การไปพบทันตแพทย์ปีละสองครั้งเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำจะช่วยให้ทันตแพทย์สามารถติดตามพัฒนาการของฟันได้ จากข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า ในขณะที่ฟันคุดของคุณกำลังงอกขึ้นมา ทันตแพทย์จะสังเกตุสิ่งต่อไปนี้
นอกจากนี้ การถอนฟันคุดตั้งแต่ตอนเด็กยังอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ใหญ่
ทันตแพทย์อาจดำเนินการตามขั้นตอนของคลินิก หรือแนะนำให้คุณไปปรึกษากับศัลยแพทย์ช่องปาก ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณ เมื่อคุณพบผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมแล้ว คุณอาจจะมีคำถามต่อไปนี้
แม้ว่าการถอนฟันคุดส่วนใหญ่จะไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว แต่ก็อาจเกิดปัญหาอย่างกระดูกเบ้าฟันอักเสบหลังขั้นตอนการถอนได้ กระดูกเบ้าฟันอักเสบคือภาวะที่ลิ่มเลือดหลังการผ่าตัดหลุดออกจากแผลผ่าตัด (เบ้าฟัน) และเผยให้เห็นกระดูกด้านล่าง กระดูกเบ้าฟันอักเสบอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด และทำให้ขั้นตอนการรักษาช้าลง หากคุณกังวลเรื่องความเสี่ยงขณะถอนฟันคุด โปรดไปปรึกษาทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากเกี่ยวกับข้อกังวลดังกล่าว
ก่อนที่จะถึงวันผ่าตัด ให้เตรียมคนที่จะขับรถรับส่งคุณจากการผ่าตัด และปฏิบัติตามข้อจำกัดเรื่องอาหารที่ทันตแพทย์แนะนำ หากได้รับใบสั่งยาหรือยาที่ซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ให้ตรวจสอบดูว่า ยาเหล่านั้นรับประทานก่อนการผ่าตัดได้หรือไม่ การทราบคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้จะช่วยให้การผ่าตัด และการพักฟื้นเป็นไปอย่างราบรื่น
มียาชาอยู่สามประเภทซึ่งใช้ตามกระบวนการเฉพาะควบคู่ไปกับระดับความสบายของคุณ โดยคุณจะได้รับยาชาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจากสามวิธีนี้
การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่: จะให้ยาโดยการฉีดเข้าไปตรงบริเวณที่จะถอนฟันหลังการใช้ยาชา คุณจะรู้สึกตัวในขั้นตอนนี้ และแม้ว่าจะรู้สึกถึงแรงกดและการเคลื่อนไหวอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ควรรู้สึกเจ็บปวดใดๆ
การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อกดประสาท: จะให้ยาทางหลอดเลือดดำ (IV) ประเภทการกดประสาทนี้จะช่วยให้คุณหลับตลอดขั้นตอน ดังนั้น คุณจึงไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัด โดยศัลยแพทย์ของคุณจะทำให้เหงือกของคุณชาอีกด้วย
การวางยาสลบ: หากคุณกลัวเข็ม คุณสามารถรับการวางยาสลบได้ผ่านวิธีการสูดดม นี่จะคล้ายคลึงกับการกดประสาท ซึ่งคุณจะหลับไปในตลอดขั้นตอน โดยจะมีทีมศัลยแพทย์คอยตรวจสอบสัญญาณชีพจรของคุณ
ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากจะกรีดบริเวณขอบเหงือกให้ถึงฟัน และกระดูกที่อยู่บริเวณข้างใต้ จากนั้นนำกระดูกที่ปิดกั้นการเข้าถึงฟันออกก่อน แล้วแบ่งฟันที่คุดออกเป็นส่วนๆ เพื่อง่ายต่อการถอนออก
หลังจากฟันคุดถูกถอนแล้ว ทันตแพทย์จะกำจัดเศษที่เหลือออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทำการเย็บแผล โดยทันตแพทย์จะใช้ผ้าก๊อซอุดไว้เหนือบริเวณที่ถอนฟันออก เพื่อให้เลือดแข็งตัว และไม่ให้ไหลออกมามากเกินไป
เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น คุณจะถูกนำตัวไปยังห้องพักฟื้นเพื่อรอให้ยาระงับความรู้สึกหมดฤทธิ์ ซึ่งหากคุณเลือกวิธีการฉีดยาชาเฉพาะที่ คุณอาจจะได้ฟื้นตัวบนเก้าอี้ตัวเดิมกับที่ถอนฟันคุด
ให้ติดต่อทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากในทันที หากคุณพบสัญญาณหรืออาการต่อไปนี้หลังการผ่าตัด
โดยปกติแล้ว นี่มักจะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ในการกลับมาทำกิจวัตรตามปกติหลังการถอนฟันคุด ซึ่งอีกไม่นาน คุณก็จะยิ้มได้โดยไม่ปวดอีกต่อไป! แต่อย่าลืมไปตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำอยู่เสมอ เพื่อที่ทันตแพทย์ของคุณจะสามารถติดตามได้ว่าฟันคุดของคุณงอกขึ้นมาเป็นอย่างไรบ้าง และแม้ว่าการถอนฟันกรามเหล่านี้อาจดูน่ากลัว แต่ขั้นตอนนี้ก็ค่อนข้างเป็นเรื่องปกติ และสามารถสร้างรอยยิ้มให้กับคุณเพื่ออนาคตที่สดใสสุขภาพดีได้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด
แบบทดสอบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ทำแบบประเมินสุขภาพช่องปากของเราเพื่อให้กิจวัตรการดูแลช่องปากของคุณเกิดประโยชน์มากที่สุด