แมงกินฟัน - คอลเกต

แมงกินฟันมีจริงหรือไม่

มีสำนวนว่า "นกที่ตื่นเช้าจะได้หนอนไป" เกี่ยวยังไงกับอาการปวดฟัน ? บางคนเชื่อจริงจัง ว่า "แมงกินฟัน" กัดกินเนื้อฟันจากด้านในทำให้ปวดฟัน จริงอยู่ว่าท่อเนื้อฟันที่มีรอยโรคดูเหมือนเป็นคล้ายหนอน แต่ความจริงคือ ไม่มีหนอนหรือแมงใดๆ ที่ทำให้ฟันผุ

ท่อเนื้อฟันคืออะไร

สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ชี้ว่า ถ้าส่องดูท่อเนื้อฟันที่เป็นโรคภายในชั้นเนื้อฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบลักษณะ 'เหมือนหนอน' หน้าที่ของท่อเนื้อฟันนั้นสำคัญ เพราะเป็นตัวถ่ายทอดความร้อนหรือความเย็นจากผิวฟันไปสู่เส้นประสาท และถ้าเมื่อใดที่ท่อเนื้อฟันไม่มีส่วนปกคลุม จะเกิดอาการปวดและรู้สึกไม่สบายบ้าง แม้จะดูเหมือนหนอนเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่ย้ำว่านี่ไม่ใช่แมงจริงๆ 

สาเหตุที่แท้จริงของโรคฟันคืออะไร

ถ้าไม่มีหนอน ไม่มีแมงในฟัน แล้วอะไรละ่ที่ทำให้ปวดฟัน ผู้ร้ายตัวจริงก็คือ แบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ต่างหากที่ทำให้ฟันผุ คราบจุลินทรีย์ก่อตัวขึ้นเมื่อแบคทีเรียสะสมบนฟัน ส่งผลให้เกิดฟันผุและโรคเหงือก เช่น เหงือกอักเสบ สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) รายงานว่า ชาวอเมริกันที่อายุมากกว่า 30 ปีเกือบร้อยละ 50 เป็นโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์เรื้อรัง

วิธีรักษาฟันผุ

แม้จะไม่มีแมงที่เป็นสาเหตุของฟันผุและปวดฟันอย่างที่เข้าใจกันแล้ว ก็มาดูวิธีรักษาเพื่อรักษาฟันกัน ทันตแพทย์สามารถ:

  • กำจัดฟันส่วนที่ผุและปิดรูด้วยวัสดุอุดฟัน
  • เป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อฟันตายจากการผุทะลุถึงโพรงประสาทฟัน
  • กรณ๊ที่ผุถึงโพรงประสาทฟันแล้ว ต้องทำการรักษารากฟัน

หากฟัผุลึกมาก ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ถอนฟันและแทนที่ด้วยรากฟันเทียมหรือสะพานฟัน แต่หวังว่าจะไม่ต้องไปถึงขั้นนั้น

คุณจะดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีได้อย่างไร

แม้จะไม่ต้องกังวลเรื่องแมงแล้ว แต่ควรหมั่นดูแลช่องปากให้สะอาดและมีสุขภาพดี แล้วต้องทำอย่างไร มีวิธีง่ายๆ 2-3 วิธี คือ:

  • แปรงฟันวันละสองครั้ง
  • ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อตรวจช่องปาก
  • ไปตรวจและรักษาฟันที่มีปัญหาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์สมัยใหม่พัฒนาไปมาก ดังนั้นหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ส่วนหนองก็ปล่อยให้เป็นอาหารของนกไปนะ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม