แปรงสีฟันไฟฟ้าคอลเกต มี pressure sensor ช่วยลดปัญหาเหงือกร่น เหงือกเลือดออก เหงือกอักเสบ ได้ มีสัญญาณเตือนเมื่อออกแรงแปรงฟันแรง ช่วยลดอาการเสียวฟันได้ ลดเคลือบฟันสึก

แปรงสีฟันไฟฟ้าพร้อมเซ็นเซอร์วัดแรงกด เพื่อผู้ที่มีอาการเสียวฟัน: ลองมาดูว่าเหมาะกับคุณหรือไม่

เคยรู้สึกจี๊ดทุกทีที่ดื่มเครื่องดื่มเย็น หรือเมื่อกินลูกอมรสเปรี้ยวไหม  ถ้าคุณเป็นแบบนั้น อาจเป็นเพราะคุณมีอาการเสียวฟัน ซึ่งอาการเสียวฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น เหงือกร่น  ฟันผุ และเคลือบฟันสึก หากคุณมีอาการเสียวฟัน มีหลายวิธีที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ หนึ่งในนั้นคือ การใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ที่มีเซ็นเซอร์วัดแรงกด ในการแปรงฟันทุกวัน 

บทความนี้จะมาหาคำตอบว่า แปรงสีฟันไฟฟ้าดีไหม สำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน

 

อาการเสียวฟัน คืออะไร

อาการเสียวฟัน (Dentin Hypersensitivity) เกิดจากเคลือบฟันที่บางลง ทำให้เนื้อฟันโผล่ขึ้นมามากขึ้น และเมื่อเนื้อฟันเปิดออกมามากขึ้น จะทำให้เกิดอาการเจ็บจี๊ด เมื่อคุณดื่มหรือกินอาหารที่เย็น ร้อน หวาน หรือเปรี้ยว 

 

สาเหตุของการเสียวฟัน

บางคนอาจจะมีเคลือบฟันที่บางอยู่แล้วเนื่องจากกรรมพันธุ์ และมีอาการเสียวฟันที่เป็นปัญหามาตลอด ในขณะที่บางคนอาจเพิ่งเกิดอาการเสียวฟันฉับพลัน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้

 

  1. แปรงฟันแรงเกินไป: นี่เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง ของการทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ถ้าคุณออกแรงแปรงฟันมากเกินไป อาจทำให้เคลือบฟันบางลง

  2. ใช้แปรงที่ขนแข็งเกินไป: ขนแปรงที่แข็ง สามารถทำลายเคลือบฟันและเป็นทำร้ายเหงือกได้

  3. แปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันไม่เพียงพอ: แบคทีเรียในคราบพลัค เป็นสาเหตุให้ฟันผุ กลิ่นปาก ปากเหม็น และอาจทำให้เคลือบฟันบางลง

  4. โรคเหงือก: เมื่อคุณเป็นโรคเหงือก เช่นโรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ แบคทีเรียจะทำร้ายเหงือกและทำให้เปิดเนื้อฟันเปิดมากขึ้น

 

หากอาการเสียวฟันของคุณเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งข้างต้น  คุณสามารถดูแลอาการเสียวฟันได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางทันตกรรมของคุณ

การใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ที่มีขนแปรงนุ่ม และมีเซ็นเซอร์วัดแรงกดขณะแปรงฟันสำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ในการแก้ไขปัญหานี้ 

 

ใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า พร้อมเซ็นเซอร์วัดแรงกด เพื่อป้องกันฟันที่บอบบางของคุณจากการแปรงฟันแรงเกินไป

อาการเสียวฟัน และการแปรงฟันที่รุนแรง เป็นหัวข้อการวิจัยมาเป็นเวลาหลายปี การวิจัยใน International Dental Journal พบว่าการสึกกร่อนของฟันเป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้ฟันมีภาวะไวต่อความรู้สึก คนที่มีอาการเสียวฟัน มักจะแปรงฟันแรงกว่าผู้ที่ไม่มีอาการเสียวฟัน แรงกดที่เพิ่มขึ้นในขณะแปรงฟัน สามารถนำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายและความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้นสำหรับคนที่มีอาการเสียวฟัน

อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะวัดว่ามีแรงกดเท่าไหร่ จากการแปรงฟันด้วยมือ แต่แปรงสีฟันไฟฟ้า พร้อมเซ็นเซอร์วัดแรงกด สามารถตอบโจทย์คุณได้

แปรงสีฟันไฟฟ้า พร้อมเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกด จะช่วยเตือนคุณ เมื่อคุณออกแรงแปรงฟันมากเกินไป ซึ่งจะช่วยให้คุณหยุดการแปรงฟันโดยใช้แรงที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อเคลือบฟันได้

 

แปรงสีฟันไฟฟ้าดีไหม ช่วยให้คุณลดอาการเสียวฟันได้อย่างไร

เซ็นเซอร์ที่วัดแรงกดบนแปรงสีฟันไฟฟ้า ทำงานโดยการตรวจจับปริมาณการสัมผัสระหว่างขนแปรงของแปรงสีฟันกับฟันของคุณ เมื่อคุณออกแรงกดมากเกินไป ขนแปรงจะจมเข้าไปในแนวเหงือกและเกิดการระคายเคือง แปรงสีฟันไฟฟ้าจะชะลอหรือหยุดมอเตอร์เมื่อตรวจพบแรงกดมากเกินไป ดังนั้น จึงมีโอกาสน้อยที่จะสร้างความเสียหายต่อฟันหรือเหงือกของคุณ

แปรงสีฟันไฟฟ้าจะช่วยลดความจำเป็นในการออกแรงกด เพราะมอเตอร์ไฟฟ้าในแปรงสีฟันไฟฟ้าจะทำหน้าที่ทั้งหมด คุณจึงไม่ต้องออกแรงกดขณะแปรงฟัน

นอกเหนือจากนี้ แปรงสีฟันไฟฟ้ายังมาพร้อมโหมดการทำงานที่หลากหลาย คุณสามารถเลือกโหมดที่อ่อนโยนต่อฟันและเหงือกของคุณได้

 

คุณสมบัติอื่นๆ ของการใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า พร้อมเซ็นเซอร์วัดแรงกด

  • สุขภาพช่องปากดีขึ้น: แปรงสีฟันไฟฟ้าได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดคราบพลัค สาเหตุของหินปูน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึงทุกซอกมุมในปาก และทำความสะอาดได้ในเวลาไม่นาน คุณจึงมีสุขภาพปากที่สะอาด สุขภาพดี และยิ้มโชว์ฟันขาวได้ทุกครั้งหลังแปรงฟัน

  • ลดแรงกด: แปรงสีฟันไฟฟ้าใช้งานง่ายกว่าแปรงสีฟันทั่วไป เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกดจะช่วยหยุดคุณจากการทำให้ฟันเสียหาย ซึ่งจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีอาการเสียวฟันด้วย

  • แปรงง่าย: ถ้าคุณกำลังหาวิธีที่จะช่วยให้คุณเผยรอยยิ้มสดใส โชว์ฟันขาวสุขภาพดี แปรงสีฟันไฟฟ้าก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะช่วยทำทุกอย่าง และทำให้การดูแลสุขอนามัยในช่องปากง่ายขึ้นกว่าที่เคย

  • แปรงได้นาน: แปรงสีฟันไฟฟ้า ทำให้คุณแปรงฟันตามระยะเวลาที่แนะนำได้ง่ายขึ้น ด้วยตัวจับเวลาที่ทำให้มั่นใจว่าคุณจะแปรงฟันครบ 2 นาที ตามที่ผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมแนะนำ

 

เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะหาแปรงสีฟันที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน แปรงสีฟันไฟฟ้า ใช้พลังงานจากเทคโนโลยีโซนิค ซึ่งให้การทำความสะอาดที่ดีกว่า ในขณะที่ยังคงความอ่อนโยนต่อฟันและเหงือกด้วย

 

 

แปรงสีฟันไฟฟ้า คอลเกต® เป็นแปรงไฟฟ้า ที่ช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งประสบการณ์การแปรงฟัน ได้ด้วยตนเองถึง 33 รูปแบบ โดยมีโหมดทำความสะอาด 4 โหมด และ 10 ระดับแรงสั่น ที่สำคัญคือมี โหมดดูแลเหงือก ซึ่งเป็นโหมดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน และคุณยังสามารถปรับระดับแรงสั่นได้ตามความต้องการอีกด้วย

ระบบเซ็นเซอร์วัดแรงกดอัจฉริยะ จะตรวจสอบความแรงของการแปรงฟัน และเตือนเมื่อคุณออกแรงกดที่ฟันและเหงือกมากเกินไป โดยมาพร้อมไฟเตือนสีแดง นอกจากนี้ หัวแปรง กัม แคร์ ยังได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ มีขนแปรงนุ่ม อ่อนโยนต่อเหงือก โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการทำความสะอาด และขนาดปลายขนแปรงเรียวแหลม 0.01 มม. อ่อนโยนต่อการกำจัดคราบพลัค สาเหตุของการเกิดหินปูน กลิ่นปาก และปัญหาสุขภาพปากอื่นๆ

ฟังก์ชัน smart coaching ของแปรงสีฟันไฟฟ้า ยังทำให้คุณมั่นใจว่าทำความสะอาดในช่องปากได้อย่างทั่วถึง ด้วยระบบสั่นเตือนทุกๆ 30 วินาที เพื่อให้คุณแปรงฟันในส่วนอื่นต่อ และยังมีระบบจับเวลา ช่วยให้มั่นใจว่าคุณแปรงฟันได้ครบตามเวลา 2 นาที ตามที่ทันตแพทย์ที่แนะนำ

ในส่วนของอายุการใช้งานแบตเตอรี่ของแปรงสีฟันไฟฟ้า สามารถใช้ได้นานถึง 15 วัน ต่อการชาร์จ 4 ชั่วโมง (เมื่อใช้แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ในโหมดสะอาดหมดจด) ด้ามจับออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ ช่วยให้จับกระชับมือ 

 

สรุป

แปรงสีฟันไฟฟ้า พร้อมเซ็นเซอร์วัดแรงกด เป็นแปรงสีฟันที่ดีสำหรับผู้ที่อาการเสียวฟัน ระบบเซ็นเซอร์จะช่วยลดแรงกดต่อฟันของคุณ ซึ่งสามารถป้องกันอาการเจ็บและรู้สึกไม่สบายได้ ถ้าคุณกำลังมองหาแปรงสีฟันไฟฟ้า เพื่อใช้กับเหงือกและฟันที่บอบบางและไวต่อความรู้สึกของคุณ แปรงสีฟันไฟฟ้า คอลเกต® อาจช่วยตอบโจทย์คุณได้ และควรใช้คู่กับ คอลเกต® เซนซิทีฟ โปรรีลีฟ ™

สำหรับอาการเสียวฟันที่เป็นมานาน หรือมีอาการมากเกินไป แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรม

สนใจซื้อแปรงสีฟันไฟฟ้า คอลเกต ได้ที่

Lazada

Shopee

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม