหาฟันสึก ให้ไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจดูฟันของคุณทั้งหมด และควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำตามกำหนดหรือทุก ๆ 6 เดือน อย่าลืมแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและขัดฟันทุกวันอย่างน้อยวันละครั้ง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากและฟัน เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ที่ช่วยลดปัญหาฟันสึก เพราะการแปรงฟันและบ้วนปากเป็นประจำจะช่วยกำจัดเศษอาหารที่เกาะบริเวณฟันออกไป การดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอไม่เพียงทำให้เหงือกและฟันของคุณแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความมั่นใจให้คุณได้ด้วยรอยยิ้มที่สวยงามและลมหายใจที่สะอาดอีกด้วย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด